Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ชะลอวัยใส ๆ By หมอรวิ
•
ติดตาม
13 มี.ค. 2021 เวลา 09:21 • สุขภาพ
มาเช็คกันหน่อยว่าคุณมีภาวะอ้วนลงพุงกันหรือยัง????
วันอ้วนโลก
ปัจจุบันสังคมไทย เริ่มเข้าสู่สังคมที่มีภาวะน้ำหนักเกินมากขึ้น
คุณเชื่อหรือไม่ว่า???
ทุก ๆ การเดินไปเจอคน 3 คน จะมี 1 คนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยของเรา มีคนอ้วน หรือผู้มีภาวะน้ำหนักเกิน เป็นอันดับ 2 ในอาเซียน โดยรองจากประเทศมาเลเซียเท่านั้น
มาเช็คกันหน่อยนะคะว่าคุณมีภาวะอ้วนลงพุงกัน
หรือ Metabolic X syndrome กันหรือยัง????
โดย The National Cholesterol Education Program (NCEP) Adult Treatment Panel (ATP) III guidelines
ของสหรัฐอเมริกาได้ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้ค่ะ
NCEP ATP lll Guideline
1.อ้วนลงพุง (วัดรอบเอว)
ผู้ชาย >102 เซนติเมตร ( 40 นิ้ว )
ผู้หญิง >88 เซนติเมตร ( 35 นิ้ว )
และต้องมีปัจจัยดังนี้อย่างน้อย 3 ข้อขึ้นไป
2.ความดันโลหิตสูง >= 130/85 มิลลิเมตรปรอท
3.น้ำตาลในเลือด >= 110 มิลลิกรัม%
4.ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ >=150 มิลลิกรัม%
5.ไขมันแอชดีแอล(HDL) ไขมันดีในร่างกาย
ผู้ชาย < 40 มิลลิกรัม%
ผู้หญิง < 50 มิลลิกรัม%
สำหรับใครที่พยายามลดน้ำหนัก ลดไขมันมาก็นาน
แต่ทำไมน้ำหนักก็ขึ้นเรื่อย ๆ จะลงแต่ละขีด ก็แสนยากเย็น
กินก็ไม่เยอะ แคลอรี่ก็คำนวณ ออกกำลังกายก็ออกประจำ
พอหยุดปุ๊บ น้ำหนักก็ขึ้นเหมือนเดิม และอีกหลายๆปัญหา
ใครมีปัญหาอยู่บ้างมาลองเช็คกันนะคะ
คุณอาจจะมีภาวะอ้วนแฝงอยู่ได้
ภาวะอ้วนแฝง คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมัน
ในส่วนต่างๆ ของร่างกายเกินปกติ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคเรื้อรังต่าง ๆ
ทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความเสื่อมต่างๆ
รวมทั้งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้
ภาวะอ้วนแฝง
สาเหตุของภาวะอ้วนแฝง (Hidden Obesity)
จำแนกได้เป็น 6 ข้อ
1.ภาวะไทรอยด์ต่ำแฝง
2.ภาวะแพ้อาหารแฝง
(IgG Food Allergy)
3.อ้วนกับสารพิษ
(Heavy Metal Intoxicication)
4.ต่อมหมวกไตล้า
(Adrenal Fatigue)
5.อ้วนลงพุง
(Metabolic X Syndrome)
6.อ้วนจากฮอร์โมน
(Hormonal Imbalance)
วันนี้หมอรวิ จะขอนำตัวอย่าง
"ภาวะอ้วนแฝงจากฮอรโมน" มาฝากกันค่ะ
สำหรับใครที่อ้วนง่าย อ้วนแต่มีเอว สะโพกผาย
เต้านมโต ประจำเดือนมามาก มาไม่สม่ำเสมอ
นอนไม่หลับ กระวนกระวาย มีซิสต์ที่เต้านม
ตั้งใจลดน้ำหนักแล้วก็ลดได้ยาก
ลองอ่านกันดูนะคะ
ภาวะนี้เรียกว่า "อ้วนจากฮอร์โมน"
( Hormonal Imbalance )
จะทราบได้อย่างไรว่ามีภาวะนี้จึงทำให้ลดน้ำหนัก
หรือลดไขมันได้ยาก
ต้องตรวจสมดุลฮอร์โมนเพศ
เพื่อประกอบการวางแผน ทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจน
โพรเจนเตอโรน เทสโทสเตอโรน
ฮอร์โมน FSH และ LH เป็นต้น
แล้วตรวจได้ที่ไหน
- ตรวจในโรงพยาบาลที่มีศูนย์เวชศาตร์ชะลอวัย
และฟื้นฟูสุขภาพ
- ตรวจตามคลินิก โดยต้องเป็นคลินิกที่มีแพทย์
ทางด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย
และฟื้นฟูสุขภาพเท่านั้น
วิธีแก้ไขเบื้องต้น
1)ลดคาร์โบไฮเดรต เพิ่มสารอาหารประเภทโปรตีน
ลดไขมันเลวเพิ่มไขมันดี
2)ทานผักและผลไม้ ใยอาหารสูง ๆ
3)ทานวิตามินและเกลือแร่รวมเสริม
4)ทานผักตระกูลกระหล่ำ
5)การล้างสารพิษที่ตับ (Liver Detoxification)
6)การให้ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนธรรมชาติเสริม
(Bio identical Hormone)
7)ลดความเครียดและมีวิธีจัดการความเครียดที่เหมาะสม
ลดความเครียด
สำหรับการวินิจฉัย และการแก้ไขเบื้องต้นของภาวะอื่น ๆ
รอมาติดตามกันต่อไปนะคะ
#ภาวะอ้วนแฝง #HiddenObesity
#ภาวะอ้วนจากฮอร์โมน
#HormonalImbalance
#ชะลอวัยใสๆByหมอรวิ
บันทึก
3
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย