9 มี.ค. 2021 เวลา 21:30 • หนังสือ
Elastic : Flexible Thinking in a Time of Change (วิชายืดหยุ่น) by Leonard Mlodinow : Review & Mini Summary
1
"จิตมนุษย์รับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไร หนังสือเล่มนี้อธิบายหนึ่งในหัวข้อสำคัญที่สุด ที่มนุษย์ควรรู้อย่างถูกที่ถูกเวลาและน่าสนใจยิ่ง" - Charles Duhigg -
สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อความอยู่รอดใช่หรือไม่?
คำถามนี้เป็นหัวใจหลักในหนังสือที่มีชื่อว่า Elastic : Flexible Thinking in a Time of Change (วิชายืดหยุ่น) ของ Leonard Mlodinow ความคิดที่ยืดหยุ่น กับ โลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความเร็วของการพัฒนาทางเทคโนโลยี และ วัฒนธรรมต่างๆ ทำให้เราต้องยอมรับว่า การคิดแบบอื่นๆ นอกเหนือจากรูปแบบ การคิดวิเคราะห์ที่มีเหตุผล ที่เน้นในสังคมปัจจุบันของเรา ดังนั้น เขาแนะนำเราว่า เราควรจะมีความสามารถในการรับรู้หรือการคิดต่อสิ่งต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งจำเป็นต่อการตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั้นแหละครับ “Elastic Thinking”
เขาได้อธิบายถึงการคิดแบบยืดหยุ่นง่ายๆ ว่า มันคือ ความสามารถในการปล่อยวางความคิด ที่ทำให้เราสะดวกสบาย หรือ แก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ได้อย่างง่ายที่สุด และ เปลี่ยนใหม่ให้เราคุ้นเคยกับความคลุมเครือและความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น ความสามารถในการอยู่เหนือชุดความคิดแบบเดิม ๆ และ กำหนดกรอบคำถามที่เราถามใหม่ ความสามารถในการละทิ้งสมมติฐานที่ฝังแน่นของเรา และ เปิดตัวเองสู่โลกทัศน์ใหม่ๆ ที่จะพึ่งพาจินตนาการมากพอ ๆ กับตรรกะ เพื่อสร้างและผสมผสานความคิดที่หลากหลาย และความกล้าที่จะทดลอง และ อดทนต่อความล้มเหลวได้ นี่คือ Elastic Thinking ครับ พูดง่ายๆ ว่าการคิดแบบยืดหยุ่น คือ การปล่อยให้สมองของเราเชื่อมต่อกับสิ่งต่างๆ โดยไม่มีทิศทาง ครับ
แล้วความคิดแบบยืดหยุ่นนี่มันดีกับเรายังไง ? เรามาดูไปพร้อมๆ กันครับ
ก่อนอื่นเรามาเปรียบเทียบว่าสมองของเราก็เหมือนกับคอมพิวเตอร์ แน่นอนว่าสามารถทำหน้าที่วิเคราะห์ที่คล้ายกันได้ แต่สมองของเรามีความสามารถในการเข้าใจ สิ่งที่ไม่สามารถวิเคราะห์หรือตั้งโปรแกรมได้ ก่อนที่เราจะสามารถยอมรับความคิดประเภทอื่น ๆ ได้ สมองของเรามีความสามารถโดยกำเนิดเรา คือ การคิดเชิงวิเคราะห์ แต่น่าเสียดายที่การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงตรรกะ ยังเป็นระบบมีข้อจำกัดอยู่ครับ
ซึ่งความคิดเชิงวิเคราะห์ เป็นรูปแบบที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดในสังคมสมัยใหม่ เหมาะที่สุดในการวิเคราะห์ปัญหาที่ตรงไปตรงมาของชีวิต และเป็นแนวความคิดที่เรามุ่งเน้นในโรงเรียนของเรา เราวัดความสามารถของเราผ่านการทดสอบ IQ และการสอบเข้าวิทยาลัย และเราแสวงหาความสามารถนี้ในพนักงานของเรา แต่ถึงแม้ว่าการคิดเชิงวิเคราะห์จะมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการประมวลผลแบบสคริปต์ แต่ก็ดำเนินไปในรูปแบบเชิงเส้น (ตอบสนองต่อปัญหาแบบตรงๆ) และมักจะไม่สามารถตอบสนองความท้าทายของความแปลกใหม่ และรับมือการเปลี่ยนแปลงได้ครับ แม้ว่ามันจะมีประโยชน์อย่างเหลือเชื่อในสถานการณ์ของชีวิตประจำวันที่หลากหลาย แต่การคิดวิเคราะห์อาจไม่ดีที่สุดสำหรับการแก้ปัญหาที่คำตอบต้องใช้วิธีการใหม่ ๆ ในการทำสิ่งต่างๆ
สำหรับปัญหาประเภทนั้นการคิดแบบยืดหยุ่นจะมีประโยชน์มากที่สุด คือ ความคิดแบบที่ชอบหลุดไปนอกกรอบ และสร้างความคิด ที่ไม่ได้เป็นเส้นตรง กระบวนการกาคิดแบบยืดหยุ่นของเราเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนกว่าที่เกิดขึ้นในคอมพิวเตอร์ หรือ สมองของแมลง หรือ แม้แต่สมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ มันช่วยให้เราเผชิญกับโลกที่เต็มไปด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ที่รุมเร้าเราได้อย่างสบายๆ
เช่น เมื่อเรามาถึงแม่น้ำ และ จำเป็นต้องข้ามแม่น้ำการคิดวิเคราะห์ของเราจะมีประโยชน์ จะสแกนสภาพแวดล้อมเพื่อประเมินตัวเลือกของคุณ น้ำจะต่ำที่สุดที่ไหน? มันเคลื่อนที่ไปที่ไหนเร็วที่สุด และจุดผ่านแดนที่อันตรายที่สุดคือที่ไหน? มีวัสดุประเภทใดบ้างที่ช่วยในการข้ามของคุณ? คนอื่นจะแก้ปัญหานี้อย่างไร?
1
ตัวแม่น้ำสายนี้เอง อาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับเรา แต่แนวคิดในการข้ามแม่น้ำนั้น ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ใหม่ ดังนั้น เราจึงสามารถพึ่งพาขั้นตอนเชิงตรรกะของกระบวนการคิดวิเคราะห์ได้อย่างง่ายดาย
การคิดแบบยืดหยุ่นคือการสร้างความคิดใหม่หรือแปลกใหม่ เมื่อคิดว่าจะข้ามแม่น้ำได้ดีที่สุดความคิดแบบนี้พาเราจากสะพานไม้ไปยังสะพานแขวน และ จากเรือพายไปจนถึงเรือที่มีเครื่องยนต์แทน การคิดแบบยืดหยุ่นเกี่ยวข้องกับการที่เรารวบรวมแนวคิดที่แตกต่างกันหลายอย่างเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างวิธีใหม่ในการทำสิ่งต่างๆ
เราไม่จำเป็นต้องละทิ้งการคิดวิเคราะห์โดยสิ้นเชิง แต่เราต้องยอมรับว่ามันมีข้อจำกัด หากวิธีที่เราทำดูเหมือนจะไม่ได้รับผลลัพธ์ที่เราต้องการ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่ามีการเรียกร้องให้มีการคิดที่ยืดหยุ่นมากขึ้นครับ
แล้วทำไมต้องมีความยืดหยุ่น ?
เพราะ มนุษย์มีแนวโน้มที่จะดึงดูดทั้งความแปลกใหม่ และ การเปลี่ยนแปลง ในประวัติศาสตร์ของเรา เราได้เข้าแถวและจ่ายเงินอย่างเต็มใจที่จะตกใจและประหลาดใจ กับการแสดงมายากล และ รถไฟเหาะไปจนถึงละครสัตว์ และ ภาพยนตร์ ลองนึกย้อนไปถึงงานแสดงเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ยี่สิบซึ่งแสดงให้เห็นถึงความล้ำสมัยของการประดิษฐ์ และ วิสัยทัศน์สำหรับอนาคต และ ดึงดูดผู้เข้าชมนับล้าน ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งที่ความแปลกใหม่ดึงดูดเราอย่างมาก มาจากการที่เราได้รับโดพามีน ที่ให้ความรู้สึกดีเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ ๆ (และไม่คุกคาม หรือ ทำร้ายเรานะครับ) ดังนั้น การค้นหา และ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จึงเป็นการได้รับรางวัลเป็นความสุขที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะนำไปสู่การค้นหาที่มากขึ้นครับ บางทีมันอาจจะเป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ใช่แบบสำรวจอวกาศอะไรอย่างงั้น เช่น เมื่อเราคุยคนแปลกหน้า เรากำลังค้นหาความเป็นไปได้ของความสัมพันธ์ใหม่ ๆ ความสัมพันธ์ของการค้นหาสิ่งต่างๆ กับ ความยืดหยุ่น คือ การค้นหาต้องใช้ความคิดที่ยืดหยุ่น การค้นหาตามคำจำกัดความ คือ การค้นหาในส่วนที่ไม่รู้จัก ซึ่งเราอาจต้องเผชิญกับประสบการณ์แปลกใหม่ในลักษณะใดก็ตาม เป็นการยากที่จะวิเคราะห์สิ่งที่คุณไม่มีความรู้ หรือ ประสบการณ์อย่างมีเหตุมีผล ตรงนี้คือข้องจำกัดของการคิดเชิงวิเคราะห์ และ นี่ก็คือ แรงดึงดูดของความแปลกใหม่ ที่มีส่วนทำให้เราสามารถคิดยืดหยุ่นได้ครับ
1
และอีกเรื่องหนึ่งก็คือ เราไม่สามารถตัดสินใจได้ โดยไม่ต้องใช้อารมณ์
เรามักจะยกย่องความคิดเชิงวิเคราะห์ ว่ามันดำเนินไปสู่เป้าหมาย โดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากการบิดเบือนของความรู้สึกของมนุษย์ และ ด้วยเหตุนี้มันจึงมุ่งไปสู่ความถูกต้องเท่านั้น พูดง่ายๆ คือมันไม่มีอคติหนะครับ แต่ก็บอกได้ว่า การคิดเชิงวิเคราะห์ไม่ได้รับแรงบันดาลใจจากอารมณ์แบบความคิดที่ยืดหยุ่น พูดง่ายๆ คือ บางทีมันน่าเบื่อหนะครับ ถ้าเราจะคิดเป็นเครื่องจักรในโลกของมนุษย์ นั่นทำให้เรามักจะไม่มีแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือก และพยายามที่จะบรรลุเป้าหมาย อยู่บ่อยครั้ง สำหรับการคิดเชิงวิเคราะห์ ความสามารถในการรับรู้อารมณ์จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และ มีค่าของกระบวนการตัดสินใจของเรา สิ่งที่เห็นได้ง่ายๆ คือ เรามีอารมณ์ เช่น ความสุข และ ความกลัว เพื่อที่เราจะประเมินผลกระทบ ว่าจะเกิดเชิงบวกหรือเชิงลบขึ้น ในสถานการณ์และเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อตัดสินใจว่าควรทำอย่างไรต่อดี หากปราศจากอารมณ์เราก็ไม่มีแรงจูงใจในการตัดสินใจ ผลลัพธ์ระหว่างสิ่งใหม่กับสิ่งที่เก่าก็ไม่ได้ต่างอะไรกันในความคิดของเรา การเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น จะไม่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลกใบนี้ แม้ว่าเราจะชอบสิ่งแปลกใหม่ แต่ไม่ใช่ทุกสิ่งที่ใหม่จะเป็นสิ่งที่ดี อย่างที่เราหวัง ความสามารถทางอารมณ์ของเราจะสามารถช่วยให้ เราคิดได้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปในเชิงบวก หรือไม่ และ กำหนดว่าเราจะจัดการกับมันได้ด้วยวิธีไหนดีที่สุด
ดังนั้น อารมณ์เป็นส่วนประกอบสำคัญในความสามารถของเรา สำหรับในการเผชิญกับความท้าทายของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามความชอบแปลกใหม่ของเราสามารถใช้ประโยชน์ได้ และ แต่ปัจุบันนี้ เราคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล หรือพยายามค้นหาวิธีการจัดการกับอารมณ์ต่างๆ มากมาย ด้วยเหตุนี้ความสามารถในการรับรู้ของเราจึงลดลง เพราะเราไม่ต้องการให้ไขว้เขวไปกับอารมณ์ เราจึงต้องใช้พลังงานในการจัดการมัน ทำให้เราหมดอารมณ์ สิ่งนี้ทำให้เรามีพลังงานทางอารมณ์น้อยลง จึงทำให้ในการประมวลผลประสบการณ์ และ ข้อมูลใหม่ ๆ ทำให้เรามีภาพที่ไม่ชัดเจน ว่าอะไรจะเป็นประโยชน์ต่อเรา และ สิ่งที่เราควรหลีกหนี
