Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องราวจากของเก็บ
•
ติดตาม
13 มี.ค. 2021 เวลา 05:11 • ประวัติศาสตร์
13 มีนาคม “วันช้างไทย”
ช้าง เป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์และผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยโบราณ ช้างเป็นพระราชพาหนะเคียงคู่พระบารมีพระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัยเลยทีเดียว
แสตมป์ชุดช้าง
แต่สมัยปัจจุบัน คนไทยกลับเห็นคุณค่าและความสำคัญของช้างไทยลดลงไปทุกขณะ จนช้างถูกนำไปเร่ร่อนหาผลประโยชน์ และล้มตายเป็นจำนวนมากขึ้นทุกที
คณะอนุกรรมการจึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทำยุทธหัตถีมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยไปแล้ว จึงได้พิจารณาวันอื่น และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันที่ 13 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันช้างไทย”
เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น
ดวงตราไปรษณียากร ชุดช้างไทย
วันแรกจำหน่าย 5 พฤศจิกายน 2534
พิมพ์ที่ The Government Printing Bureau, Ministry of Finance, Japan
แสตมป์ชุดช้าง (ขอบคุณภาพจาก www.stampthailand.com
ชนิดราคา จำนวนพิมพ์และราคาปัจจุบัน (ยังไม่ใช้, ใช้แล้ว)
2 บาท 3,000,000 ดวง 5 บาท 3 บาท
4 บาท 1,000,000 ดวง 10 บาท 7 บาท
6 บาท 1,000,000 ดวง 18 บาท 10 บาท
8 บาท 1,000,000 ดวง 22 บาท 15 บาท
ช้างประจำรัชกาลที่ 9
พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างเผือกประจำรัชกาลที่ 9 เป็นช้างสำคัญในตระกูลพรหมพงศ์ จำพวกอัฏฐทิศ ชื่อ กมุท สีกายดังดอกกมุท หรือบัวสายแดง
ได้รับพระราชทานนามเต็มว่า
พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวมนาถบารมี
ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิศุทธวงศ์
สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาติ สยามราษฎรสวัสดิ์ประสิทธิ์ รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรบพิตรสารศักดิ์เลิศฟ้า
พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างเผือกโท เกิดในป่าเขตจังหวัดกระบี่ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2494 ถูกคล้องได้ที่ บ้านหนองจูด ตำบลดินอุดม อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ เมื่อ พ.ศ. 2499 โดยนายแปลก ฟุ้งเฟื่องและนายปลื้ม สุทธิเกิด(หมอเฒ่า)
เป็นลูกช้างติดแม่อยู่ในโขนงช้างป่า พร้อมกับช้างอื่นๆ อีก 5 เชือกคือ พังสาคร พลายทอง พังเพียร พังวิไล และพังน้อย โดยในตอนนั้นพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ได้ชื่อว่า "พลายแก้ว" มีความสูง 1.60 เมตร เมื่อพระราชวังเมือง (ปุ้ยคชาชีวะ) ได้ตรวจสอบคชลักษณ์แล้วพบว่าเป็นช้างสำคัญ จึงนำมาเลี้ยงไว้ที่สวนสัตว์ดุสิต เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
ดวงตราไปรษณียากร ชุดมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา (ชุด 3)
วันแรกจำหน่าย 5 ธันวาคม 2550
พิมพ์ที่ Thai British Security Printing Public Company Limited, Thailand
แสตมป์ชุดชุดมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา (ชุด 3)
ชนิดราคา จำนวนพิมพ์และราคาปัจจุบัน (ยังไม่ใช้, ใช้แล้ว)
5 บาท 1,300,000 ดวง 8 บาท 2 บาท
5 บาท 1,300,000 ดวง 8 บาท 2 บาท
5 บาท 1,300,000 ดวง 8 บาท 2 บาท
5 บาท 1,300,000 ดวง 8 บาท 2 บาท
แบบที่ 1 ดวงซ้าย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับการน้อมเกล้าฯ ถวายพระเควดอดุลยเคชพาหนฯ เป็นช้างสำคัญ
1
แบบที่ 2 ดวงบน
พระบทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลี้ยงอาหารพ ระเศวตอดุลยเคชพาหนฯ
1
แบบที่ 3 ดวงล่าง
พระศวตอดุลยเคชพาหนฯ ทรงเดรื่องคชากรณ์ชุดใหม่
1
แบบที่ 4 ดวงขวา
พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ พร้อมแถวรับเสด็จ
1
การคล้องช้าง
การจับช้าง หรือ การคล้องช้าง ถือเป็นศิลปศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีการเรียนรู้มาตั้งแต่โบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์พระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งต้องศึกษาศิลปวิทยาแขนงนี้เพื่อทรงสามารถสรรหาช้างดีมาไว้ประดับพระบารมี
ในยามปกติจะใช้ทรงเป็นพาหนะ และในยามสงครามที่จะทรงใช้เป็นคชาธารออกรณรงค์หมู่ปัจจามิตร ดังนั้น จะพบว่าในประวัติศาสตร์องค์พระมหากษัตริย์ทรงมักจะเสด็จออก เพื่อไปวังช้างด้วยพระองค์เอง
ทั้งนี้ก็เพื่อฝึกพระองค์และขุนนางช้าราชบริพาร ได้ฝึกซ้อมการคล้องช้างป่าให้มีความชำนาญเชี่ยวชาญในการจับช้าง และรอบรู้ถึงป่าในราชอาณาจักรได้ดีขึ้น
ทั้งเป็นการฝึกการขับขี่ช้าง และใช้ช้างให้ชำนาญขึ้น นอกจากนี้การไปวังช้าง หรือการคล้องช้างนี้ก็เพื่อคัดเลือกช้างมาไว้ใช้งานเป็นพาหนะบรรทุกสิ่งของต่างๆ
ในการจับช้างในป่าเพื่อนำช้างมาฝึกหัดในงานต่างๆ นั้นจะมีบุคคลที่มาร่วมจับช้างเหล่านี้ที่มีแต่โบราณที่เรียกว่า ควาญ ถ้าเป็นผู้ที่เพิ่งจะเริ่มมาทำงาน เรียกว่า "ควาญซ้าย" และ ถ้ามีความชำนาญมากขึ้นจะได้รับเลื่อนตำแหน่งเป็น "ควาญขวา" และถ้ามีความเชี่ยวชาญในการจับช้างมากขึ้น และมีอายุสมควรจะได้รับเลื่อนเป็น "หมอช้าง"
แต่ที่สำคัญจะต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการคล้องช้างเหนือควาญช้างผู้อื่น หมอช้างเองก็ยังมีครูที่คอยควบคุมอยู่อีกชั้นหนึ่ง ที่เรียกว่า "ปะกรรม" หรือ "ปะกำ" ซึ่งจะรับคำสั่งจากหัวหน้าใหญ่ซึ่งเรียกว่า "ปฏิยายะ" อีกต่อหนึ่ง
1
ดวงตราไปรษณียากร ชุดคล้องช้าง
วันแรกจำหน่าย 16 พฤศจิกายน 2517
พิมพ์ที่ Suomen Pankin Setelipaino, Bank of Finland Security Printing House, Finland
แสตมป์ชุดคล้องช้าง
ชนิดราคา จำนวนพิมพ์และราคาปัจจุบัน (ยังไม่ใช้, ใช้แล้ว)
4 บาท 1,000,000 ดวง 115 บาท 30 บาท
พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99
การคล้องช้าง
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87?wprov=sfti1
บันทึก
12
14
3
12
14
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย