10 มี.ค. 2021 เวลา 22:01 • หนังสือ
The First 20 Hours : How To Learn Anything Fast by John Kaufman : Summary
วิธีการสร้างทักษะอย่างรวดเร็ว ทำสิ่งต่างๆ ได้ใน 20 ชั่วโมงเท่านั้น !!!
หลายคนอาจจะเรียนรู้แล้วการสร้างนิสัย จาก Atomic Habits แล้ว และ เรียนรู้การสร้างทักษะหละ ทำยังไง ?
ทักษะต่างจากนิสัยครับ
นิสัยค่อสิ่งที่ เราฝึกฝนจนเป็นตัวเรา หรือ เรากลายเป็นสิ่งนั้น
ส่วนทักษะ เราไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งนั้น แต่เราสามารถใช้งานมันได้
ถ้าเปรียบง่ายๆ เลย คือ นิสัย คือจิตวิญญาณเของเรา ส่วนทักษะ เป็นแค่เครื่องมือที่ช่วยให้เราทำอะไรได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า สรุปนี้จะเป็นการสรุปแค่ 3 บทแรกนะครับ อีก 3 บทหลังมัน แค่เคสตัวอย่าง ผมของพูดอย่างรวดเร็วแค่หลักการหลักๆ ที่เป็นหลักการทั่วไปของการได้มาซึ่งทักษะอย่างรวดเร็ว และ การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ครับ
4 ขั้นตอน พื้นฐานของการได้มาซึ่งทักษะอย่างรวดเร็ว
1. แยกโครงสร้างทักษะให้เป็นทักษะย่อยที่เล็กที่สุด
2. เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะย่อยแต่ละอย่างให้เพียงพอ เพื่อให้สามารถฝึกฝนได้อย่างชาญฉลาด และ แก้ไขปรับปรุงตนเองได้ในระหว่างการฝึกฝน
3. ขจัดอุปสรรคทางร่างกาย จิตใจ และ อารมณ์ที่ขัดขวางการปฏิบัติ
4. ฝึกฝนทักษะย่อยที่สำคัญที่สุดเป็นเวลาอย่างน้อยยี่สิบชั่วโมง
1
การได้มาซึ่งทักษะนั้นแตกต่างจากการเรียนรู้โดยทั่วไป เช่น การอ่านหนังสือ การเรียนรู้แบบทั่วไปมีประโยชน์ในทางใช้สร้างเครื่องมือเพื่อใช้งานเท่านั้น พอไม่ได้ใช้บ่อยๆ มันเราก็จะทิ้งมันไป เราจึงไม่ได้รับทักษะจากการเรียนรู้แบบนี้ แต่เราเรียนรู้ที่จะได้รับทักษะได้ จากการเรียนรู้แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับทักษะนั้นๆ จะช่วยให้เราแก้ไขปรับปรุงตัวเองได้ในขณะที่เราฝึกฝน จนเป็นทักษะเราในที่สุดครับ
ต่อมาเป็น หลักการสำคัญ 10 ประการ ของการได้มาซึ่งทักษะอย่างรวดเร็ว
1. เลือกทักษะที่เราชอบ : ยิ่งเราตื่นเต้นกับทักษะที่เราต้องการได้รับมากเท่าไหร่ เราก็จะได้รับทักษะนี้เร็วขึ้นเท่านั้น
 
2. มุ่งเน้นพลังงานของเราไปที่ทักษะแค่ 1 ทักษะ (ฝึกทีละทักษะ) : การได้รับทักษะใหม่ ๆ จำเป็นต้องใช้เวลา และ มีสมาธิจดจ่อต่อสิ่งที่ทำอยู่มากๆ ทั้งสองอย่างนี้เป็นเรื่องที่หาได้ยากอยู่แล้วอย่าให้มันมีประสิทธิภาพน้อยลองดัวยการทำหลายอย่าง
3. กำหนดระดับของเป้าหมาย : กำหนดในประโยคที่เรียบง่าย และ เฉพาะเจาะจง โดยให้อธิบายว่าเราต้องการที่จะสามารถฝึกฝนทักษะที่เราได้รับมาได้ดีขนาดไหน (พอให้ ดี ดีมาก ดีสุดๆ เทพเจ้า …)
4. แยกทักษะออกเป็นทักษะย่อย : แบ่งทักษะออกเป็นส่วนที่เล็กที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จากนั้นมุ่งเน้นไปที่ทักษะย่อยที่สำคัญก่อน
 
5. หาเครื่องมือที่สำคัญ : ต้องมั่นใจว่าเรามีทรัพยากรทั้งหมด ที่เราต้องการก่อนที่จะเริ่ม เช่น เราไม่สามารถเรียนรู้วิธีการปั่นจักรยานได้โดยไม่ใช้จักรยาน หรือ รวมถึงความรู้ที่จำเป็นในการทำทักษะนั้นๆ ด้วย
6. กำจัดอุปสรรคในลงมือทำ : ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งใด ที่จะขัดขวางการลงมือทำของเราได้ อย่างน้อยก็ที่เราสามารถเตรียมพร้อมได้ ทรัพยากรต่างๆ เช่น อุปกรณ์ หรือ ความรู้ควรหาได้ง่าย สภาพแวดล้อมของเราไม่ควรมีสิ่งรบกวน และ จิตใจของเราไม่ควรมีสิ่งกีดขวางทางอารมณ์
7. ให้เวลากับการฝึกฝนอย่างทุ่มเท : ไม่มีใครมีเวลาพอสำหรับทุกอย่าง ถ้าเราต้องการทำสิ่งใดๆ นั้น สิ่งที่เราต้องทำคือ หาเวลาให้สิ่งนั้น
 
8. สร้างลูปของการบอก Feedback ที่รวดเร็ว : เราจะสามารถรับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับประสิทธิภาพของทักษะที่เรากำลังฝึกในตอนนี้อยู่ว่า อยู่ในระดับไหนแล้วโดยเร็วที่สุด เราอาจจะต้องรับจากโค้ช หรือ อุปกรณ์บางอย่างที่สามารถวัดผลหรือแสดง Feedback ให้เราดูได้อย่างชัดเจน
 
9. ฝึกฝนด้วยเวลาในช่วงเวลาสั้น ๆ : เราควรจะฝึกในแต่ละครั้งไม่นานเกินไป จนเบื่อ โดยการใช้นาฬิกาจับเวลา นับถอยหลัง และ ตั้งไว้เป็นเวลา 20 นาที จากนั้น มีกฎเพียงข้อเดียว คือ เมื่อคุณเริ่มจับเวลาคุณต้องฝึกฝนอย่างจดจ่อจนกว่าจะหมดเวลา และ จัดสรรเวลาสำหรับการฝึกซ้อมดังกล่าว 3 ถึง 5 ครั้งต่อวัน
10. เน้นปริมาณ (จำนวนครั้ง) และ ความเร็ว : ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเราฝึกด้วยวิธีที่ดีพอที่จะตอบสนองต่อระดับประสิทธิภาพ (ดี ดีมาก โครตเทพ) ของเป้าหมายของเรา เมื่อเราฝึกซ้อมในรูปแบบที่ดีอย่างน้อย 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของเวลาแล้ว ให้เร่งความเร็วเพื่อที่จะได้รับทักษะนั้นมาเร็วขึ้นกว่าเดิม หรือ ประสิทธิภาพสูงขึ้นในเวลาที่เท่ากัน
เมื่อกี๊เป็นการฝึกเพื่อให้ได้ทักษะมาด้วยความเร็ว เป็นเรื่องของเวลา ต่อไปนี้เป็นอีก 10 ข้อ ที่เป็นเรื่องของคุณภาพครับ
หลักการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 10 ประการ
1. ค้นคว้าทักษะ และ หัวข้อที่เกี่ยวข้อง : ใช้เวลา 20 นาทีในการค้นหาแหล่งข้อมูลที่ดีในการได้รับทักษะที่เราเลือก แหล่งข้อมูลเหล่านี้ส่วนจะไม่สอนทักษะให้เรา ว่าทักษะนั้นเป็นแบบนี้ๆ หมายความว่าอย่างนี้ แต่แหล่งที่มีประสิทธิภาพ พวกเขาจะสอนวิธีการปฏิบัติให้กับเรา
2. ก้าวข้ามตัวเอง : เริ่มแรกเราอาจจะสับสน ซึ่งการตระหนักถึงความสับสนเป็นสิ่งที่มีค่า ดีแล้วที่สับสนครับ เพราะว่า มันจะสามารถช่วยให้เรารับรู้ได้ว่าเราจะต้องค้นคว้า หรือ ทำอะไรต่อไปเพื่อแก้ไขความสับสนนั้น
1
3. การจดจำ : การจินตนาการถึงการจำลองวัตถุ หรือ ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ หรือ การเปรียบเทียบ และ อุปมาอุปไมย มันสามารถใช้เพื่อช่วยให้จดจำแนวคิดใหม่ ๆ ได้ดีขึ้น
4. ลองนึกภาพสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งที่เราต้องการ : เมื่อพิจารณาถึงผลลัพธ์ที่แย่ที่สุด เราจะสามารถระบุสิ่งสำคัญที่มันอาจจะไม่ชัดเจนในตอนแรกได้ในทันที เช่น เราต้องการปั่นจักรยานไว้ ผลลัพธ์ที่เลวร้ายคือ ล้ม หรือ อาจจะเบรกไม่อยู่ เราก็จะเห็นได้ว่าเครื่องป้องกัน หรือ ระบบเบรกที่ดี ก็สำคัญนะ
5. คุยกับคนที่เคยทำมาก่อน เพื่อสร้างความหวัง : การพูดคุยกับคนที่ได้รับทักษะมาก่อนเรา จะช่วยให้เรามั่นใจ และ กำจัดความเข้าใจผิด ก่อนที่เราจะลงทุนเวลา และ พลังงานของเรา ในการลงมือทำ และมีความหวังว่า ถ้าเรามาถูกทางเราทำได้แน่
6. ขจัดสิ่งรบกวนในสภาพแวดล้อมของเรา : สิ่งรบกวนมีสองรูปแบบ : อิเล็กทรอนิกส์ (โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต) และทางชีวภาพ (คน หรือ สัตว์เลี้ยง) เราจัดการกับพวกเขาอย่างเหมาะสม ผมไม่ได้หมายความว่าให้เอาสุนัขไปทิ้งนะครับ
7. ใช้การทำซ้ำแบบเว้นระยะ และ การเสริมแรงสำหรับการท่องจำ : การทำซ้ำๆ แต่เว้นระยะ เช่น อ่าน 1 หน้า ไปกินข้าว ทบทวน ไปทำอย่างอื่น กลับมาทบทวน ลูปนี้ซ้ำๆ แต่ละครั้งมันจะช่วยเสริมแรงให้กับความจำของเรา เราจะใช้เทคนิคนี้เมื่อเราต้องเจอกับการจำอย่างรวดเร็ว เช่น การเรียนรู้คำศัพท์ หรือ สิ่งต่างๆ ในเวลาอันสั้นที่สุดที่จะต้องจำให้ได้ อย่างเช่นเหล่า One Night Miracle ของนักศึกษามหาลัยฯ เทคนิคนี้ก็เวิร์คอย่างแรง ผมลองมาให้ละ 6 ปี ก็ โอเคอยู่ครับ 5555 จะพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ มันคือการบรรจุความจำ Short Term ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเองครับ ถ้ารู้วิธีคิด แต่จำข้อมูลที่เอาไปคิดไม่ได้ วิธีนี้เวิร์ค ส่วนถ้าไม่เข้าใจ ไม่รู้วิธีคิด มา One Night Miracle กับ วิธีนี้ เจ๊ง ครับ
8. ทำ Checklist และ Scaffolds : Checklist จะช่วยให้เราจำสิ่งที่ต้องทำทุกครั้งที่คุณฝึกซ้อม Scaffolds เป็นโครงสร้างของทักษะที่ช่วยให้มั่นใจว่าเราเข้าใกล้ทักษะที่เราต้องการ โดยไปถูกทางทุกครั้ง (เช่นการฝึกโยนจุดโทษของบาสเกตบอล มันช่วนให้เราชู้ตได้ดีขึ้น ซึ่งการเป็นส่วนของทักษะสำคัญในการเล่นบาสเกตบอล)
9. สร้างและทดสอบการคาดการณ์ : การฝึกนิสัยให้ลงมือทำ และ คาดการณ์ก่อนฝึกทักษะ และทดสอบผล ว่าฝึกไปจะต้องได้อะไร แล้วได้หรือไม่ จะช่วยให้เราได้รับทักษะมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
10. เราไม่ใช่เครื่องจักร : ร่างกายของเราต้องการอาหาร และ น้ำ การออกกำลังกาย พักผ่อน และ นอนหลับ อย่าลืมดูให้แน่ใจว่ามันยังเพียงพออยู่หรือเปล่า ขณะที่เราฝึกทักษะนั่นแหละครับ เราอาจจะเข้าข่ายหักโหมเกินไปครับ
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้อีกครั้งครับ ผมว่าแกนหลักของเล่มนี้ไม่ได้มาก แล้วก็เข้าใจง่าย ปรับใช้ได้เลยครับ ลองปรับใช้กับสิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้ดู หรือ ไม่ก็เริ่มทำทักษะใหม่ๆ ด้วยวิธีการพวกนี้ดูครับ เอาหละ ถ้าใครชอบฝากกด like ในเพจเพื่อเป็นกำลังใจให้กัน หรือกด share ให้คนใกล้ตัวได้อ่านถ้าคิดว่ามันมีประโยชน์กับเขา หรือ comment พูดคุยกันได้ครับ ยินดีครับ
วันนี้ผมไปก่อน สวัสดีครับ
Sherlock B.
Facebook Page & Blockdit : Sherlock B.
โฆษณา