ตรงนี้ทำให้เกิดสิ่งที่ว่า การมีความคิดแบบเยือกแข็ง (Frozen Thinking)
ซึ่งความคิดแบบเยือกแข็งเกิดขึ้นเมื่อเรามีทิศทางในการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ที่ตายตัว ซึ่งกำหนดวิธีที่เรากำหนดกรอบ หรือ แนวทางแก้ไขปัญหาไว้อยู่แล้ว ซึ่งความคิดแบบเยือกแข็งมักเกิดขึ้นเมื่อคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากๆ เป็นเรื่องตลกที่ความคิดแบบเยือกแข็งเป็นความเสี่ยง คนหลายคน โดยเฉพาะหากเราเป็นผู้เชี่ยวชาญในบางสิ่ง เมื่อเราเป็นผู้เชี่ยวชาญความรู้เชิงลึกของเราเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ในการเผชิญกับความท้าทายตามปกติในงานที่เราทำ แต่การที่เราหมกมุ่นอยู่กับความคิดแบบเดิมๆ นั้น สามารถกีดกันเราจากการสร้างสรรค์ หรือ การยอมรับแนวคิดใหม่ ๆ ได้ และขัดขวางเราเมื่อต้องเผชิญกับความแปลกใหม่ หรือการเปลี่ยนแปลง
เมื่อเรายึดติด กับความคิดที่ว่า สิ่งต่างๆ เป็นอย่างที่เป็นไปตลอดเวลา มันก็เป็นของมันอย่างนี้ตลอดไม่เปลี่ยนแปลง เราจะปิดสมองไม่ให้สังเกตเห็นโอกาสใหม่ ๆ สิ่งนี้อาจแปลเป็นการพลาดโอกาส หรือไม่สามารถหาทางแก้ไข ภายใต้ตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงไปได้ หรือ บางทีอาจจะเกิดผลที่เลวร้ายกว่านั้นมาก เช่น ถ้าเราเป็นแพทย์ที่มีการคิดแบบแช่แข็ง อาจนำไปสู่ข้อผิดพลาดที่สำคัญในการวินิจฉัย
ความคิดแบบเยือกแข็งเข้ากันไม่ได้กับการคิดแบบยืดหยุ่น ดังนั้น หากเราต้องการให้แน่ใจว่าเราไม่เพียงแค่ทำสิ่งเดิมๆ ออกมามากขึ้น ในขณะที่โลกหมุนรอบตัวเราให้เพิ่มความคิดที่ยืดหยุ่นให้มากขึ้นครับ
แล้วก็มาถึงประเด็นสำคัญที่หลายคนสงสัยคือ แล้วเราจะคิดแบบยืดหยุ่นได้อย่างไร ?
วิธีการฝึกของการคิดแบบยืดหยุ่น
หลักการเบื้องต้นมันง่ายมากๆ ครับ เราเพียงแค่ต้องหลีกหนี จากแนวทางของตัวเอง และ หยุดพยายามบังคับให้เกิดกระบวนการคิดที่เฉพาะเจาะจง
เราต้องก้าวออกจากสิ่งภายนอกที่เป็นข้อจำกัดของความคิดเราก่อน เพื่อกลับเข้าสู่ภายในของจิดใจเรา นั่นก็คือสิ่งที่เราทำเดิมๆ หรือ ความคิดที่คนอื่นมาชี้ว่าถูกหรือผิดโดยที่เราก็ไม่รู้ว่าทำไม จากความเชื่อของเราเอง เมื่อทำได้ความคิดที่ยืดหยุ่นของเราสามารถค้นหาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของความรู้ และ ความทรงจำ และ ความรู้สึกที่เก็บไว้ในสมอง ได้อย่างเต็มที่ ทำให้มันกลั่นบางความคิดที่เราไม่เคยคิดออกมาได้ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม การพักผ่อน การฝันกลางวัน และ กิจกรรมเงียบ ๆ เช่น การเดินเล่น จึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสร้างสรรค์ไอเดีย เพราะ เราไม่ได้ยึดติดอยู่กับอะไรเดิมๆ ปล่อยความคิดไปตามกระแสของมันอย่างสบายๆ
ซึ่งเขาเน้นว่า ความคิดที่ยืดหยุ่นจะเกิดขึ้นเมื่อเราให้พื้นที่เงียบสงบ เพื่อปล่อยให้สมองทำสิ่งต่างๆ
