16 มี.ค. 2021 เวลา 03:20 • การเมือง
พม่าขยายพื้นที่กฎอัยการศึกในย่างกุ้ง-มัณฑะเลย์ ฆ่าอีก 6 หลังเพิ่งสังหารกว่า 50 เมื่อวันอาทิตย์ ขณะโรงงานจีนหลายสิบแห่งถูกเผา
กองกำลังความมั่นคงพม่ายิงใส่ผู้ประท้วงเสียชีวิตอีก 6 คนในวันจันทร์ ที่ 15 มีนาคม หลังจากวันอาทิตย์ที่14ที่ผ่านมา กลายวันนองเลือดที่สุด หลังการรัฐประหาร โดยประชาชนกว่า 50 คนเสียชีวิต จากการะกระทำดังกล่าว และโรงงานหลายสิบแห่งของจีนในเมืองย่างกุ้งถูกเผา ส่งผลให้คณะปกครองทหารประกาศขยายใช้กฎอัยการศึกในหลายเขตของเมืองใหญ่ ของประเทศ รวมทั้งที่มัณฑะเลย์ และได้มีการ บล็อกอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ โดยในมัณฑะเลย์ และเมืองฮักคาทางตะวันตกการชุมนุมเป็นไปอย่างสงบ แต่ที่เมืองมยินจานและอองลาน ตอนกลางของประเทศที่ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า " ตำรวจยิงใส่ผู้ประท้วง โดยมีเด็กหญิงคนหนึ่งถูกยิงที่ศีรษะ และเด็กชายอีกคนถูกยิงที่ใบหน้า"
สำนักข่าวเมียนมา นาว รายงานว่า มีผู้เสียชีวิต 3 คนในเมืองมยินจาน และอีก 2 คนในเมืองอองลาน ขณะที่นักหนังสือพิมพ์ผู้หนึ่งในมัณฑะเลย์บอกว่า มีผู้ถูกยิงตายไป 1 คนที่นั่น ภายหลังมีการประท้วงใหญ่ซึ่งผ่านพ้นไปอย่างสันติ
เหตุการณ์โจมตีโรงงานของจีนนับสิบแห่งเมื่อวันอาทิตย์ ยังส่งผลให้ปักกิ่งออกมาแสดงความคิดเห็นอย่างแข็งกร้าวที่สุด โดยสถานเอกอัครราชทูตจีนเรียกร้องให้รัฐบาลทหารยุติความรุนแรง และรับประกันความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของจีน หนังสือพิมพ์โกลบัลไทมส์ของจีนระบุว่า โรงงานของจีน 32 แห่งถูกโจมตีและทำให้เกิดความเสียหายคิดเป็นมูลค่าถึง 37 ล้านดอลลาร์ รวมทั้งยังมีคนงานจีน 2 คนได้รับบาดเจ็บ
ด้านญี่ปุ่นที่พยายามคานอิทธิพลของจีนในพม่า กล่าวว่า กำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และพิจารณาวิธีรับมือในแง่การร่วมมือทางเศรษฐกิจ
สมาคมให้ความช่วยเหลือนักโทษการเมือง (เอเอพีพี) สำทับว่า มีผู้เสียชีวิตอีก 16 คนในพื้นที่อื่นๆ รวมแล้วมีผู้เสียชีวิตราว 140 คนนับจากการรัฐประหาร ขณะเดียวกัน สถานีทีวีของทางการรายงานเมื่อวันจันทร์ว่า มีตำรวจ 1 นายเสียชีวิตในเมืองพะโคระหว่างเหตุการณ์การประท้วง
ในตอนแรก ฝ่ายทหารพม่าได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกใน 2 อำเภอของเมืองย่างกุ้งตั้งแต่เมื่อวันอาทิตย์ ภายหลังเกิดเหตุเผาโรงงานของคนจีน ต่อมาในวันจันทร์ ได้มีการขยายพื้นที่ใช้กฎอัยการศึกษาไปในอีกหลายอำเภอของย่างกุ้ง รวมทั้งในหลายพื้นที่ของเมืองมัณฑะเลย์ด้วย การใช้กฎอัยการศึกหมายความว่า ผู้ที่ถูกจับกุมในพื้นที่เหล่านั้นจะถูกดำเนินคดีในศาลทหาร โดยมีโทษตั้งแต่ใช้แรงงานสถานหนัก 3 ปีจนถึงประหารชีวิต
นอกจากนั้น รัฐบาลทหารยังสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ แต่การระงับบริการอินเทอร์เน็ต ก็ทำให้ต้องเลื่อนการพิจารณาคดีของซูจี ซึ่งจัดในรูปแบบเสมือนเดิม จากที่เดิมกำหนดไว้ในวันจันทร์นี้ ไปเป็นวันพุธ ที่ 24 มีนาคมแทน
ขอบคุณข้อมูล และรูปภาพจากเพจ Around the world
โฆษณา