16 มี.ค. 2021 เวลา 06:32 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ฉบับที่ 96 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564
นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ฉบับที่ 96 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ภายใต้แนวคิด "ย่อยโลกข้อมูลข่าวสารวิทยาศาสตร์เพื่อคุณ" พบกับหลากหลายเรื่องราวความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งไทยและต่างประเทศ
📌 เรื่องจากปก:
- นักวิจัย สวทช. สังเคราะห์สารตั้งต้นยา ‘ฟาวิพิราเวียร์’ต้านโรค COVID-19 สำเร็จ
ในช่วงที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ยังไม่มียารักษา ทำให้มีความพยายามนำยาหรือสารออกฤทธิ์ต่างๆ มาทดลองรักษาโรคปอดอักเสบจากไวรัส SARS-CoV-2 กระทั่งพบยาที่มีประสิทธิผลดีในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 ได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) แต่ด้วยภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก ส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนยารักษา ซึ่งน่ายินดีว่าขณะนี้นักวิจัยไทยสามารถสังเคราะห์สารตั้งต้นในการผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ได้เองในประเทศเพื่อใช้รักษาโรคโควิด 19
บทความพิเศษ: (โดย อรพินท์ วิภาสุรมณฑล)
- "มารี กูรี" หนึ่งหญิง ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าโลกวิทยาศาสตร์ ตอนที่ 2
มารีในปารีส (ฝรั่งเศส) การศึกษา ครอบครัว ผลงาน และเกียรติยศ (พ.ศ. 2434-2454)
ร้อยพันวิทยา: (โดย รวิศ ทัศคร)
- ทะยานสู่ดวงดาวด้วยระบบขับดันแห่งอนาคต (ตอนที่ 1)
บทความเมื่อตอนที่แล้วได้กล่าวถึงเครื่องยนต์ขับดันไอออน ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์ขับดันยานสำรวจอวกาศในยุคสมัยใหม่ มีข้อดีเหนือกว่าจรวดขับดันที่ใช้การเผาไหม้เชื้อเพลิงทางเคมีในแง่ของระยะเวลาของพลังขับดันที่ยาวนาน ทำให้ปฏิบัติภารกิจได้นานกว่าและไกลกว่า ไทยเราวางแผนที่จะใช้ระบบเครื่องยนต์ขับดันแบบนี้ในยานสำรวจดวงจันทร์ที่มีแนวโน้มว่าจะพัฒนาขึ้นในอีก 7 ปีข้างหน้า
สภากาแฟ: (โดย ผศ. ดร.ป๋วย อุ่นใจ)
- โควิดในน้ำเสียกับแนวทางการกระจายวัคซีน
เคยเจอสถานการณ์แบบนี้ไหมครับ ? ผมเพิ่งจะเจอมาหมาดๆ เห็นยืนวัดอุณหภูมิอยู่ตั้งนาน วัดไม่ผ่านก็รอวัดใหม่ จะวัดเท่าไรก็ไม่มีใครสนพอสักพัก วัดผ่าน หรือคนน้อยก็ค่อยๆ เนียนเดินเข้าร้านไปทานข้าว ยิ้มแย้มแจ่มใสบางทีนั่งโต๊ะข้างๆ เปิดหน้ากาก กินข้าวกินไปกินมา สำลักน้ำ จามฮัดเช่ยเจอแบบนี้เข้าไป โต๊ะใกล้ๆ ก็เลิ่กลั่กได้เหมือนกัน ! คำถามคือเราเสี่ยงแค่ไหนที่จะไปกินข้าวนอกบ้าน ?
เปิดโลกนิทานดาว: (โดย พงศธร กิจเวช)
- กลุ่มดาวปลาที่มาของเดือนมีนาคม
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ตามตำนานกรีก ยักษ์ไทฟอน (Typhon) ที่น่ากลัวได้ปรากฏตัวขึ้นเพื่อจะแย่งชิงการครอบครองจักรวาลกับเทพเจ้าซูส (Zeus) ราชาแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย แอโฟไดตี (Aphrodite) เทพีแห่งความงาม และลูกชายคือ อีรอส (Eros) กามเทพหรือเทพเจ้าแห่งความรัก เห็นยักษ์ไทฟอนก็หวาดกลัว ทั้งสองจึงแปลงร่างเป็นปลาสองตัวกระโดดลงแม่น้ำหนีไป ปลาทั้งสองตัวได้กลายเป็นกลุ่มดาวปลา (Pisces ออกเสียงว่า ไพซีส, พิซีส หรือ พิสเคส) ที่มาของชื่อเดือนมีนาคม
สาระวิทย์ในศิลป์: (โดย วริศา ใจดี)
- สุขสันต์วันพาย Happy Pi Day
ต้อนรับเดือนมีนาคมด้วยการเตรียมตัวฉลองวันพายซึ่งวันที่ 14 มีนาคมของทุกปีเป็นวันสำคัญตามค่าพาย 3.14 แต่ไม่เพียงแค่นั้น จะด้วยความบังเอิญหรือไม่ก็ตาม วันนี้ยังเป็นวันสำคัญของนักฟิสิกส์ชื่อดังถึงสองท่าน คือเป็นวันเกิดของแอลเบิร์ตไอน์สไตน์ และวันเสียชีวิตของสตีเฟน ฮอว์กิงอีกด้วย
ดาวน์โหลดนิตยสาร “สาระวิทย์” ฉบับที่ 96 ได้ฟรีที่
และดาวน์โหลดฉบับย้อนหลังได้ทางเว็บไซต์
โฆษณา