15 มี.ค. 2021 เวลา 05:57 • ครอบครัว & เด็ก
รีวิวหนังสือ “พ่อแม่จ๋าอย่าโกรธหนู”
แนวคิดใหม่ช่วยพ่อแม่จัดการอารมณ์ในการเลี้ยงลูก
#ครูแหม่มสรุปให้นะ
หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนมีเคล็ดลับต่างๆที่ใช้เลี้ยงลูกอย่างอารมณ์ดีค่ะ รวมถึงตัวอย่างการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ
1 การเลี้ยงลูกคือความดีใจสลับกับความรู้สึกเกลียดตัวเอง ความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นได้ไม่ใช่เพราะว่าเราหรอกนะคะ แต่ลูกมีอารมณ์หลากหลาย ทำให้เรามีทั้งความสุข รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ รวมถึงอาการหงุดหงิด โมโหต่างๆ
2 พัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย
0 ขวบยังเป็นวัยพึ่งพิงคุณพ่อคุณแม่อยู่ค่ะร้องไห้เก่ง กลัวคนแปลกหน้า
1 ขวบวัยหัดเดินชอบอ้อน ชอบให้กอดนะคะ
2 ขวบเริ่มเป็นตัวของตัวเองดื้อรั้น ช่างซักช่างถาม
3 ขวบพูดไม่หยุดทำตามใจตัวเองชอบแย่งของ
4 ถึง 6 ขวบวัยเล่นและเข้าสังคมได้ดี อยากรู้อยากเห็นอยากมีเพื่อน
3 ถ้าแม่รู้สึกอยากตีอยากดุลูก เวลาลูกร้องไห้ไม่หยุดสักที กินข้าวไม่ยอมกลืน แต่เรามาลองคิดดูกันเถอะค่ะว่าปัญหาหรือทางแก้จริงๆ มีแค่ดุกับตีหรือเปล่า เมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นให้ถามตัวเองว่า จำเป็นต้องตีไหม ถ้าตีแล้ว เหตุผลคืออะไรที่ต้องตีลูก
4 เด็กส่วนใหญ่ที่ถูกตีจะมีความรู้สึกเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจเมื่อถูกพ่อแม่ที่เขารักตี มากกว่าการจดจำเหตุผลหรือสาเหตุว่าเพราะอะไรจึงถูกตี ความทรงจำเหล่านั้น อาจจะทำให้เขาจำได้จนอายุมากเลย คุณกำลังสอนลูกด้วยความรัก หรือ กำลังทำให้ลูกรู้สึกหวาดผวากันแน่
5 ในวัยเด็ก หากถูกห้ามตลอดเวลา ทำอันนั้นก็ไม่ได้ทำอันนี้ก็ไม่ได้ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นลูกอาจจะระเบิดอารมณ์ในบ้าน บางครั้งก็ไประบายอารมณ์นอกบ้าน โดยการทำร้ายผู้อื่น เด็กๆอยากให้ผู้คนรู้สึกยอมรับตัวเองจนบางครั้งอาจถูกชักจูงไปในทางที่อันตรายได้
ดังนั้นพ่อแม่ควรรับฟังความรู้สึกของลูก ทำความเข้าใจ มองเข้าไปลึกๆข้างในว่าตอนนี้ลูกกำลังรู้สึกอย่างไรอยู่ บางครั้งให้ลดความเป็นพ่อเป็นแม่ เพื่อมาเป็นเพื่อนที่ดีรับฟังปัญหาต่างๆ
จะดีกว่าไหมคะ ถ้าเมื่อลูกมีปัญหา กล้าที่จะพูดกับพ่อแม่ กล้าที่จะให้คุณพ่อคุณแม่เป็นที่ปรึกษา
6 ถ้าคู่ของเรายังใช้อารมณ์ดุด่าว่าตีลูก เราอาจจะนั่งคุยกัน เรื่องวัยเด็กของเขาดูค่ะ การเลี้ยงดูเป็นยังไงเขารู้สึกอย่างไร ให้เวลาคุยกัน เพื่อให้รับรู้ถึงความทรงจำในวัยเด็กนะคะ บอกความรู้สึกของเราให้ชัดเจนว่าเรา อยากเลี้ยงลูกแบบไม่ตีใช้เหตุผลในการเลี้ยงลูก
7 แม้ครอบครัวเดียวกัน สายเลือดเดียวกัน แต่มักก็มีความชอบ บุคลิกลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน ก็มีบ้างบางเรื่องที่เข้ากันไม่ได้ เป็นธรรมดา
8 ความเป็นแม่คือยอมรับลูกได้ มอบความอบอุ่นความรัก ปรับเข้าหาความรู้สึกของลูก
ความเป็นพ่อ สอนการเข้าสังคม กฎระเบียบความรับผิดชอบ ความชัดเจนของพ่อและแม่ตามบุคลิกและวิถีชีวิต ของแต่ละครอบครัว ไม่มีอะไรเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว ทุกคนในครอบครัวล้วนส่งเสริมกันและกันได้
1
9 หาวิธีสงบอารมณ์ เมื่อเราหงุดหงิดสุดขีดหรือมีความเครียด เช่น สูดลมหายใจลึกๆ นับเลขในใจ หรืออาจฟังเพลงร้องเพลง ลองหาวิธีที่เหมาะสมกับเรานะคะ
10 ใช้คำพูดที่ชัดเจนอธิบายให้ชัดเจนด้วยคำพูด เช่น “อย่าวิ่ง” ให้เปลี่ยนเป็น “เดินไปกันดีกว่า”
“อย่าเดินไปไหน” ให้เปลี่ยนเป็น “นั่งกันดีกว่า”
คำพูดที่ชัดเจนเหล่านี้ ไม่จำกัดเฉพาะในเด็กเล็ก ใช้ได้กลับหลายสถานการณ์ ลองมาปรับคำพูดกันดีกว่าค่ะ
11 เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่ดี อย่าลืมชมนะคะ หากเรามัวแต่ตำหนิสิ่งที่ลูกทำไม่ดี เด็กนั้นก็จะมีพฤติกรรมน่าปวดหัวมากขึ้น
เช่น เด็กช่วยแม่ทำงานบางอย่าง “วันนี้ช่วยแม่ได้เยอะเลย”
ถือเป็นคำชมพฤติกรรมเชิงบวก ทำให้เด็กอยากทำแต่สิ่งที่ดี เพราะลูกอยากให้เรารัก อยากเป็นที่รักของพ่อและแม่
ผู้เขียน Kouso Tokiko
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงดูเด็ก
ผู้แปล กิ่งดาว ไตรยสุนันท์
สำนักพิมพ์ #นานมีบุ๊คส์
1
หนังสือ #พ่อแม่จ๋าอย่าโกรธหนู เขียนไว้ได้ดีมากเลยค่ะ เข้าใจความรู้สึกของพ่อแม่ เข้าใจลูกได้ดีไปพร้อมๆกัน ลองหามาอ่านนะคะ มีเคล็ดลับดีๆในการเลี้ยงลูก และสงบอารมณ์ตัวเองอีกเยอะเลยค่ะ
#NANMEEBOOKS #SEED
คลิ๊กดูหนังสือ สั่งซื้อส่งถึงบ้าน
Line จองคิว/ขอคำปรึกษา
โฆษณา