15 มี.ค. 2021 เวลา 12:59 • ศิลปะ & ออกแบบ
กว่าจะเป็นเรา blue bangkok
ตราสัญลักษณ์ หรือ Logo / trade mark สุดแล้วแต่ที่จะเรียก ในความคุ้นเคยของภาษาชาวบ้าน ยี่ห้อ นั้นมีประวัติและศาสตร์ที่มีหลักการและเหตุผลพร้อมประวัติที่ยาวนาน ตั้งแต่ตราประจำตำแหน่งที่ใช้ในการสู้รบเพื่อแบ่งฝ่าย สังกัดหรือแสดงถึงนัยยะ บ่งบอกผ่านภาษาเส้น สี อักษร เรียกรวมว่า เรขศิลป์(Graphic) แม้ว่าจะเป็นศาสตร์ย่อยของ ทัศนศิลป์(Visual Art) อีกทีหนึ่ง ซึ่งหลักการพื้นฐานแรกสุดหากเป็นผู้สนใจเรียนด้านศิลปะ การออกแบบหรือสถาปัตยกรรม องค์กระกอบ(Composition) เบื้องต้นที่ต้องรู้ ได้แก่ จุด(หน่วยที่เล็กที่สุดของทัศนะธาตุ หรือ elementation) เส้น(เกิดจากจุดหลายจุดเรียงร้อยรวมกัน มีทั้งตรง โค้ง อิสระ สื่อถึงอารมณ์ หยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่) ระนาบ(ทั้ง 2และ3มิติ เกิดจากเส้นปิด ต่อกัน ได้มิติกว้าง ยาว หรือ ก้าง ยาว สูง(ลึก) รูปร่าง(ระนาบที่มีความหมาย มีค่าแทนสิ่งนั้นๆทั้งรูปธรรมและนามธรรม) รูปทรง(3มิติ มีมวลกับปริมาตร มีเงาไล่นำ้หนักเกิดระยะ)
จากการค้นคว้า และเดินสำรวจตึก อาคาร ทำให้ผู้เขียนสนใจที่มาและร่องรอยของรูปแบบ ในด้านอื่นนอกเหนือความงามของเส้นสายทางสถาปัตยกรรม หรือคราบแห่งกาลเวลาจากยุคสมัย จึงค้นคว้าอิสระหลังเรียนจบปริญญาโท ละแวกวังท่าพระ และชักชวนคนรู้จักกับคนรู้ใจมาร่วมสร้างสรรค์งานด้วยกัน
ในอดีต พบว่าส่วนมาก ค่าน้ำหนักสีน้ำเงินจะเป็นที่นิยมใช้กันในการเขียนแบบ แม้ว่าคนไทยจะรับเข้ามา แต่ชื่อสีในยุคนั้นยังมีจำกัด นิยามต่างๆจึงเป็นไปตามความเข้าใจของคนพื้นที่และยุคสมัย คนไทยนิยมเรียก พิมพ์เขียว หรือสีอื่นๆในตระกูลนี้ว่า เขียว เช่น สีขาบ ที่ออกน้ำเงินปนเขียว บางทีม่วงแกมแดง เพราะวัสดุในการผลิตสีมีการเจือปน ซึ่วแต่เดิมสีตระกูลน้ำเงิน มาจากแร่ธาตุต่างประเทศที่หาได้ค่อนข้างยาก เช่น ฮิตไทต์ มาลาไคต์ ที่มีสินแร่อื่นเจือปนบ้าง หรือในตระกูลม่วงที่โรมันในอดีตสงวนไว้กับกษัตริย์ ที่ทำจากเปลือกหอยหลายพันตัวเพื่อผงสีเพียงไม่กี่กรัม
ตัวอย่างของพิมพ์เขียว(blue print) พระที่นั่งอนันตสมาคม จากหนังสือที่ผู้เขียนทำการค้นคว้า และรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นแบบภาพร่าง งานชั้น master แต่ด้วยความรู้น้อย ไม่ทราบเช่นกันว่า เหตุใดกระดาษสีน้ำเงิน เขียนเส้นขาว ต่างจาก การเขียนด้วยเส้นน้ำเงินลงกระดาษพื้นขาวมีข้อต่างกันเพราะอะไร แต่เพียงสันนิษฐานส่วนตัวว่า ในขั้นตอนการทำงานร่างแบบ การใช้กระดาษไขโปร่งแสงลอกลาย กับกระดาษลอกลาย(coppy) อาจมีผลต่อเรื่องสี มิติสีทึบจะลอกง่าย กับการ draft แบบนั้นมีการแก้ไขหรือต้องทำรายละเอียดจำนวนหลายชุด การใช้พื้นสีน้ำเงินหรือฟ้าอาจช่วยให้เห็นรายละเอียดการลอกแบบ หรือเป็นกระดาษต้นแบบเพื่อทำซ้ำได้ง่าย ส่วนกระดาษขาวหรือโปร่งแสงเส้นน้ำเงินหรือดำ ช่วยให้วางซ้อนทึบกันเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ดี
อาคารทรงคุณค่า ที่ผู้เขียนสนใจ และเดินชมหรือคุ้นชิน นอกจากลายเส้นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมแล้ว รายละเอียดที่เด่นชัด คงจะเป็น หน้าต่าง ที่แม้ตึกยุคแรกที่เน้นความเรียบง่าย จนกระทั่งตึกยุคหลังที่เน้นความหรูหราในการตกแต่ง หรือยุคลดทอน หน้าต่างก็ยังคงอยู่ เพราะการใช้งาน แสงและลม คือสิ่งสำคัญ ดังนั้นไม่ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปเพียงใด หน้าต่าง ยังคงมีอยู่ ส่วนประตู มีความสำคัญอาจมากกว่าในเรื่องมิติและการใช้งานเชิงสัมพันธ์ หรือคำเปรียบดัง ประตูทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่าน หลุดพ้น จากสถานะเดิมสู่สิ่งใหม่ แต่ผู้เขียนคิดว่า ความละมุนของ หน้าต่าง เป็นเพียงช่องขนาดเล็ก เราทำได้เพียงมองผ่าน แม้บางทีเราแอบปีนหนีได้ แต่ส่วนมากเราชอบที่จะมอง ดูการไหลผ่านทั้งลม แสง หรือความรู้สึก เราไม่สามารถก้าวผ่านเปลี่ยนสถานะแบบประตู เป็นเพียงผู้คอยเฝ้าดู และรับรู้ร่วมกัน ทั้งเปิดกว้างเพื่อรับ หรือปรับจากช่องกั้นบานเกร็ด ให้แง้มไว้เพียงชำเลืองแล...หน้าต่างของดวงใจ ยังเปรียบไว้กับ ดวงตา
ทุกอย่างที่เขียนบรรยายมา จึงขมวดปม เป็นตราสัญลักษณ์หน้าต่างธรรมดา ที่ด้านบนโค้งครึ่งวงกลมรับกับรูปแบบของอาคารยุคเก่า มีบานเกร็ดให้ลมและแสงลอด แต่ไม่เปียกฝน ลดทอนจะเป็นเส้นตรงเรียบง่าย แบ่งไว้ทั้งด้านซ้ายและขวา ด้านล่างเป็นคำภาษาสากลธรรมดาที่บ่องบอกชื่อ ชื่อที่มีสีอันเป็นที่มา ที่มีเรื่องเล่ามากมายยิ่งกว่านิยามของสีหรือวัสดุ เช่น ขาบ คราม indigo, cobalt-blue, ultramarine และสถานที่เริ่มต้นของอาคารยุคสยามภิวัฒน์ที่อิงการเมือง การปกครอง วิถีชีวิต จนกระจายออกไปตามสถานที่ทั่วประเทศ ร่วมยุคสมัยกับเพื่อนบ้าน หรือข้ามฝากไปอีกซีกโลกคนละวัฒนธรรม
อยากให้คุณจำได้ และลองออกไปเดินดูด้วยกัน
ติดตามเราได้ที่
โฆษณา