17 มี.ค. 2021 เวลา 14:28 • หนังสือ
วันนี้ผมจะมารีวิวและสรุปหนังสือที่มีชื่อว่า
‘น่าจะรู้อย่างงี้ตั้งแต่ตอนอายุ 20’
5
หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณ Tina seelig สอนวิชานวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการมหาวิทยาลัย Stanford
บรรยายให้บริษัทยักษ์ใหญ่หลายบริษัท
แปลโดยคุณพรเลิศ อิฐฐ์ และคุณธัญลักษณ์ เศวตศิลา
7
หนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับความคิดและการพลิกปัญหาให้เป็นโอกาส
เป็นการรวมประสบการณ์จากการสอนในชั้นเรียนในมหาวิทยาลัย Stanford
แต่ละบทจะมีแบบฝึกหัดที่ใช้จริงในชั้นเรียน
ทำให้เราเหมือนกับไปเรียนที่นั่น
ซึ่งชั้นเรียนนี้(เนื้อหาหรือแนวคิดภายในหนังสือ) จะมีความเป็นขั้วตรงข้ามกับบทเรียนในห้องเรียนปกติ
ไม่ว่าจะเป็น การบอกว่า อน่ารอให้ใครมาอนุญาตให้ประสบความสำเร็จ แค่นี้ก็เริ่มตรงข้ามแล้วครับ
และยังมีอีกหลายๆอย่างที่น่าสนใจมากครับ
โดยผมสรุปแต่ละบทไว้แล้วครับ
มีทั้งสิ้น 10 บท
มีทั้งส่วนที่เป็นรูปและข้อความเลยครับ
16
ความคิดเห็นส่วนตัว :
ถึงแม้หนังสือจะบอกถึงอายุ 20 แต่ผมว่าเนื้อหาที่อยู่ในเล่ม สามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกช่วงอายุครับ
อีกอย่างคือ ชื่อบทแต่ละบทนี่แปลกดีจริงๆ แต่มันคือ 1 ในเนื้อหาที่อยู่ในบทนั้น ๆ เช่น ชูชิแมลงสาบ
ถึงแม้จะเป็นเล่มที่ไม่หนามาก 190 หน้า
แต่ว่าแต่ละหน้านั้น มีแต่เนื้อ ๆครับ อัดแน่นไปด้วยประสบการณ์ข้อคิดดี ๆ
จากการทำจริงของบริษัทและบุคคลมากมาย
ติด 1 ในเล่มที่ผมชอบมากที่สุดในปีนี้แน่นอนครับ
6
ซื้อ 1 แถม 2 :
ในแบบฝึกหัดนี้คุณ Tina ได้ให้นักศึกษาในชั้นเรียน
ทำอย่างไรก็ได้
ให้เวลา 2 ชั่วโมงทำอย่างไรก็ได้ให้เงิน 5 ดอลลาร์
ทำเงินให้ได้มากที่สุด
แต่ละกลุ่มก็มีวิธีการแก้ปัญหามากมาย
แต่คำใบ้มันอยู่ที่
กลุ่มที่ทำเงินได้มากๆ ไม่ได้ใช้เงิน 5 ดอลล่าร์เลย
พวกเขาใช้ทักษะการสังเกต และให้ความคิดสร้างไหลออกมา
เช่น พวกเขาเห็นปัญหาในเมืองที่คนต่อคิวร้านอาหารนาน
จึงจับคู่กันไปต่อคิวจองโต๊ะให้ และขายคิวละ 20 ดอลลาร์
หรือจะเป็นบริการเติมลมยางฟรีครั้งละ 1 ดอลลาร์
เมื่อทำไปเรื่อยๆ จึงเปลี่ยนเป็นให้เท่าไหร่ก็ได้ เป็นต้น
แต่ละโครงการเมื่อเสร็จสิ้นก็ทำเงินได้ตั้งแต่ 200 300
จนมากสุดคือ 600 ดอลลาร์
6
แบบฝึกหัดนี้เป็นการฝึกให้นักศึกษาคิดแบบผู้ประกอบการ
และการสร้างนวัตกรรมได้ เป็นหนึ่งในวิชาที่คุณ Tina สอน
และได้ข้อคิด คือ
1 โอกาสมีอยู่อย่างล้นเหลือ
ถ้าเรามองไปรอบๆตัวเรา จะพบว่ามีปัญหาให้เข้าไปแก้ไขเสมอ จากตัวอย่างเรื่องทั่วๆไป
คือ การต่อคิวร้านอาหารและการเติมลมยางจักรยาน
10
2 เราสามารถคิดวิธีแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ไขปัญหา ไม่ว่าปัญหานั้นจะใหญ่แค่ไหน
นี่คือคำจำกัดความของคำว่าผู้ประกอบการ ที่คุณ Tina
ได้บอกไว้
3
3 เรามักจะตีกรอบปัญหาแคบไป
จากแบบฝึกหัดนี้ถ้ามัวแต่มองแคบๆ ก็จะแก้ไขปัญหาไม่ได้
แต่ถ้าเราแก้ปัญหาด้วยมุมมองที่กว้างขึ้น
เราจะสามารถแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ได้แบบนักศึกษากลุ่มนี้
6
จากบทแรกนี้ ผมเห็นแล้วรู้สึกอยากไปลงเรียนวิชานี้เลยครับ
2
ละครสัตว์เชิร์ก ดูชัว ใช้วิธีเพิ่มการมาดูของลูกค้า
ด้วยการดูว่าแบบดั้งเดิมและแบบตรงข้ามเป็นอย่างไร
แล้วมานั่งดูกันว่าแบบไหนที่ต้องการให้มันอยู่ต่อไป
3
คิดว่าปัญหาใดก็ตามสามารถแก้ไขได้
พร้อมกับมองว่าโลกนี้เต็มไปด้วยโอกาส
ชูชิหน้าแมลงสาบ :
ชื่อบทนี้จะมาจากกิจกรรมของคุณ Tina เกี่ยวกับการแหกกฎบางข้อเพื่อแก้ปัญหาที่แตกต่างออกไป
โดยแผ่นแรกให้เขียนไอเดียธุรกิจภายใต้หัวข้อที่ดีที่สุด
และอีกแผ่นเขียนภายใต้หัวข้อที่แย่ที่สุด
จากนั้นฉีกแผ่นดีสุดแล้วนำหัวข้อแย่สุด
ของแต่ละกลุ่มไปให้กลุ่มอื่นๆ
โดยให้เปลี่ยนแนวคิดนี้ให้กลายเป็นยอดเยี่ยมที่สุด
จึงเกิดกลุ่มหนึ่งทำ ชูชิหน้าแมลงสาบ
ด้วยการใช้วัตถุดิบที่ไม่เหมือนใคร
และมีคุณภาพ จับกลุ่มกับคนชอบเปิดพิสดาร
2
แบบฝึกหัดดังกล่าวเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการสร้างความหลากหลายในการแก้ปัญหา
ตัวเลือกที่มากมายนี้ชี้ให้เห็นเลยว่า
‘สิ่งเดียวที่จำกัดตัวเราไว้มีแต่พลังงานและจินตนาการของเราเท่านั้น’
8
คนในโลกนี้มี 2 ประเภทนั่นคือ
1 คนที่รอให้คนอื่นอนุญาตก่อนจึงจะลงมือสิ่งที่อยากทำ
2 คนที่อนุญาตให้ตัวเองทำสิ่งที่อยากทำ
คนประเภทที่ 1 จะรอให้ใครมากระตุ้น
แต่ประเภทที่ 2 จะกระตุ้นตนเองใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างออกไป
ฉกฉวยโอกาสด้วยตนเอง
ยกตัวอย่างคุณ Tina
เธอเรียนจบปริญญาเอกด้านประสาทวิทยาศาตร์ แต่ตั้งใจจะไปสมัครงานเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการ
โดยใช้คำว่า 2 อาชีพนี้เหมือนกันตรงที่
เป็นการค้นหาคำถามที่ทุกคนอยากรู้คำตอบ
เก็บและวิเคราะห์ข้อมูล เลือกผลลัพธ์ที่น่าสนใจ
และนำเสนอออกมา
ทำให้เธอได้งานนี้ในที่สุด
9
ชื่อบทนี้คือ โปรดหยิบกระเป๋าสตางค์ของคุณขึ้นมา
แบบฝึกหัดนี้คือ ให้จับคู่ นำกระเป๋าสตางค์ของตนออกมา
แล้วบอกข้อเสียให้อีกคนฟัง
แล้วให้คนนั้นออกแบบทำกระเป๋าที่แก้ปัญหานั้น ๆ ในฐานะลูกค้า แล้วถามว่าจะซื้อหรือไม่
ปรากฏว่าซื้อแทบจะทุกคนเลยครับ
เรื่องนี้บอกกับเราได้ว่า
1 ปัญหามีทุกหนทุกแห่ง ไม่เว้นแต่กระเป๋าของเรา
2 การตีแผ่ปัญหาไม่ใช่เรื่องใช้ความพยายามมาก
3 เห็นผลตอบรับของการแก้ไขปัญหารวดเร็ว
4 ถึงจะผิดพลาดแต่เสียหายไม่มากนัก
แบบฝึกหัดนี้สามารถใช้ได้กับทุกอย่างครับ
ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋า รถ เสื้อผ้า ร้านกาแฟ ฯลฯ
มันจะทำให้ธุรกิจของเรานั้นสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้มากด้วยวิธีที่ง่ายด้วยครับ
ความล้มเหลวอาจจะเป็นยาขมสำหรับใครหลายๆคน
แต่ที่ silicon valley นั้น คือ ซอสปรุงรสที่เป็นสูตรลับเลยครับ
เพราะความล้มเหลวคือธรรมชาติของการสร้างนวัตกรรม
ไม่เอาหรอก วิศวหน่ะ เรื่องของผู้หญิง
ในชื่อบทเป็นแบบนี้ได้เพราะ
เป็นตอนที่คุณ Tina ไปพิพิธภัณฑ์แล้วถามเด็กคนหนึ่งว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร
แต่เขาบอกไม่อยากเป็นวิศวกร
จากเรื่องนี้บอกได้ถึงว่าอิทธิพลจากคนรอบข้างมีผลต่อเรามาก
เพราะแม่ของเด็กคนนี้มีเพื่อนผู้หญิงที่เป็นวิศวกรมาหาแม่บ่อย
จึงทำให้คิดว่า ไม่เอาหรอกวิศวะ มันเป็นเรื่องของผู้หญิง
2
เป้าหมายในแต่ละคนล้วนเปลี่ยนไปตลอด
คุณ Tina มองว่าการที่เรายึดกับสิ่งที่เราวางแผนมากไป
มันจะสร้างข้อจำกัดให้ตนเองได้
สิ่งที่ควรทำมากที่สุด คือ เปิดตาให้กว้าง เพราะเส้นทางในอนาคตจะมีเรื่องไม่คาดฝันมากมาย
ประสบการณ์ที่น่าสนใจที่สุดของเรา
อาจจะมาจากการที่เราไม่ได้ตามเส้นทางก็ได้ครับ
2
บทเรียนเกี่ยวกับอาชีพที่สำคัญที่สุด คือ
เราต้องมองหาบทบาทที่ไม่ให้ความรู้สึกว่าเป็นงาน
เป็นจุดเชื่อมระหว่าง ความรัก ทักษะ
และความต้องการของตลาด
แล้วนอกจากเราจะพบงานในฝันแล้ว
เราจังได้พบสิ่งที่ทำให้เรามีความหมายมากขึ้นด้วยครับ
5
เปลี่ยนน้ำมะนาวให้เป็นเฮลิคอปเตอร์
ชื่อบทนี้มาจาก วันหนึ่งมีคนมาถามคุณ Tina เกี่ยวกับ
การทำน้ำมะนาวในร้านขายของชำ
พอคุยไปได้สักพัก จึงรู้ว่าเขาชื่อ เอดูอาร์โด
พึ่งย้ายมาจากชิลี
ต้องการมาเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการที่ซิลิคอนวัลเลย์
มามองหาเกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อช่วยธุรกิจครอบครัว
เธอจึงแนะนำเขาให้ผู้ประกอบการเท่าที่จะทำได้
เวลาผ่านไป 2-3 เดือน เธอพบกับความประหลาดใจที่
เอดูอาร์โด เชิญเธอไปขึ้นเฮลิคอปเตอร์ของเขา
ซึ่งเรื่องนี้มันเกิดขึ้นจากน้ำมะนาวเท่านั้นครับ
3
ริชาร์ด ไวส์แมน ได้ศึกษาจุดร่วมของคนที่โชคดี คือ
1 ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ
เอาใจใส่ทุกเหตุการณ์ จึงทำให้สร้างคุณค่าให้กับ
แต่ละเหตุการณ์ได้มากกว่าคนอื่น
2 เปิดรับโอกาสและเต็มใจทดลองทำสิ่งต่าง ๆ
ทำทุกสิ่งที่ตนเองไม่คุ้นเคย ทั้งไปสถานที่แปลกใหม่หรืออ่านหนังสือเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่คุ้นเคย
3 ชอบเข้าสังคม
ชอบสบตาและยิ้มให้คน ส่งผลให้พบกับความสัมพันธ์ที่ดีและยาวนานกว่าคนทั่วไป
4 คาดหวังว่าจะมีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้นกับตนเอง
ถึงจะมีสิ่งที่เกิดโดยไม่ตาดฝัน แต่ก็สามารถดึงข้อดีออกมาใช้ได้อย่างดีมากๆ
1
สุดท้ายแล้วการสร้างความโชคดีให้ตนเอง คือ
การพลิกสถานการณ์ที่เลวร้ายให้ดีขึ้นกลับตาลปัตร
หรือดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
โดยเปิดรับประสบการณืที่หลากหลายและผสมมันให้เกิดวิธีที่แปลกใหม่นั่นเองครับ
2
วาดเป้ารอบ ๆ ลูกธนู
นั่นคือ การสร้างทีมให้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล
เปรียบลูกธนูเป็นคนที่มีความสามารถมากที่สุด จากนั้นจึงค่อยเลือกงาน(เป้า)
ผลงานที่เกิดขึ้นจะมีประสิทธิภาพมากกว่า
ได้ทำในสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับความสามารถหรือความสนใจ
3
เคล็ดลับที่จะพาเราข้ามหลุมพราง(ที่คนส่วนใหญ่ตกลง)ไป
1 ฝึกการขอบคุณผู้อื่น
เรื่องนี้แม่ของคุณ Tina สอนมาเลยว่า การที่ใครทำอะไรบางอย่างให้เรา
นั่นก็แปลว่า เขามีบางสิ่งที่อยากทำแต่ไม่ได้ทำตอนนั้น
ดังนั้นเวลาที่มีใครทำอะไรให้เรา เราควรจะขอบคุณครับ
3
2 ทักษะการต่อรอง
กุญแจของการต่อรอง คือ ค้นหาประโยชน์ของทุกฝ่าย
1
3 การช่วยเหลือผู้อื่น
เราจะต้องเต็มใจเมื่อใครก็ตามขอให้เราช่วยเหลือ
ประเด็นคือ คนที่มีน้ำใจและชอบช่วยเหลือผู้อื่น
จะเป็นคนที่ใคร ๆก็อยากช่วยเหลือเป็นการตอบแทนทั้งนั้น
4 การทำสิ่งที่ถูกมากกว่าสิ่งที่ชาญฉลาด
การกระทำของเราจะส่งผลต่อมุมมองของคนอื่นที่มีต่อเราเสมอ
5 จำกดสิ่งที่สำคัญกับตนเองแค่ 3 อย่างพอ
นี่จะออกข้อสอบไหม
การถามเช่นนี้เหมือนกับการจำกัดความสามารถของเรา
มันเท่ากับที่เราทำตามแค่ที่เจ้านายสั่งครับ
คุณ Tina จึงให้เราสร้างเรื่องที่น่าอัศจรรย์
นั่นคือ การตัดสินใจทำให้เกินความความหวังอยู่ตลอดเวลา
โดยเริ่มจากการที่เราทำลายขีดจำกัดทั้งหลาย
และเต็มใจที่จะทำให้ได้ตามศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง
แล้วเราจะพบผลลัพธ์ที่น่าทึ่งครับ
3
สิ่งแปลกปลอมในการทดลอง
ระหว่างที่คุณ Tina เขียนหนังสือเล่มนี้ก็ไปพบกลอนที่เขียนในสมุด
ที่เขียนตอนเรียนมหาวิทยาลัย ที่มีชื่อว่า
สิ่งแปลกปลอมในการทดลอง
บอกว่าความไม่แน่นอน คือ แก่นของชีวิตและต้นตอโอกาส
และมันคือ ไฟที่จุดประกายให้เกิดความสร้างสรรค์และนวัตกรรม
โอกาสอันไม่สิ้นสุดเกิดจากการดึงตัวเองออกจากเขตแดนแห่งความสบายใจ
เต็มใจที่จะล้มเหลว เมินเฉยต่อความเป็นไปไม่ได้ทั้งปวง และฉกฉวยทุกโอกาสที่จะสร้างเรื่องอัศจรรย์
2
เมื่อเราท้าทายสมมติฐานของตัวเอง และเมื่อเราอนุญาตให้ตัวเองมองโลกรอบตัวว่าเต็มไปด้วยโอกาส
และความเป็นไปได้เหลือคณานับ
2
ผมว่าประโยคนี้สรุปหนังสือเล่มนี้ได้ดีเลยครับ
ขอบคุณสำหรับการรับชมครับ
โฆษณา