16 มี.ค. 2021 เวลา 01:35 • ประวัติศาสตร์
KAMIKAZA กองกำลังจู่โจมพิเศษแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น
1
ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ซึ่งเกือบทั่วทั้งโลกต่างลุกเป็นไฟจาก
สงครามที่เกิดขึ้นในหลายๆพื้นที่ ตัดมาทางฝั่งทวีปเอเชียซึ่งการต่อสู้ระหว่าง
ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝังอักษะที่เกิดขึ้นอย่างดุเดือนทั้งสองฝ่ายต่างสูญเสีย
เป็นอย่างมาก....
จนเกิดเป็นเรื่องราวมากมายและมีเรื่องเล่าที่กลายเป็นที่รู้จักอย่างมากในหมู่ทหารฝั่งสัมพันธมิตรและหนึ่งในเรื่องนั้นคือเรื่องของเหล่าฝูงบินจูโจ่มของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ต่อสู้ไม่ยอมถอยด้วยความรักชาติแลเพื่อจักรวรรดิพวกเค้านั้นยอมพลีชีพตนเองด้วยการขับเครื่องบินของตนพุ่งชนเข้าใส่เรือรบของฝั่งสัมพันธมิตรจนสร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก หน่วยนี้เป็นที่รู้จักกันในนามว่า ฝูงบินรบคะมิกะเซะ ''KAMIKAZE''
1
ภายถ่ายของเหล่านักบินในหน่วยจู่โจมพิเศษคะมิกะเซะ
ที่มาของชื่อ''คะมิกะเซะ'' KAMIKAZE
คำว่า คะมิกะเซะ มาจากคำสองคำต่อกัน คือ kami หมายถึง พระเจ้า (god) และ kaze หมายถึง ลม (wind) รวมกันมีความหมายว่า ลมแห่งสวรรค์ หรือ divine wind ในภาษาอังกฤษ และยังหมายถึง ชื่อพายุไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 1824 พายุลูกนี้ทำให้กองทัพเรือของจีนจำนวน 4,500 ลำ ในสมัยของจักรพรรดิจีน กุบไลข่าน
ที่จะเข้าโจมตียึดญี่ปุ่น ถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง ชาวญี่ปุ่นเป็นหนี้บุญคุณพายุไต้ฝุ่นลูกนี้เป็นอย่างมากจึงได้ตั้งชื่อว่า "คะมิกะเซะ" แปลว่า "พายุเทพเจ้า" และเป็นที่มาของชื่อกองบิน "คะมิกะเซะ" ในกองทัพอากาศญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งทื่ 2
1
ประวัติของหน่วยจู่โจม คะมิกะเซะ
นาวาโท อะไซกิ ทาไม อาจารย์ผู้สอน การบินทหารเรือ ได้สอบถามนักเรียนการบิน 23 คนในกลุ่มว่ามีใครสนใจจะเข้าร่วม ในกองกำลังโจมตีพิเศษ (Special Attack Force) โดยนักเรียนทั้งหมดตกลงที่จะเข้าร่วมการ ปฏิบัติการครั้งนี้ รวมทั้งต่อมา
ยูคิโอะ เซกิ ก็เข้าร่วมเป็นคนที่ 24 หน่วยโจมตีพิเศษคะมิกะเซะนี้ มี 4 หน่วยย่อย คือหน่วยชิคิชิมา (Shikishima), หน่วยยามาโตะ (Yamato), หน่วยอาซาฮิ (Asahi) และ หน่วยยามาซาคูรา (Yamazakura)ชื่อของ หน่วยย่อยเหล่านี้ นำมาจากบทกวีเกี่ยวกับความรักชาติ ซึ่งประพันธ์ โดยนักปราชญ์ยุคคลาสสิก ของญี่ปุ่น ชื่อ โมโตริ โนรินากะ
4
ซึ่งสมาชิกของหน่วยนี้ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยนักเรียนที่เพิ่งจบมาจากการบินมีอายุอยู่ราวๆ17-21ปี โดยส่วนใหญ่จะสมัครใจเข้ามาร่วมกับหน่วยนี้ด้วยความที่มีจิตใจที่รักชาติแลยอมพลีชีพเพื่อประเทศได้ ซึ่งส่วนมากจะไม่มีชีวิตรอดกลับมาจากการไปทำภารกิจเข้าโจมตีแต่หากนักบินคนไหนที่ยังสามารถรอดได้นานก็จะได้ถูกเลื่อนมาเป็นเหล่าครูฝึกให้กับนักเรียนรุ่นใหม่ๆ แต่มีแค่ส่วนน้อยจริงๆ
ภาพถ่ายวันที่ 26 พฤษภาคม 1945 ยูคิโอะ อาราคิ (อุ้มลูกสุนัข) ถ่ายรูปกับเพื่อนร่วมฝูงบินก่อนภารกิจพลีชีพเรือสัญชาติอเมริกัน เสียชีวิตด้วยวัย 17 ปี
หลักฐานเกี่ยวกับการโจมตีครั้งแรกของคะมิกะเซะที่เชื่อถือได้จากรายงานโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งเป็นที่ยอมรับของหลาย ๆ ฝ่าย คือ การโจมตีเรือลาดตระเวนหนัก ของออสเตรเลีย ชื่อ HMAS Australia เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ถูกเครื่องบินญี่ปุ่น บรรทุกระเบิดหนัก 200 กิโลกรัม (หรือ 441 ปอนด์) พุ่งเข้าชนกลางทะเล นอกเกาะเลเต (Leyte) เครื่องบินลำนี้ปะทะเข้ากับ ส่วนโครงสร้างเหนือดาดฟ้าใหญ่ของเรือ เหนือสะพานเดินเรือ เกิดการระเบิด น้ำมันลุกไหม้และซากปรักหักพังกระจัดกระจาย เป็นวงกว้าง แต่ระเบิดหนัก 200 กิโลกรัมที่ติดมากับเครื่องบิน ไม่เกิดการระเบิด มีคนเสียชีวิตบนเรืออย่างน้อย 30 นาย แต่การโจมตีครั้งนี้ไม่ได้มาจากเครื่องบินคะมิกะเซะของหน่วยโจมตีพิเศษ ภายใต้การนำของ นาวาโท ทาไม แต่เป็นการปฏิบัติการของนักบินญี่ปุ่นไม่ทราบนาม
1
อาวุธที่ใช้เข้าโจมตี
เครื่องบินที่เหล่าหน่วยจู่โจมพิเศษใช้จะเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดที่มีน้ำหนักเบาละมีความคล่องตัวที่สูงเพื่อให้สามารถเข้าไปถึงเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วขีปนาวุธนำร่องได้รับการพัฒนาขึ้นสำหรับการใช้งานคามิกาเซ่ซึ่งได้รับสมญานามว่า "บากะ" โดยพันธมิตรจากคำภาษาญี่ปุ่นว่าคนโง่ นักบินไม่มีทางที่จะออกไปได้ทันทีที่ขีปนาวุธถูกยึดเข้ากับเครื่องบินโดยปกติแล้วจะตกจากระดับความสูงมากกว่า 25,000 ฟุต (7,500 เมตร) และห่างจากเป้าหมายมากกว่า 50 ไมล์ (80 กม.) ขีปนาวุธจะเหินไปประมาณ 3 ไมล์ (5 กม.) จากเป้าหมายก่อนที่นักบินจะเปิดเครื่องยนต์ โดยเร่งไปมากกว่า 600 ไมล์ต่อชั่วโมง (960 กม. ต่อชั่วโมง) ในการโจมตี ประจุระเบิดมีน้ำหนักมากกว่าหนึ่งตัน
1
ภาพถ่ายนักบินกามิกาเซ่ชาวญี่ปุ่นนำเครื่องบินของเขาไปพุ่งใส่ที่เรือรบสหรัฐฯในอ่าวลิงกาเยนนอกชายฝั่งฟิลิปปินส์เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2488
การโจมตีเช่นทำให้สามารถจมเรือบรบของฝั้งสหรัฐลงไปได้ถึง34ลำแลสร้างความเสียหายให้กับเรือรบเป็นอย่างมาก โดยการโจมตีของพวกเค้าจะทำการบินไต่ระดับขึ้นไปในจุดที่สูงที่สุดจากก็พุ่งลงมายังเรือรบของศัตรูด้วยความเร็วและสาดกระสุดปืนจากเครื่องบินก่อนพุ่งเข้าชนจนเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง....โดยส่วนมากพวกเค้าจะพุ่งเป้าไปที่เรือบบรรทุกเครื่องบินหรือเรือธงของฝ่ายตรงข้าม
2
ในช่วงสงคราม ที่โอกินาวาพวกเขาได้รับความสูญเสียมากที่สุดเท่าที่กองทัพเรือสหรัฐฯเคยประสบมาในการรบครั้งเดียวโดยคร่าชีวิตทหารไปเกือบ 5,000 คน โดยปกติแล้วการวางแผนป้องกันที่ได้ผลมากคือการนำเรือพิฆาตแลเรื่ออืนๆอยู่ล้อม
รอบเรือธงหลักและให้ปืนต่อต้านอากาศยานระดมยิงใส่ฝูงบินคะมิกะเซะที่พุ่งเข้ามาโจมตี วิธีอาจไม่ได้สามารถจัดการได้ทั้งหมดแต่ก็สามารถลดการสูญเสียลงได้บาง
ลองนึกภาพคุณเป็นเหล่านักบินคะมิกะเซะที่ต้องขับเครื่องบินเข้าไปโจมตีท่ามกลางเรือของศัตรูที่ระดมยิงกระสุนเข้าใส่ไม่ยั้ง โอกาศที่จะรอดนั้นแทบจะไม่มีเลยแต่พวกเค้าก็ยังคงมุงมั่นและพุ่งเข้าใส่แม้ว่าตัวเองอาจจะต้องสิ้นชีพก็ตาม
1
ภาพถ่ายมุมมองความเสียหายที่ดาดฟ้าของ USS Bunker Hill หลังจากการโจมตีของนักบินคามิกาเซ่ชาวญี่ปุ่นสองคนในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2488
ธรรมเนียก่อนที่จะออกบิน
ก่อนที่นักบินคะมิกะเซะจะออกปฏิบัติการ มีธรรมเนียมปฏิบัติที่ทางหน่วยจะจัดขึ้นเป็นพิธีพิเศษ ให้แก่นักบินเหล่านี้ มีการสวดมนต์ให้พรนักบิน และญาติมิตรของนักบินที่มาร่วมในงาน เหล่านักบินจะได้รับเครื่องยศทางทหาร
(military decoration) ซึ่งมีผลต่อขวัญและกำลังใจของนักบินที่จะออกไปปฏิบัติการ และทำให้เกิดภาพพจน์และแรงจูงใจที่ดีต่ออาสาสมัครที่ต้องการจะมาเป็นนักบินคะมิกะเซะรุ่นต่อ ๆ ไป
สาวมัธยมญี่ปุ่นโบกมืออำลานักบินกามิกาเซ่จากไป ภาพถ่ายโดย Hayakawa จาก Wikimedia Commons
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง จากการรายงานของประเทศญี่ปุ่นนักบินทหารเรือ ของราชนาวีญี่ปุ่นสังเวยชีวิตไปในภารกิจพลีชีพนี้ ถึง 2,525 นายและนักบินพลีชีพคะมิกะเซะ ในส่วนของกองทัพบกญี่ปุ่นเสียชีวิต 1,387 นาย ตามสถิติที่ทางฝ่ายญี่ปุ่นได้บันทึกไว้ เหล่านักบินที่ห้าวหาญนี้จมเรือรบของฝ่ายสัมพันธมิตรไป 81 ลำ และทำความเสียหายให้เรือรบอีก 195 ลำ คะมิกะเซะได้สร้างความสูญเสียให้แก่กองทัพเรือ สหรัฐ ฯ ในการรบทางทะเลฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ จากสาเหตุความสูญเสียทั้งหมด
แต่จากข้อมูลของฝ่ายสัมพันธมิตร มีเรือรบฝ่ายสัมพันธมิตรจมลงจากการโจมตีของคะมิกะเซะ เพียง 34 ลำ และอีก 288 ลำได้รับความเสียหาย
แลนี้คือเรื่องราวของเหล่านักบินหน่วยจู่โจมพิเศษKAMIKAZA ''คะมิกะเซะ'' ความรักชาติบ้านเกิดเมืองนอน ความเสียสละพลีชีต เกรียรติยศอันอันสูงส่งที่พวกเค้านั้นเหล่าต่างทุ่มเทอุทิศชีวอตให้กับมัน แม้ว่าเวลาจะผ่านไปหลายสิบปีแล้วแต่เรื่องเรื่องราวพวกเค้ายังคงเป็นเล่าต่อกันมาให้แก่คนทั้งโลกได้รับฟัง แอดของเคารพและนับถือหัวใจอันเสียสละของพวกเค้าเหล่านี้ครับ
โฆษณา