12 มี.ค. 2021 เวลา 11:42 • สุขภาพ
ลิ่มเหลือดอุดตัน...อันตรายเฉียบพลัน
6
หลอดเลือดดำบริเวณขา บางครั้งอาจเกิดลิ่มเลือดขึ้นอยู่ภายในหลอดเลือด ถ้าเกิดที่หลอดเลือดดำบริเวณผิว มักจะทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดร่วมด้วย เรียกว่า หลอดเลือดดำส่วนผิวอักเสบมีลิ่มเลือด (superficial thrombophlebitis)*
8
แต่ถ้าเกิดที่หลอดเลือดดำส่วนที่อยู่ลึกในกล้ามเนื้อ(ส่วนใหญ่เกิดที่บริเวณน่อง) มักไม่มีอาการอักเสบร่วม ด้วยเรียกว่า ภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด ลิ่มเลือดอาจหลุดลอยเข้าไปในปอดเป็นอันตรายได้
1
ภาวะนี้มักพบในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เลือดแข็งตัวง่ายหรือไหลเวียนช้า ดังนั้นจึงพบบ่อยในผู้สูงอายุผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด กินยาเม็ดคุมกำเนิด หรือไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายอยู่นาน ๆ
5
สาเหตุ ภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด
3
เกิดจากมีลิ่มเลือด (blood clot หรือ thrombus) ก่อตัวขึ้นในหลอดเลือด ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมากมาย เช่น
3
การไม่ได้ลุกขึ้นเดินเป็นเวลานาน เช่น นั่งรถ
1
หรือเครื่องบินระยะทางไกล
2
การนอนพักฟื้นอยู่บนเตียงนาน ๆ เช่น ผู้ป่วย
หลังผ่าตัด กระดูกหัก หรือเป็นโรคหัวใจ
ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก
ผู้ป่วยที่มีแขนขาเป็นอัมพาต
ผู้ป่วยเป็นมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งตับอ่อนที่ทำให้เลือดแข็งตัวง่าย
ผู้หญิงที่กินยาเม็ดคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนทดแทนสำหรับหญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งทำให้เลือดแข็งตัวง่าย
3
หญิงตั้งครรภ์หรือหลังคลอดใหม่ๆซึ่งจะทำให้มีแรงดันสูงในหลอดเลือดดำที่บริเวณเชิงกรานและขา
4
ผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าทีภาวะขาดน้ำหรือ สูบบุหรี่
2
ผู้ที่รูปร่างอ้วน
การมีภาวะบาดเจ็บต่อหลอดเลือดดำ เช่น การผ่าตัดหลอดเลือด หรือฉีดสารระคายเคืองเข้าหลอดเลือด
2
การมีความผิดปกติที่ทำให้เลือดจับเป็นลิ่มง่าย หรือมีประวัติพ่อแม่พี่น้องมีภาวะเลือดจับเป็นลิ่มง่าย
1
อาการ ภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด
1
ประมาณร้อยละ 50 ของผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด จะไม่มีอาการแสดงใด ๆ จนกว่ามีภาวะแทรกซ้อนที่ปอดก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก
1
ส่วนกลุ่มที่มีอาการจะรู้สึกปวดหน่วง ๆ ตึง ๆ หรือเจ็บบริเวณน่อง หรือข่าข้างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเดิน ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลัน และอาจมีอาการบวมที่ข้อเท้า เท้า หรือตันขาร่วมด้วย
2
การรักษา ภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด
1
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง แต่หากมีอาการเจ็บหน้าอก หรือหายใจหอบร่วมด้วยควรส่งโรงพยาบาลด่วน
1
แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการตรวจ อัลตราซาวด์ (Doppler ultrasonography) การถ่ายภาพรังสีเลือดดำด้วยการฉีดสารทึบรังสี  (venography) ในกรณี สงสัยว่าอาจมีภาวะสิ่งหลุดอุดตันหลอดเลือดแดงปอดก็จะทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติม
3
การรักษา  มักจะต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลโดยให้ผู้ป่วยนอนพักและยกเท้าสูง 6 นิ้วให้สารกันเลือดเป็นลิ่ม ได้แก่ เฮพาริน   (heparin) ฉีดเข้าใต้ผิวหนังแล้วให้กินยาเม็ดวาร์ริน (warfarin) ต่อซึ่งอาจต้องกินนาน 2-6 เดือน ยานี้ทำให้เลือดออกได้ง่าย  จำเป็นต้องตรวจเลือดดู clotting time แล้วปรับขนาดยาให้เหมาะสม
1
การรักษาอื่น ๆ ได้แก่ การพันด้วยผ้าพันแผลชนิด ยืด หรือการสวมใส่ถุงเท้าชนิดยืด (elastic stoching) เพื่อแก้ไขอาการบวมและป้องกันภาวะแทรกซ้อน การผ่าตัดเอาลิ่มเลือดออกบางกรณีอาจสอดใส่ “ตัวกรอง (filter)ไว้ในท่อเลือดดำส่วนล่าง (inferior vena cava) เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดหลุดลอยเข้าปอด
6
รู้หรือไม่ !? วิตามินซี ช่วยป้องกัน โรคลิ่มเลือดอุดตันได้
3
จากรายงานวิจัยทางด้านการแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า หากร่างกายได้รับวิตามินซีในปริมาณที่สูงเป็นประจำต่อเนื่องทุกวัน นอกจากจะเป็นการนำวิตามินซีเข้าไปช่วยบำรุงเนื้อเยื่อและหลอดเลือดแดงให้แข็งแรงแล้ว วิตามินซีก็ยังมีส่วนช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดให้น้อยลงได้อีกด้วย โดยที่วิตามินซีจะทำการเปลี่ยนคอเลสเตอรอลให้กลายเป็นกรดน้ำดีที่ตับ จากนั้นตับก็จะกำจัดทิ้งไป จึงทำให้ลดการสะสมของคอเลสเตอรอล อีกทั้งยังช่วยกำจัดไขมันที่สะสมตัวอยู่ตามเส้นเลือด ซึ่งไขมันเหล่านี้นี่เองที่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดปัญหาเส้นเลือดอุดตันนั่นเอง อย่างไรก็ตาม เหตุเพราะวิตามินซีถูกนำไปใช้เพื่อบำรุงส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นสำคัญ การเลือกบริโภควิตามินซีจึงจะต้องเข้าใจว่าปริมาณวิตามินซีที่ได้รับมีปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายจริงๆ
7
ข้อมูล :สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และสภากาชาดไทย
9 ประเทศยุโรประงับใช้วัคซีนโควิด-19 แอสตราเซเนกา หลังพบเคสลิ่มเลือดอุดตัน
1
สำนักงานยายุโรป (EMA) กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วยุโรปมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 แอสตราเซเนกาให้ประชากรแล้วกว่า 5 ล้านคน แต่มีรายงานว่า 30 คนในนี้เกิดภาวะเลือดแข็งตัว เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีน และหนึ่งในนั้นเสียชีวิต
5
ทั้งนี้ บางประเทศเลือกระงับการใช้จากความกังวลถึงรายงานพบผู้รับวัคซีนโควิด-19 แอสตราเซเนกาเกิดลิ่มเลือดอุดตัน แต่บางประเทศก็ตัดสินใจเพราะพบกรณีดังกล่าวด้วยตนเอง
โฆษณา