ดังนั้น กระบวนการเชื่อมโยงของความคิดที่ยืดหยุ่นไม่สามารถพัฒนาได้เมื่อจิตสำนึกอยู่ในสภาวะที่มีสมาธิจดจ่อ การที่จิตใจที่ผ่อนคลายสำรวจแนวคิดใหม่ ๆ ส่วนจิตใจที่ถูกยึดครองด้วยความคิดจะค้นหาแนวคิดที่คุ้นเคยมากที่สุดซึ่ง ในเรื่องจริงที่ความคิดแบบยืดหยุ่นของเราถูกกีดกันมากขึ้นเรื่อย ๆ จากสิ่งต่างๆ เช่น เวลาในการคิดหรือการเข้าไปสู่ในจิตใจที่น้อยเกินไป ด้วยเหตุนี้เราจึงลดโอกาสในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์แบบสุ่มของความรู้ หรือ ความคิดต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งนำไปสู่แนวคิดและการรับรู้ใหม่ ๆ มันกลับน้อยลงด้วยสภาพแวดล้อมของเราครับ
คำแนะนำสำหรับวิธีพัฒนาการคิดแบบยืดหยุ่น มีดังนี้
- ปลูกฝังให้มีความคิดริเริ่ม ด้วยการตั้งคำถามกับสถานการณ์ต่างๆ ราวกับว่าเราไม่มีประสบการณ์ ไม่เคยรู้เรื่องนั้นมาก่อน
- มุ่งสู่ความไม่ลงรอยกันในความคิดของเรา โดยการแสวงหาความสัมพันธ์ และ แนวคิดที่ท้าทายความเชื่อเดิมของเรา
- ตระหนักถึงคุณค่าของความหลากหลาย คำตอบไม่ได้มีคำตอบเดียวในหลายเรื่อง
- สร้างไอเดียขึ้นให้มากมาย และ อย่ากังวลว่าส่วนใหญ่จะไม่ดี
- พัฒนาอารมณ์เชิงบวก การคิดแบบยืดหยุ่นจะขัดกับการคิดเชิงวิเคราะห์เดิมทีของเรา ซึ่งมันอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดใจได้ เราต้องมองสิ่งต่างๆ ที่ขัดแย้ง หรือ ไม่ตรงกับสิ่งที่เราเชื่อในเชิงบวก
1
- ผ่อนคลาย เมื่อเราเห็นว่าตัวเองคิดวิเคราะห์มากเกินไป พยายามสังเกตุตัวเอง และ หยุดมันครับ
บทเรียนหลัก คือ ไม่ต้องบอกว่าจะทำยังไงให้การใช้ความคิดแบบยืดหยุ่นมีประสิทธิผลที่สุด เราแค่ทำตัวแบบเดียวกับเด็ก ๆ ที่เล่นที่ไม่มีทิศทาง บางครั้งเราต้องเปิดโอกาสให้สมองของเราทำบางสิ่งด้วยตัวมันเองบ้าง เรายังต้องเต็มใจที่จะหยุดคิดฟุ้งซ่านตลอดเวลา บ่อยครั้งที่ดูเหมือนว่าเรากลัวความคิดของตัวเอง หรือ เราคิดว่าการเงียบ คือ ความน่าเบื่อ ดังนั้น เราจึงค้นหาสิ่งรบกวนที่ทำให้สมองของเราว่างอยู่ เพื่อส่งเสริมความคิดที่ยืดหยุ่นในสังคมของเราเราต้องพยายาม ทำตัวเราให้ห่างจากการคิดแบบเดิมๆ อย่างต่อเนื่อง
เราสามารถทำให้สมองของเราดีขึ้น โดยการปลูกฝังความคิดที่สร้างขึ้นใหม่ อย่าบังคับความคิดของเรา หรือ ใช้วิธีการวิเคราะห์กับสถานการณ์ที่มีความท้าทาย ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในการคิดแบบยืดหยุ่นก็คือ การปลดปล่อยตัวเองจากความคิดแคบ ๆ แบบเดิม ๆ และจำไว้ว่า กระบวนการคิดที่เราใช้เพื่อสร้างสิ่งที่ได้รับการยกย่อง ว่าเป็นผลงานศิลปะ และ ผลงานทางวิทยาศาสตร์ชิ้นเอกที่ยิ่งใหญ่นั้น ไม่ได้แตกต่างไปจากพื้นฐานที่เรา ใช้สร้างความล้มเหลวของเราเลยแม้แต่น้อย
ยิ่งเรามีความคิดที่เข้มงวดน้อยเท่าไหร่ เราก็ยิ่งมีใจเปิดกว้าง มีความคิดสร้างสรรค์ และสร้างสิ่งใหม่ๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้อีกครั้งครับ ลองปรับใช้หรือไม่ก็ลองสังเกตตัวเองดูก่อนก็ได้ครับ หวังว่าจะเป็นไอเดียได้บ้างไม่มากก็ไม่มาก สำหรับคนที่อยากมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นครับ ถ้าใครชอบฝากกด like ในเพจเพื่อเป็นกำลังใจให้กัน สำหรับคนที่กดติดตามแล้วก็ขอบคุณมากครับ จะได้มีเรื่องให้พูดคุยกันต่อ หรือกด share ให้คนใกล้ตัวได้อ่านถ้าคิดว่ามันมีประโยชน์กับเขา หรือ comment พูดคุยกันได้ครับ ยินดีครับ
วันนี้ผมไปก่อน สวัสดีครับ
Sherlock B.
Facebook Page & Blockdit : Sherlock B.
โฆษณา