14 มี.ค. 2021 เวลา 13:39 • ศิลปะ & ออกแบบ
แค่ได้บันทึกไว้ในความทรงจำ
ติดตามเราได้ที่
1
บังเอิญมีผู้ลงภาพ อาคารพักอาศัยสร้างจากไม้ริมคลองรอบกรุงฯ ในกลุ่ม ตึกรามบ้านช่อง ทาง facebook ทำให้นึกถึงอาคารเหล่านี้เช่นกัน
อาคารริมน้ำสร้างตามการใช้งาน เหล่านี้ตั้งอยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษม เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนโปลิศสภา ถ้าเดินจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ไปทางวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร จะคุ้นเคยและชินตา ส่วนตัวผู้เขียนถูกดึงดูดให้หยุดยืนมองเป็นหฝประจำเพราะด้านหลังเป็นกิ่งก้านของต้นไม้ขนาดใหญ่ ตัดกับเงาสะท้อนของน้ำ ครั้งแรกที่เห็นเมื่อหลายปีก่อน ประจวบกับชาวต่างชาติท่านหนึ่งยืนบรรจงประคองเลนส์ก่อนบันทึกภาพ แล้วเรามองหน้ากันโดยไร้คำพูดจา ต่างหันไปดื่มด่ำกับบรรยากาศด้านหน้า
เมื่อเร็วๆนี้ ผู้เขียนได้เดินผ่านปีที่แล้ว กลับพบว่าอาคารเหล่านี้ได้แปรเปลี่ยนไป เป็นรูปแบบใหม่ดูแข็งแรงทางโรฃครงสร้าง จากไม้แผ่นตีปะกบเป็นฝา ทาสีขาวแซมฟ้า ต่างจากเดิมจนตอนแรกไม่มั่นใจว่าลืมพิกัดหรือมาผิดที่ เดินหาอยู่นานจนทำความเข้าใจได้เอง
อาจเป็นความธรรมดาของโลก เราไม่อาจหยุดยั้ง และอาจเป็นพัฒนาการของอาคารสถานที่ที่ต้องมีการปรับปรุงเพื่อผู้อาศัยสะดวกสบายขึ้น แม้ว่าในทางอนุรักษ์และความงามจะหายไป ซึ่งการอนุรักษ์คงเป็นพื้นที่ต่อรองระหว่างผู้ใช้ อาคาร วัสดุ ปัจจัยสภาพอากาศและงบประมาณ รวมถึงพื้นที่แวดล้อม การจะให้แช่แข็งตามความคิดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งคงไม่ใช่วิธีที่ดี อยู่ที่การจัดการ
ทำให้นึกถึงอาคารอื่นที่เคยเดินชมและบันทึกภาพไว้
อาคารแถว ที่เคยอ่านเจอว่าสร้างสมัยยุคแรกๆของการตัดถนนเจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร ในปลายรัชกาลที่ 4 โดยอาคารแถวชุดนี้ตั้งอยู่ใกล้โรงรับจำนำสำราญราษฎร์ ซึ่งรูปแบบอาคารก่ออิฐถิฝือปูนที่ไม่ค่อยปรากฏเสารับน้ำหนัก อาจเป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นงานยุคแรกๆของการสร้างอาคารแบบใหม่ ที่ใช้การก่ออิฐแบบผนังรับน้ำหนัก(ซึ่งมีมานานในไทยย้อนไปสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯหรือเก่ากว่า) เพียงแต่เป็นรูปแบบศิลปะตะวันตก ที่มีเกร็ดว่าสยามส่งขุนนาง(สมเด็จฯช่วง บุนนาค) ไปศึกษาดูงานการปกครองและอาคารจากระบบอังกฤษที่สิงคโปร์ แล้วให้ช่างสยามร่างแบบ สร้างโดยกรรมกรชาวจีน โดยยุคแรกอาคารจะไม่สูงนัก(ยุคแรกสุดที่สร้างและมียันทึกคือสมัยรัชกาลที่3 ตึกแถวในวังหลวง) การประดับประดาไม่มีความหรูหรา เน้นการใช้งานและความเรียบง่าย ปูนปั้น หน้าต่าง บานประตู ทุกอย่างออกแบบเพื่อการใช้งาน สุดท้ายหลังจากผู้เขียนได้เดินชมแบบบังเอิญและบันทึกภาพไว้ ไม่กี่เดือนต่อมาถูกทุบรื้อทิ้งลง
สุดท้ายขอปิดบทความนี้ด้วยบ้านไม้อีกหลัง ชุมชนดังของเมืองกรุง
ชุมชนป้อมมหากาฬ หากอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯมาระยะหนึ่ง เชื่อว่าเมื่อถึงหน้าเทศกาลลอยกระทง ทุกคนส่วนมากจะนึกถึงการละเล่นประกอบเทศกาลนี้ ซึ่งการจุดพลุและดอกไม้ไฟเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แม้จะอันตรายและเสียงดังน่ารำคาญหรือมีข่าวอุบัติเหตุสลดใจเกิดบ่อยครั้งให้ได้ยินกัน ชุชนทีโด่งดังเสมอมาด้านการทำดอกไม้ไฟต้องชุมชนป้อมมหากาฬภูเขาทองและชุมชนใกล้เคียง หรืออาหารขึ้นชื่อประตูผีก็มีหลากหลาย นอกจากนั้นชุมชนนี้มีความเก่าแก่สืบน้อนไปตั้งแต่สมัยสร้างกรุงฯ
อาคารกลุ่มสร้างจากไม้แต่ละหลังมีที่มาและประวัติแต่ละด้าน ย้อนไปสมัยเริ่มสร้างกรุงเทพฯ บางหลังเป็นศูนย์รวมการละเล่นทั้งละครและลิเก บางหลังมีความเป็นครูภูมิปัญญา บางหลังเป็นขุนนางเก่าแก่
สุดท้าย แม้ว่าจะมีการเรียกร้องให้อนุรักษ์ และช่วงกิจกรรมผู้เขียนได้เข้าไปรับรู้เรื่องราวของชุมชนและภาคประชาสังคมโดยบังเอิญ และมีโอกาสสุดท้ายได้เข้าไปเดินชม สี่หลังสุดท้าย จนไม่เหลือให้ชมในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีรายงานเชิงวิชาการหลายเรื่องว่าควรค่าแก่การสงวนไว้ ก็มิอาจทัดทานกระแสได้
เพียงได้ผ่านมาพบกันสักครั้งหนึ่ง
ในฐานะนักออกแบบและนักวิชาการ จึงทำให้ตั้งใจจะบันทึกเรื่องราวอาคารเหล่านี้ไว้ และออกแบบสร้าสรรค์เป็นของที่ระลึกเพื่ออย่างน้อยได้กระตุ้นถึงการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ และเพื่อการอยู่รอดทางเศรษฐกิจ ผู้คนในชุมชนขายสินค้า อาหาร ส่งต่อเรื่องราวผ่านคนที่มาเดินชม จากแผนที่หรือของที่ระลึกนั้นๆ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา