Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
WDYMean
•
ติดตาม
18 มี.ค. 2021 เวลา 11:00 • ประวัติศาสตร์
ทำไมเห็ดบางชนิด ถึงมีพิษร้ายแรง?
1
ว่ากันว่า ถ้าคุณโยนเห็ดนางฟ้า ลงไปในหม้อต้มน้ำที่กำลังเดือด แล้วตามด้วยพริกขี้หนู น้ำมะขาม ก้านตะไคร้ และใบมะกรูด นั่งรอสัก 15 นาที คุณจะได้กินต้มยำ
1
แต่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเห็ดนั่นไม่ได้เป็นแค่เห็ดนางฟ้าธรรมดา แต่เป็นนางฟ้ามหาประลัย?
1
คำตอบสั้นๆ ก็คือ นี่อาจเป็นต้มยำมื้อสุดท้ายที่คุณจะได้กิน
1
เพราะผลของการรับเอาเจ้าเห็ดชนิดนี้ ที่มี amatoxin เข้าไปวิ่งเล่นในร่างกาย คือตับวาย และไตล้มเหลวเฉียบพลัน ที่สำคัญคือจะอ้วก อ้วก และอ้วก จนหมดแรง
คำถามก็คือ ทำไมเป็นแบบนั้น?
ทำไมสิ่งที่ดูเหมือนร่ม ถึงสร้างความทุกข์ระทม ให้กับระบบร่างกายเราได้มากขนาดนี้?
1
เห็ดพิษจะมีพิษไปเพื่ออะไร?
1
ที่น่าสนใจก็คือ สิ่งที่เรียกมาตลอดว่าเห็ด แท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่?
WDYMean จะเล่าให้ฟังครับ
“แท้จริงแล้วเห็ด มันคืออะไร?”
คำถามนี้จะตอบง่ายมาก ถ้าเรารู้ว่าเจ้าส่วนที่โผล่พ้นดินขึ้นมาเหมือนร่ม ทำหน้าที่อะไรในธรรมชาติ และถ้าเรารู้ เราอาจตอบได้ว่า เห็ดมีพิษทำไม
“ลองมองดูสิครับ” เสียงผู้บรรยายดังขึ้น
“ใช่ครับ มองไปที่เจ้าโคนเห็ดตรงนั้นแหละ เห็นอะไรไหมครับ ไม่เห็นเหรอ? งั้นลองมองเข้าไปใกล้อีกสิครับ ใกล้อีกนิด นั่นแหละ ใช่แล้ว เห็นละอองขาวๆ ไหมครับ นั่นล่ะครับ วันนี้เราจะมาตามดูเจ้าละอองที่ว่านี้กัน”
1
ละอองขาวๆ ที่ว่านี้มีชื่อเรียกว่า “สปอร์(spore)” และ สปอร์ ที่ว่านี้ก็ไม่ใช่ละอองธรรมดาๆ นะครับ แต่เป็นละอองที่มีภารกิจ
ภารกิจเอาชีวิตรอด เพื่อสร้างชีวิตใหม่
เป้าหมายของละอองเหล่านี้ก็คือ ตามหาพื้นที่ ที่มีน้ำ มีแร่ธาตุ และอุณหภูมิพอดีที่สุด
1
ทันที่แรงลมพัดกลุ่มก้อน สปอร์ จำนวนมหาศาลหลุดจากโคนต้นขึ้นไปในอากาศ เวลาของพวกมันทั้งหมดก็เริ่มนับถอยหลัง
เมื่อลอยหลุดขึ้นไปในอากาศ สิ่งแรกที่ละอองเหล่านี้จะต้องเจอ นั่นคือ แสงยูวี จะยูวีเอหรือบีก็ทำลายสิ่งที่อยู่ด้านในสปอร์ได้เหมือนกัน แต่นั่นยังไม่เท่ากับแรงลม
จริงอยู่ที่ลมที่แรง จะทำให้ละอองเหล่านี้ปลิวไปได้ไกล
แต่ปัญหาคือ ยิ่งลมแรงเท่าไหร่ ยิ่งเลือกจุดแลนด์ดิงยากเท่านั้น และเมื่อเลือกยาก(จริงๆ เลือกไม่ได้) โอกาสลอยไปตกในที่แห้งแล้ง หรือไม่ก็โดนแดดเผาตายคาอากาศจึงสูงตามไปด้วย
2
เห็ดบางชนิดจึงวิวัฒนาการกลไกการปล่อย สปอร์ ตามเวลา ตามฤดู บางชนิดปล่อยกลางคืน บางชนิดปล่อยช่วงสาย เพื่อให้สปอร์ที่ลอยไปมีโอกาสรอดมากที่สุด
1
ตัดสลับกลับมาที่ผู้รอดชีวิต
1
เมื่อละออง survival ตกลงบนพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ชื้นกำลังดี อากาศกำลังสบาย ภารกิจต่อไปจึงเริ่มขึ้น นั่นคือ “เติบโต”
เริ่มจากแบ่งเซลล์จาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 เมื่อแบ่งเซลล์มากๆ เข้า เซลล์ก็รวมกลุ่มกันจนมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป แต่ไฮไลท์สำคัญของเซลล์เหล่านี้ อยู่ที่เจ้า ไฮฟา(Hypha) ครับ
ไฮฟา คือ เส้นใย โครงข่าย ที่คอยดูดสารอาหารจากรอบๆ ตัวใช้ในการเพื่อเติบโต และเมื่อไฮฟามารวมกันมากๆ เข้า จนมากถึงมากที่สุด เราจะเรียกกลุ่มไฮฟานี้ว่า “mold”
และ mold ก็คือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “เชื้อรา” นั่นล่ะครับ
Hypha รวมกันเป็น Mold
หลังกลายร่างเป็นเชื้อรา และใช้ไฮฟาไปสร้างอาณาเขตรอบๆ ตัว ภารกิจต่อไปของเชื้อราก็เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ นั่นคือ การสืบพันธุ์ (แต่ขอโฟกัสแค่อาศัยเพศนะครับ)
ราที่ต้องหาคู่(อาศัยเพศ) ก็จะเอาไฮฟามาชนกัน ชนไปชนมา ของเหลวข้างในก็จะหลอมรวมเป็นหนึ่ง และเริ่มแบ่งเซลล์เป็นเซลล์ลูกเซลล์หลาน
แต่ปัญหาต่อมาคือ จะสืบลูกหลานยังไง ให้ไม่มาทับที่แย่งอาหารตัวเอง คำตอบก็คือ ต้องถีบลูกหลานให้ไปไกลๆ
1
ราชั้นสูง จึงวิวัฒนาการโครงสร้างชนิดหนึ่ง ที่สูงชะลูดขึ้นมาจากพื้น ใช้ในการแพร่พันธุ์ ทุกวันนี้เราเรียกโครงสร้างนี้ว่า
1
“fruiting body”
ซึ่งก็คือส่วนที่เราเรียกกันว่า “เห็ด” ที่เอามาทำต้มยำเมื่อต้นเรื่องนั่นเองครับ
1
. . .
เมื่อ fruiting body ทะยานตัวขึ้นมาจากพื้น เริ่มแผ่กิ่งก้านออกไปจนได้ที่ หนังม้วนเดิมเมื่อต้นเรื่อง ก็เตรียมจะฉายซ้ำอีกครั้ง ...
“ลองมองดูสิครับ” เสียงที่คุ้นเคยดังขึ้น
1
“ละอองขาวๆ ตรงนั้น นั่นล่ะ ใช่แล้ว เห็นแล้วใช่ไหมครับ นั่นไม่ใช่ละอองธรรมดาๆ นะครับ แต่เป็นละอองที่มีภารกิจ เป็นภารกิจในการเอาชีวิตรอด เพื่อไปสร้างชีวิตใหม่!”
fruiting body หรือที่เราเรียกว่า เห็ด
เมื่อเชื้อราใช้ fruiting body ในการแพร่พันธุ์ fruiting body จึงเปรียบเสมือนผลไม้ ที่คอยกระจายให้เมล็ดอยู่รอดต่อไป
ราบางชนิดก็ไม่ได้ปกป้องอะไรมากครับ ตราบใดที่สปอร์ยังมีชีวิตต่อไปได้ ไม่จำเป็นต้องสร้างพิษ ทุกวันนี้ก็เลยมีเห็ดนางฟ้าที่ไม่เป็นพิษให้เราได้กินกัน ... แต่นั่นไม่ใช่กับเห็ดนางฟ้าอีกเจ้าหนึ่ง
นั่นคือ “นางฟ้ามหาประลัย”
2
เห็ดตระกูล อะมานิตา(Amanita) หรือนางฟ้ามหาประลัย มีพิษ amatoxin ที่ทำลายอวัยวะภายในอย่างตับ ไต และกระเพาะอาหาร จนเสียชีวิต
ถึงตรงนี้ถ้าจะถามว่า ทำไมพิษของมันถึงรุนแรง และน่ากลัวขนาดนี้ ...
คำตอบก็อยู่แค่เอื้อมแล้วครับ
. . .
เชื้อราเป็นผู้ย่อยสลายในธรรมชาติ นั่นแปลว่าอะไรที่สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นย่อยไม่ได้ ราทำได้หมด ราจึงสามารถเข้าถึงแหล่งอาหารที่บางทีสัตว์เข้าไม่ถึง และหยิบมันมาใช้ประโยชน์
1
หนึ่งในนั้นคือ การใช้สร้าง fruiting body
นั่นจึงไม่แปลกที่ fruiting body ของเชื้อราจะอัดแน่นไปด้วยสารอาหาร ซึ่งเป็นที่ต้องการของสัตว์อย่าง แมลง กวาง กระต่าย หรือแม้แต่หอยทาก
ที่อเมริกาเหนือ เห็ดอะมานิตา เจอกับแรงกดดันมหาศาลที่ไม่เหมือนเห็ดนางฟ้าบ้านเรา
สัตว์ใหญ่อย่าง กวาง กระต่าย กระรอก แห่กันมากินส่วนที่จะใช้แพร่พันธุ์ และเมื่อโดนกินมากๆ เข้า สปอร์ไม่ทันได้บินออกไป หายนะจะเกิดขึ้น
นั่นคือ “การสูญพันธุ์”
แต่เมื่อ อะมานิตา ไม่ยอม amatoxin จึงเกิดขึ้น ...
เห็ดนางฟ้ามหาประลัย(Destroying Angel)
amatoxin ของเห็ดตระกูลนี้ ถูกสร้างมาเพื่อชะลอไม่ให้ fruiting body ถูกเด็ดกิน ก่อนลูกหลานจะแพร่ออกไป
1
สำหรับสัตว์ที่ปรับตัวได้ ก็ไม่มีปัญหาครับ กินต่อไป(แต่น้อยลง) แต่กับสัตว์ที่ปรับตัวไม่ได้ นั่นคือฝันร้ายที่สยองขวัญที่สุด
1
ทันทีที่ amatoxin เคลื่อนที่ผ่านกระเพาะ ผ่านลำไส้ เข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งอะไรก็ตามที่เข้าสู่กระแสเลือดผ่านลำไส้ ล้วนต้องผ่านตับ ซึ่งเป็นโรงบำบัดสารพิษของร่างกาย
2
เมื่อ amatoxin เข้าชนกับเซลล์ตับ สิ่งแรกที่มันจะทำคือปิดระบบการสร้าง DNA
3
การปิดระบบนี้ เปรียบเสมือนการไล่พนักงานครับ เมื่อไม่มีพนักงาน เครื่องบำบัดสารพิษก็ทำงานไม่ได้ และ เมื่อเครื่องบำบัดทำงานไม่ได้ สารพิษก็ทะลักกระจายออกไปทั่วเมือง
2
และเมืองต่อไปที่จะโดนก็คือ “ไต”
amatoxin ที่หลั่งไหลมาตามกระแสเลือด ที่สุดแล้วก็ต้องมาเจอกับไต ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจ ของสิ่งที่เรียกว่า “สมดุล”
สมดุลเกลือ สมดุลน้ำ ความเป็นกรดเบสของร่างกาย ถ้าสามอย่างนี้พัง คงเดาไม่ยากครับว่าระบบอื่นก็จะพังไปด้วย และ เจ้าพิษชนิดนี้กำลังทำแบบนั้น
1
เมื่อไตดูดน้ำกลับเข้าร่างกาย พิษที่ค้างอยู่ก็ย้อนกลับไป ที่สุดแล้วมันก็จะวนกลับไปเจอตับ และวนมาเจอไต ตับไต ตับไต จน “วาย” ในที่สุด
1
ผลลัพธ์คือ อาการอ้วก ฉี่เป็นสีโค้ก และเสียชีวิต คงเดาได้ไม่ยากนะครับ ว่าทำไมถึงชื่อ เห็ดนางฟ้ามหาประลัย
และเมื่อเห็ดนางฟ้ามหาประลัย มี amatoxin ไว้ใช้โจมตีสัตว์(รวมถึงเรา) ที่จะมากินส่วนที่จะใช้แพร่พันธุ์ ที่เราเรียกว่า “เห็ด” ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดนั้น มันก็เลยอยู่รอดได้มาจนถึงทุกวันนี้
เห็ดคืออะไร? ทำไมถึงมีพิษ? ทำไมพิษถึงรุนแรงขนาดนี้? ... เราได้คำตอบกันแล้วนะครับ
และทั้งหมดทั้งมวลนี้ ก็คือคำตอบของคำถามเริ่มต้นที่ว่า
“ทำไมเห็ดบางชนิด ถึงมีพิษร้ายแรง”
ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ😁
#WDYMean
#ภาพประกอบจาก pixabay
#อ้างอิงและสรุปจาก
http://hyg.ipm.illinois.edu/pastpest/200410d.html
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Mushroom_poisoning
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Amanita_muscaria
https://www.thenakedscientists.com/articles/interviews/why-are-mushrooms-poisonous
https://www.sciencedirect.com/topics/pharmacology-toxicology-and-pharmaceutical-science/amatoxins
23 บันทึก
74
26
23
23
74
26
23
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย