บ้านตึกเหลียวแล ซอยแฟลตทรัพย์สิน
ค่าพิกัด (GPS) : 13.732918° | 100.513238°
.
ปัจจุบันเป็นสถานที่เอกชนมาเช่าทำร้านเครื่องดื่มและขนม
PATINA BANGKOK ตลาดน้อย มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมแม้เพิ่งเปิดตัว
ด้วยความดึงดูดของอาคาร ผนังและผังพื้นมีคราบร่องรอยของกาลเวลา
เรื่องราวในความดิบเก่าที่ทิ้งให้เห็นจนเป็นมุมถ่ายภาพเกือบทุกจุดทั่วร้าน
ตรงกับ แนวคิดของชื่อร้านคาเฟ่ แม้ว่าผมเดินทางเข้าไปดูเมื่อ23 ม.ค.2564
แต่ไม่มีโอกาสเข้าไปดื่มด่ำเเพราะคนทยอยเดินเข้าออกร้านในวันสุดสัปดาห์
มาได้ง่ายถ้าลงรถเมล์ป้ายตลาดน้อยเยื้องหัวลำโพง มาทางเส้นเจริญกรุงแล้วเลี้ยวซ้าย เดินผ่าโรงแรม ตั๊กหลักเกี๊ย จากป้ายรถเมล์เข้าซอย 22 แล้วเดินทะลุมาตามฝูงชน หรือถ้ามาทางท่าเรือผ่านโบสถ์กาละหว่าร์ จะเจอง่ายก่อนถึงร้านเป็ดกรมเจ้าท่าร้านดังละแวกนี้
.
ตรอกผีดิบ(ซอยแฟลตทรัพย์สิน)
"...สําหรับท้องที่ของโรงพักวัดเกาะนั้น แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่มีคนอยู่อย่างอึกทึก มีโรงมหรสพ มี
โรงแรม มีภัตตาคาร มีร้านอาหาร มีโรงยาฝิ่น มีสถานที่เล่นการพนัน มีสถานที่บริการทางกามารมณ์ มีผู้คนไปมาตลอดคืน
ตลอดวัน มีเสียงดังตลอดเวลา ส่วนนี้ก็คือในย่านถนนเยาวราชไปจนถึงถนนปทุมคงคา
อีกส่วนหนึ่งคือ ในส่วนของตลาดน้อย เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่ประกอบอาชีพต่างๆที่ไม่ค่อยมีเสียง เมื่อหมดเวลาแล้วก็เงียบสงบ
ปราศจากเสียงดังรบกวน มีวัดพระพุทธศาสนาก็คือ วัดปทุมคงคา(วัดสําเพ็ง) วัดคริสต์ คือ วัดกาลหว่าร์(วัดแม่พระลูกประคํา)
โรงเรียนมัธยมมีโรงเรียนวัดปทุมคงคา ดังนั้นการตรวจตราดูแลความสงบเรียบร้อยของตํารวจ จึงต้องหนักมาในทางส่วนมาก
โรงพักวัดเกาะก็ตั้งอยู่ในส่วนที่อึกทึกนี้ ในส่วนนี้ถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบก็น้อย ถนนเยาวราชที่จะต้องดูแลก็มีตั้งแต่ตรอก
กระทะไปถึงหน้าโรงภาพยนตร์โอเดียน นอกนั้นก็มี ถนนทรงวาด ถนนทรงสวัสดิ์ ถนนพาดสาย ถนนเซียงกง ถนนปทุมคงคา
แต่ละถนนก็ยาวไม่เกิน 500 เมตร ยานพาหนะที่แล่นไปมาประจําก็มีแต่รถราง..."เจริญ ตันมหาพราน
.
ที่มาของ ตรอกผีดิบ ฝิ่น และความเจริญ-เสื่อม ความเสียหายจากเพลิงไหม้บ้านไม้ชุมชนนี้ สามารถอ่านได้จากลิงค์ข้างต้น
.
ตลาดน้อย
วิถี “ตลาดน้อย” ยุคตั้งต้น ชุมชน “จีน” กับความเฟื่องฟูที่ถูกผนวกรวมกับย่านสำเพ็ง
.
"...ย่านตลาดน้อย เป็นชุมชนจีนที่เกิดขึ้นมาจากการขยายตัวของสำเพ็งซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยที่บรรดาชาวจีนต่างพากันเรียกตลาดแห่งใหม่ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของสำเพ็งซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่ในขณะนั้นว่า “ตะลัคเกียะ” ซึ่งแปลเป็นไทยว่า “ตลาดน้อย” และด้วยความที่อยู่ใกล้กับสำเพ็งมากในบางครั้งตลาดน้อยจึงถูกเรียกในฐานะส่วนหนึ่งของสำเพ็งด้วย
สภาพโดยทั่วไปของตลาดน้อยมีลักษณะใกล้เคียงกับย่านเก่าอื่นๆ ในกรุงเทพฯ เช่น กฎีจีน ที่เป็นผลมาจากการผสมผสานกันระหว่างผู้คนหลายกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาโดยเริ่มเป็นชุมชนที่หนาแน่นมากขึ้นภายหลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก ผู้คนจึงพากันอพยพลงมาทางใต้ และบางส่วนได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบางกอก รวมทั้งกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนชาวโปรตุเกสที่อพยพมารวมกันอยู่ที่วัดซางตาครู้สที่กุฎีจีน ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่ในสมัยธนบุรี
แต่ต่อมาเกิดขัดแย้งกับบาทหลวงฝรั่งเศส จึงได้แยกตัวมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณตลาดน้อย ซึ่งก็อยู่ใกล้ๆ กับลานประหารนักโทษบริเวณป่าช้าวัดตะเคียน (วัดมหาพฤฒาราม) จึงให้ชื่อวัดใหม่ว่า “กาลวารี” ซึ่่งเป็นชื่อลานประหารนักโทษในเมืองเยรูซเล็มที่ใช้ตรึงกางเขนพระเยซู ต่อมาเรียก เพี้ยนกันไปจนกลายเป็น “กาลหว่าร์” ในปัจจุบัน