Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
KG Iire
•
ติดตาม
13 มี.ค. 2021 เวลา 11:34 • สุขภาพ
โรคภัยไข้เจ็บทุกวันนี้ไม่เข้าใครออกใครวันนี้จะมาเล่าเรื่องที่เกิดมากับตัวเองเนื่องจากว่าไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นกับครอบครัวของเราเอง
วัณโรค โรคนี้คืออะไรเชื่อว่าอาจมีคนรู้จักบ้างกับโรคนี้กับเราแล้วเป็นโรคที่แปลกหูเหมือนกันเคยได้รู้แค่เผินๆคือเวลาเป็นจะไอเป็นเลือดเหมือนในละคร..
วัณโรค(Tuberculosis หรือ TB) คืออะไร
วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อทางอากาศ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis) โดยทั่วไปแล้วผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคมักไม่แสดงอาการใด ๆ แต่ตัวโรคจะดำเนินต่อไป
แบ่งเป็นสามระยะ ได้แก่
- การติดเชื้อระยะแรก (Primary TB Infection)
- การติดเชื้อระยะแฝง (Latent TB Infection)
- ระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบ (Active Disease)
ผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะแฝง จะยังมีเชื้อวัณโรคอยู่ในร่างกาย แต่ตัวเชื้อจะอยู่นิ่ง ไม่ทำปฏิกิริยาใด ๆ ต่อร่างกาย ผู้ที่ติดเชื้อในระยะนี้จึงไม่มีอาการใดๆ และไม่แพร่เชื้อไปยังผู้อื่น
อาการน่าสงสัยเเป็นวัณโรคปอด
- มีอาการไข้ต่ำๆ ในเวลาบ่ายหรือเย็น
- ไอแห้งๆ และเจ็บหน้าอก
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
- ผิวหนังซีด เหลือง
- เหงื่อออกตอนกลางคืน
ถ้ามีอาการอย่างน้อย 2 อาการขึ้นไป รีบตรวจหาวัณโรคที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
ต้องกินยาที่ต้านเชื้อไวรัสนี้ ผลข้างเคียงของยานี้ก็พอสมควรคือ ทำให้น้ำหนักลด เบื่ออาหาร เกิดอาการแพ้ผื่นคัน ถึงขั้นบวมขึ้นหน้าบ้าง เท้าบ้าง เล่ามาแล้วรู้สึกไม่ชอบโรคนี้ขึ้นมาเลย
ทุกวันนี้ในประเทศไทยเรานี้ยังคงมี โรคนี้อยู่ ที่ทุกคนอาจมองข้าม วัณโรคเป็นเชื้อไวรัส ที่ติดกันง่ายมากทางลมหายใจ ทางเสมหะ จากการไอ ละอองลอยในอากาศ
โรคนี้มักติดง่ายกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เด็ก และคนชรา นี่ติดง่ายกว่าบุคคลทั่วไป พอเกิดขึ้นกับเรานี้ยังต้องระวัง มากๆๆยิ่งถ้าเราไปในที่ชุมชนเเออัดยิ่งต้องป้องกันตัวโดยการใส่หน้ากากอนามัย
การกินอาหารร่วมกันใช้ช้อนกลาง ที่ไม่ควรมองข้าม ยิ่งถ้าโรคนี้เข้าสู่ปอด หรือเป็นวัณโรคขึ้นสมองอีกยิ่งรักษายาก
ที่มา:
http://www.rpchospital.com/knowledge_detail.php?id=116
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย