Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
10 AM story
•
ติดตาม
16 มี.ค. 2021 เวลา 03:00
16.Mar.21 : กลับด้านสมอง ลองคิดแบบเซียนหมากรุก
หนึ่งในซีรีย์ Netflix ที่มาแรงในช่วงต้นปีนี้คือเรื่อง Queen’s gambit
.
ซีรีย์เรื่องนี้เล่าเรื่องราวการต่อสู้ของหญิงสาวกำพร้าผู้หนึ่งนามว่า เอลิซาเบธ ฮาร์มอน (Elizabeth Harmon) ผู้มีพรสวรรค์ในการเล่นหมากรุก และมีฝีมือระดับชั้นเซียน แต่ดันโชคร้ายไปเกิดที่อเมริกาในยุค 60 -70s ซึ่งในช่วงเวลานั้นผู้หญิงส่วนใหญ่จะต้องร้องรำทำเพลง หัดทำงานบ้าน เย็บปักถักร้อย (ไม่ต่างจากประเทศแถวนี้เท่าไหร่) ในวงการหมากรุกจึงยังไม่ให้การยอมรับนักหมากรุกหญิงมากเท่าไหร่
.
ซึ่งนอกจากการเชือดเฉือนกันบนกระดานหมากรุกแล้วสิ่งที่ทำให้ซีรีย์เรื่องนี้น่าติดตามก็คือ ประเด็นทางสังคมที่เผยให้เห็นความตึงเครียดในช่วงสงครามเย็น ที่สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตพยายามเอาชนะกันตลอดเวลา
สิ่งหนึ่งที่มีเสน่ห์และทำให้ผมรู้สึกประทับใจในเรื่องก็คือ การเฉือนคมทางสติปัญญากันระหว่างเซียนหมากรุก
.
ดูแล้วก็เกิดสงสัยว่าพวกเซียนหมากรุกเขาวางแผนกันอย่างไร? เขาสามารถมองล่วงหน้าไป10 - 20 ตาเดินได้อย่างไร?
ขอขอบคุณภาพในซีรีย์ Queen's Gambit จาก https://www.insider.com/interesting-things-about-the-queens-gambit-fun-facts
.
ความสงสัยนี้พาผมมาพบกับคลิปๆ หนึ่งใน TED ชื่อ Working backward to solve problems บรรยายโดย Maurice Ashley เซียนหมากรุกชาวอเมริกัน
.
Maurice อธิบายว่า เกมหมากรุกนั้น เมื่อผ่านไปแค่ 4 ตาเดิน จะมีรูปแบบการเล่นที่เป็นไปได้มากถึง 3.18 แสนล้านแบบ ซึ่งสมองของมนุษย์คงไม่สามารถประมวลผลรูปแบบทั้งหมดได้ในเวลาอันสั้น
เหล่าเซียนหมากรุกจึงมีวิธีคิดเพื่อชัยชนะที่แตกต่างกันมากมายเช่น
1. Chunking : การมองตัวหมากเป็นกลุ่มก้อน
2. Pattern recognition : การจดจำรูปแบบของหมาก
3. Stepping-stone method : การจับตำแหน่งไว้ในความคิด และเดินจากจุดนั้นเพื่อคาดเดาตำแหน่งถัดไป
และ 4.Retrogade analysis : วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างนิยมมาก โดยจะเป็นการวิเคราะห์ย้อนหลังแทนที่จะมองไปข้างหน้า
.
คือมันเป็นอย่างนี้ครับ ในเกมหมากรุกนั้นตอนแรกๆ รูปแบบของหมากจะดูค่อนข้างซับซ้อนแบบนี้
ขอขอบคุณภาพการแข่งหมากรุกระหว่าง Kasparov และ karpov จาก https://www.chessgames.com/perl/chessgame?gid=1067183
แต่เมื่อเกมดำเนินไปเรื่อยๆ รูปแบบของหมากก็จะดูง่ายขึ้นเรื่อยๆ จนอยู่ในรูปแบบที่เรียบง่ายแบบนี้
ขอขอบคุณภาพการแข่งหมากรุกระหว่าง Kasparov และ karpov จาก https://www.chessgames.com/perl/chessgame?gid=1067183
ซึ่งในการเล่นหมากรุกระดับเซียนนั้น เราจะไม่เห็นการรุกฆาตแบบง่ายๆ เพราะ เซียนหมากรุกรู้หมดแล้ว
สิ่งที่เห็นท้ายเกมจึงเป็นรูปแบบที่เรียบง่ายมาก มีหมากแค่ไม่กี่ตัว
และเซียนหมากรุกก็ชอบที่จะศึกษาสิ่งเหล่านี้
.
ดังนั้นในตอนที่เริ่มเล่นหมากรุก เซียนหมากรุกจะมีภาพอยู่ในหัวอยู่แล้วว่าต้องการให้ตอนจบของเกมมีรูปแบบเป็นลักษณะไหน เหลือหมากอะไรบ้าง แล้วเมื่อเริ่มเดิน เขาก็จะบังคับให้รูปแบบหมากที่ดูซับซ้อนกลายเป็นอะไรที่ดูง่ายตามภาพในหัวที่เขาคิดไว้ตั้งแต่ต้น
.
ด้วยวิธีนี้เมื่อคุณถูกรุกฆาต เซียนหมากรุกรู้ตั้งแต่ 10 ตาก่อนหน้านี้แล้วเพราะเขารู้ว่าเกมกำลังจะดำเนินไปในทิศทางไหน
วิธีคิดแบบนี้ต่างการการคิดโดยปกติของเรามากนะครับเพราะโดยปกติสมองของเราจะทำงานไปข้างหน้าอย่างมีตรรกะ มันจึงไม่สนใจสิ่งที่ขัดกับระบบตรรกะ
.
ถ้าไม่เชื่อลองอ่านข้อความนี้
After reading this sentence, you will realize that the the brain doesn’t recognize a second ‘the’.
เห็นไหมครับ ประโยคนี้ถ้าเราอ่านกลับหลังคุณก็จะพบว่ามันมี the 2 ตัว นี่เป็นเทคนิคชั้นยอดในการตรวจสอบงานเขียนครับ
.
อีกตัวอย่างหนึ่ง
แบคทีเรียชนิดหนึ่งจะแบ่งตัวเพิ่มจาก 1 ตัวเป็น 2 ตัวทุกๆ 24 ชั่วโมง และจะสามารถแบ่งตัวจนเต็มบ่อที่มันอยู่ได้ใน 60 วัน ถามว่าวันไหนที่บ่อจะเต็มไปแล้วครึ่งหนึ่ง?
.
บางคนตอบเร็วๆ 30 วันไงครึ่งหนึ่ง เสียใจด้วยนั่นคือคำตอบที่ผิดครับ
หรือบางคนอาจขอเครื่องคิดเลขมาคำนวณ
แต่เซียนหมากรุกอย่าง Maurice ไม่ต้องทำแบบนั้นหรอกครับ
ถ้าลองมองย้อนหลังดู คุณจะรู้ทันทีว่าคำตอบคือ 59 วัน เพราะถ้ามันจะเต็มบ่อในวันที่ 60 วันที่ 59 มันจะต้องมีอยู่ครึ่งบ่อแล้วถูกไหมครับ (เพราะมันแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 ทุก 24 ชั่วโมง)
.
แล้วการคิดวิเคราะห์แบบย้อนหลังนี้มีประโยชน์อย่างไร?
การวิเคราะห์แบบนี้จริงๆแล้วถูกใช้ในหลายวงการมากครับ ทั้งการวิเคราะห์ด้านการเมือง, ประกันชีวิต, วิทยาศาสตร์,กฎหมาย,ตลาดหุ้น และในกระดานหมากรุก
แต่ Maurice บอกว่าจริงๆแล้วหลักการนี้อาจให้อะไรเรามากกว่านั้น
เคยมีประโยคหนึ่งที่พวกผู้ใหญ่ชอบพูดกันว่า
“วัยเยาว์นั้นถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองโดยคนหนุ่มสาว”
ซึ่งก็ค่อนข้างจริงเพราะในวัยรุ่นเรามักเสียเวลากับเรื่องไม่เป็นเรื่องกันเยอะ
แต่ถ้าคุณมองเห็นช่วงท้ายเกมในชีวิตของคุณ พลังหนุ่มสาวของคุณจะไม่ถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองแน่ๆครับ
.
เรื่องที่ Maurice นำเสนอนั้นน่าคิดมากครับ เพราะโดยปกติในชีวิตประจำวันของคนโดยส่วนใหญ่นั้น มักจะมีเป้าหมายหรือภาพความฝันอย่างคร่าวๆ ไว้ในใจอยู่เสมอ
แต่เพราะมันเป็นภาพที่เลือนลางและเราก็ถูกกระแสของโลกพัดไปทุกวัน จึงทำให้เราไม่เริ่มลงมือทำความฝันนั้นสักที
แต่ถ้าคุณเห็นภาพความฝันของคุณชัดเจน เหมือนที่เซียนหมากรุกเห็นภาพตอนจบเกมตั้งแต่ยังไม่เริ่มเล่น คุณจะรู้ว่าชีวิตของคุณกำลังจะเดินไปในทิศทางไหน
.
คุณจะรู้ว่าในวันที่คุณอายุ 40 คุณจะต้องทำอะไร
คุณจะรู้ว่าในวันที่คุณอายุ 30 คุณจะต้องทำอะไร
คุณจะรู้ว่าในวันที่คุณอายุ 20 คุณจะต้องทำอะไร
ย้อนมาจนรู้ว่า ปีนี้คุณจะต้องทำอะไร
เดือนนี้คุณจะต้องทำอะไร
และวันนี้คุณจะต้องทำอะไร
.
เมื่อรู้อย่างนั้นแล้ว ในทุกตาที่คุณเดิน คุณก็จะสามารถค่อยๆก้าวทีละนิด ไปสู่ภาพความสำเร็จที่คุณต้องการได้ในที่สุด
และเวลาในแต่ละวันของคุณจะไม่ถูกใช้ไปอย่างเปล่าประโยชน์แน่นอนครับ
.
"“ความแก่” เพิ่มขึ้นทุกวัน แต่ “ความฝัน” ใกล้ขึ้นหรือยัง.."
ขุนเขา สินธุเสน เขจรบุตร
.
จุ้ย-ศรีแก้ว
2 บันทึก
3
1
2
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย