Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โตมร ศุขปรีชา
•
ติดตาม
15 มี.ค. 2021 เวลา 06:04 • ประวัติศาสตร์
พูดได้ว่า เบนจามิน แฟรงคลิน คือบุรุษผู้เป็นตัวแทนแห่ง ‘ความรู้’
แฟรงคลินคือคนที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวแทนของ ‘ความรู้’ แบบรอบด้านที่เรียกว่า ‘พหูสูตร’ หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Polymath แบบเดียวกับนักคิดและปราชญ์โบราณจำนวนมาก เช่นอริสโตเติล หรือ ลีโอนาร์โด ดาวินชี เป็นต้น
แต่แฟรงคลินไม่ได้เป็นแค่ ‘นักคิด’ ที่รอบรู้เท่านั้น เขายังเป็นคนที่เชื่อในความดีและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หรือการ ‘ให้’ สิ่งที่ดีๆ กับคนอื่นๆ ด้วย ซึ่งถ้าเรียกเป็นภาษาอังกฤษก็ต้องบอกว่าเขาเป็นคนที่เชื่อใน Altruism คนหนึ่ง
แฟรงคลินนั้นมองโลกในแง่บวกมากเสียจนเคยเล่าถึง ‘หลักการ’ อย่างหนึ่งที่เขาสังเกตพบ – ว่าในมนุษย์เรานั้น ถ้ามีใครคนหนึ่งเป็นคนที่เป็น ‘ผู้ให้’ กับคนอื่นแล้ว ก็มีแนวโน้มอย่างมากที่คนคนนั้นจะเป็น ‘ผู้ให้’ ต่อไปอีก แม้ว่าเขาจะ ‘ได้รับ’ ตอบแทนกลับจากการให้นั้นน้อยกว่าการให้ของตัวเองก็ตามที
เขาเขียนว่า – He that has once done you a kindness will be more ready to do you another, than he whom you yourself have obliged.
โดยแฟรงคลินเล่าถึงนักกฎหมายคนหนึ่ง ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นคู่แข่งหรือเป็นปรปักษ์กับเขา แต่แฟรงคลินได้ยินว่า คู่แข่งคนนี้มีหนังสือที่หายากมากแต่น่าสนใจอย่างมากอยู่เล่มหนึ่ง เขาจึงเขียนจดหมายน้อยไปหา แล้วแสดงความปรารถนาอยากขอยืมหนังสือเล่มนี้สักสองสามวัน ปรากฏว่าปรปักษ์คนนี้ส่งหนังสือมาให้เขาโดยเร็ว แล้วเขาก็อ่านหนังสือ พร้อมกับส่งคืนกลับไปในไม่กี่วัน
เมื่อทั้งคู่พบกันอีกครั้ง แฟรงคลินเล่าว่าอีกฝ่ายเข้ามาทักทายเขาในแบบที่ไม่เคยทักทายมาก่อน และบอกเขาว่า ถ้าแฟรงคลินอยากให้ช่วยเหลืออะไรอีก เขาก็ยินดีจะช่วย นั่นทำให้ทั้งคู่เปลี่ยนจากคู่แข่งที่มีความเป็นปรปักษ์กัน กลายมาเป็นเพื่อนจนกระทั่งวันตาย
ลักษณะแบบนี้ นักจิตวิทยาเรียกว่า Benjamin Franklin Effect หรือ ‘ผล’ แบบเบนจามิน แฟรงคลิน ซึ่งก็มีการทดลองทางจิตวิทยาต่อเนื่องมา โดยมีคำอธิบายอย่างหนึ่งบอกว่า เกิดขึ้นจากการรับรู้ที่ไม่สอดคล้องกัน (หรือ Cognitive Dissonance) คือความคิด ทัศนคิต และการกระทำ ไม่สอดคล้องกัน ในกรณีนี้ของ Franklin Effect ความไม่สอดคล้องกันก็คือ ‘ทัศนคติ’ ในแง่ลบ ที่มีต่อคนอีกคนหนึ่ง กับ ‘ความรู้’ ที่เขามอบให้คนคนนั้น
ซึ่งถ้านึกถึงมนุษย์โดยทั่วไปแล้ว เราอาจคิดว่า เราไม่ควรจะมอบ ‘ความรู้’ อะไรให้กับ ‘ศัตรู’ ของเรา แต่แฟรงคลินบอกว่า การทำแบบนี้ ในที่สุดจะทำให้ศัตรูเปลี่ยนกลับมาเป็นมิตร ซึ่งลักษณะแบบนี้นี่แหละครับ ที่เรียกได้ว่าเป็น Altruism หรือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ขั้นสูงสุด ซึ่งก็เหมือนกับที่พระเยซูบอกให้เรารักศัตรูของเรานั่นเอง
อ่านเรื่องราวของ Benjamin Franklin Effect ที่ส่งผลมาถึงเรื่องพื้นที่สาธารณะและความรู้ได้ที่นี่
https://tomorn.co/2019/02/22/franklin/
เยี่ยมชม
tomorn.co
Benjamin Franklin Effect: เหตุผลที่สังคมไทยต้องการพื้นที่แห่งความรู้มากกว่านี้
Benjamin Franklin Effect เกี่ยวอะไรกับเหตุผลที่สังคมไทยต้องการพื้นที่แห่งความรู้มากกว่านี้…
8 บันทึก
6
6
8
6
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย