Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ซิงแซโหลว (ซินแสหลัว)
•
ติดตาม
17 มี.ค. 2021 เวลา 15:27 • ประวัติศาสตร์
ไขความลับที่ซ่อนในเวป ดูดวงจีน ซินแสหลัว
หลายๆบทความในเวปผมนี้นะครับ ท่านอาจจะเห็นว่า ทำไมดูเหมือนเอาหลายศาสตร์วิชามาปะปนกัน มีทั้ง ธรรมะบ้าง โหราศาสตร์ไทยบ้าง จีนบ้าง ล้านนาบ้าง ฯลฯ หรืออื่นๆมากมาย วันนี้จะมาขอเฉลยอะไรให้ฟัง เป็นที่น่าตื่นเต้นกันสักเล็กน้อย
วิชาการพวกนี้ ที่ผมเขียนลงในเวป ซึ่งดูเผินๆบางอันหาใช่โหราศาสตร์จีนไม่ ในเมื่อเขียนว่า เวป ดูดวงจีน ซินแสหลัว ไฉนหนอจึ่งเอาวิชาพวกนี้ลงมาใส่
ก็ขอวิสัชนาดั่งนี้ว่า
ผมคัดเลือกเทียบเคียงให้ท่านแล้ว ว่า ที่เอามาลงนั้น เข้าล๊อค หรือมีความสัมพันธ์กันกับวิชาโหราศาสตร์จีน ที่เรากำลังสนใจใฝ่ศึกษากันอยู่ เช่น ตำราพรหมชาติของไทย
ตำราพรหมชาติของไทย ถ้าท่านสังเกตให้ดี ท่านจะพบว่า นักษัตรแต่ละตัวนั้น มีธาตุ แต่ไม่ใช่มีเพียงธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ หรือ จตุธาตุ (ธาตุสี่/มหาภูตรูปสี่) ตามแบบเบ้าของโหราศาสตร์ไทย ที่อิงเอาวิชาทางพุทธศาสนาเรื่อง ธาตุ มาใช้ หากว่ากลับกลายเป็น ธาตุอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาดังนี้คือ
ปีชวด ปีหนู เป็นเทวดาผู้ชาย ธาตุน้ำ
มิ่งขวัญตกอยู่ต้นมะพร้าวและต้นกล้วย
ปีฉลู ปีวัว เป็นมนุษย์ผู้ชาย ธาตุดิน
มิ่งขวัญอยู่ต้นตาล
ปีขาล ปีเสือ เป็นผีเสื้อผู้หญิง ธาตุไม้
มิ่งขวัญตกอยู่ต้นขนุนลำมะลอและต้นรัง
ปีเถาะ ปีกระต่าย เป็นมนุษย์ผู้หญิง ธาตุไม้
มิ่งขวัญอยู่ต้นมะพร้าวมาลิเกและต้นงิ้ว
ปีมะโรง ปีงูใหญ่ เป็นเทวดาผู้ชาย ธาตุทอง
มิ่งขวัญอยู่ต้นงิ้วและกอไผ่
ปีมะเส็ง ปีงูเล็ก เป็นมนุษย์ผู้ชาย ธาตุไฟ
มิ่งขวัญอยู่กอไผ่และต้นรัง
ปีมะเมีย ปีม้า เป็นเทวดาผู้หญิง ธาตุไฟ
มิ่งขวัญอยู่ต้นตะเคียนและต้นกล้วย
ปีมะแม ปีแพะ เป็นเทวดาผู้หญิง ธาตุทอง
มิ่งขวัญอยู่ต้นปาริชาติและต้นไผ่ป่า
ปีวอก ปีลิง เป็นผีเสื้อผู้ชาย ธาตุเหล็ก
มิ่งขวัญอยู่ต้นขนุน
ปีระกา ปีไก่ เป็นผีเสื้อผู้ชาย ธาตุเหล็ก
มิ่งขวัญอยู่ต้นยางและต้นฝ้ายเทศ
1
ปีจอ ปีหมา เป็นผีเสื้อผู้หญิง ธาตุดิน
มิ่งขวัญอยู่ต้นสำโรงและต้นบัวหลวง
ปีกุน ปีหมู เป็นมนุษย์ผู้หญิง ธาตุน้ำ
มิ่งขวัญอยู่ต้นบัวหลวงและต้นบัวบก
ตารางเปรียบเทียบ ธาตุของนักษัตร ระหว่าง ตำราพรหมชาติไทย กับ ตำราโหราศาสตร์จีน จะเห็นได้ว่า ตรงกัน 10 นักษัตร ที่ไม่ตรงกันคือ มะโรง กับ มะแม แต่หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า ตรงกันทั้งหมด กล่าวคือ เทียบตามสมการว่า เมื่อ มะโรงเป็นทอง มะแมก็เป็นทอง ในตำราพรหมชาติ ดังนั้น เมื่อมะโรงเป็นดิน มะแมก็เป็นดิน ในตำราโหราศาสตร์จีน ซึ่งในที่นี้อาจเป็นเรื่องการถ่ายถอดทางอักขระวิธี ทำให้ภาษานั้นต่างกัน
อันนี้ผมอยากสอนว่า เมื่ออ่านวิชาโบราณ บางครั้งที่ท่านว่า “อย่าไปยึดติดตัวอักษร”นั้น หมายความว่า ให้ถอดอักษรแปลงค่าเป็น ตัวแปรสมการ แบบที่ผมยกตัวอย่าง มะโรง กับ มะแม ไปให้ท่านได้เข้าใจ มิได้หมายความว่า ให้เลิกสนใจอักษรที่จดจารกันมาแล้วเอาตามที่ตนเองเห็นควร หรือเอาตามประสบการณ์ตนเองว่า จึงควรทำความเข้าใจคำว่า ไม่ควรยึดลายลักษณ์อักษรตามตำราเสียใหม่ ว่าจริงๆแล้วคือ ปริศนาธรรม ให้เราถอดแปลงค่าตัวอักษร เป็นค่าทางสมการ
บางท่านอาจคิดว่า เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมในเรื่องนี้ จึงขอชี้แจงว่าผมมีหลักฐานพิสูจน์คือ ยันต์ของไทยเรา หลายๆยันต์ แทนที่เราจะเขียนเป็นตัวอักษรสื่อความหมาย เรากลับเขียนเป็น ตัวเลข เช่น ยันต์ตรีนิสิงเหฯ หรือ ยันต์จตุโรฯ บังเกิดทรัพย์
1
เพราะฉะนั้น วันนี้ผมจะขอเฉลยอีกเรื่องสำคัญให้ฟัง ถ้าท่านติดตามอ่านบทความผม จะพบว่า วิชาดาวเหิน ผมเคยกล่าวมาแล้วว่า มีข้อผิดพลาดในขั้นอุกฤษทางปรัชญาพื้นฐานในการใช้ผังดาว (ซึ่งอาจจะมีผู้แก้ไขแล้วหรือไม่อันนี้ไม่ขอเอ่ยถึงให้ท่านสอบทานเอง)และวันนี้จะขอมาเฉลยในประเด็นที่มีผู้เคยตั้งคำถามว่า ตัวเลข เหล่านี้ หรือ กว้า เหล่านี้ เราแทนค่าความหมายด้วยอะไรได้
ก็แทนค่าด้วย ดาวในโหราศาสตร์ระบบจักรวาล คือ ๑ พระอาทิตย์ ๒ พระจันทร์ ๓ พระอังคาร ๔ พระพุธ ๕ พระพฤหัสบดี ๖ พระศุกร์ ๗ พระเสาร์ ๘ พระราหู ๙ พระเกตุ เมื่อท่านแทนค่าแล้วจะพบว่า ตัวเลข 1–9 ในผังดาวเหิน(ดาวบิน) กับ กว้า (卦) เป็นตัวชี้บ่งความหมายโดยนัยของธาตุสองธาตุประกอบกัน หาใช่เป็นเรื่องเดียวกัน สิ่งเดียวกันไม่ ขอเฉลยเป็นแนวทางเปิดให้ท่านได้ลองคิดต่อไปเอง ไม่ขอเฉลยจนสิ้นความ เพื่อให้ฝึกฝนทักษะในการวิเคราะห์มากขึ้น ดังนั้น วิชาดาวบิน หรือ ดาวเหิน หาใช่เป็นวิชาที่จีนคิดค้นขึ้นไม่ หากแต่เป็นวิชาที่ได้ความรู้และวิทยาการไปจาก อินเดีย ดังจะเห็นได้ว่า ประวัติศาสตร์ของวิชานี้ มีมาหลังจากราชวงศ์ถังไปแล้ว คือหลังจากพระถังซำจั๋ง ได้เดินทางไปอินเดียกลับมาแล้ว และอารยธรรมอินเดียได้แพร่หลายมากขึ้นแล้วในจีน ในกรณีเดียวกันกับที่ผมเคยกล่าวว่า โป๊ยหยี่สี่เถียวนี้ ก็เป็นวิชาที่คนจีนประดิษฐ์ขึ้น แต่เดิมได้เพียง สามเสา คือ เสาปี เสาเดือน เสาวัน หากแต่เสาเวลา หรือ เสายาม นั้นได้รับการพัฒนามาภายหลังจากจีนได้รับพระพุทธศาสนามาแล้ว วิชาโป๊ยหยี่สี่เถียว ในหลายแง่มุมหากพิจารณาให้แยบคายจะพบว่า มีการอ้างอิงนำเอาปรัชญาทางพระพุทธศาสนามาใช้ อันนี้ขอให้ท่านศึกษาในอรรถกถา ฎีกา แล้วจะพบคำตอบด้วยตัวเอง
1
กรณีแรกท่านจะเห็นว่า นักษัตรในตำราพรหมชาติ ของไทย มีความเหมือนกับ ตำราโหราศาสตร์จีน
1
กรณีที่สอง ท่านจะเห็นว่า ผังดาวเหินในวิชาฮวงจุ้ยของจีน ก็เหมือนกับ ยันต์จตุโรฯ ของไสยเวทย์ไทย
กรณีต่อมา เมื่อลองอ่านบทความในเวปผม (
www.chinese-horo.com
) ที่เคยเอาลงไว้ในหัวข้อเรื่องเกี่ยวกับ “คำทำนายดวงจีน-สิบสองนักษัตร (ตำราที่ห้า พิเศษอันนี้ว่ากันตามตำราพรหมชาติไทย)”แล้วหากท่านเทียบเคียงคำทำนายนั้นกับวิชา โป๊ยหยี่สี่เถียว (八字四柱) จะพบว่า เป็นคำทำนายที่ออกมาในรูปแบบเช่นเดียวกัน ตามที่ผมได้ยืนยันไปในความนำว่า หลายบทความที่เอามาลงเวปผม ดูผิวเผินเหมือนไม่เกี่ยวอะไรกับโหราศาสตร์จีน แต่จริงๆกับเกี่ยวพันกันอย่างยิ่ง เพียงแต่ต้องขอความกรุณาเห็นใจเพราะผมไม่มีเวลามากและทักษะในการทำคอมพิวเตอร์ไม่ค่อยชำนาญ จึงไม่อาจอรรถาธิบายหลายๆสิ่งที่อยากจะนำเสนอได้ ทำได้เพียงนำเสนอหัวข้อสั้นๆ ละเอาไว้ เผื่อผู้มีปัญญามีความรู้มากมาพบก็อาจจะคิดออกได้บ้าง โดยเฉพาะหลายเรื่อง จำเป็นต้องสอนปากเปล่า ผ่านกระดานดำ และคำพูดประกอบยกตัวอย่าง หากให้มาเขียนบรรยายจะยากแก่การทำความเข้าใจ จึงตัดสินใจ เปิดสอน สำนักเรียนการเวลา เพื่อเป็นสถานที่ให้ความรู้เชิงลึก ในวิชาโหราศาสตร์จีน ตลอดจนปรัชญาทางโลกตะวันออกทั้งหมดที่บูรณาการร่วมได้
ตัวอย่างสั้นๆ จากบทความในเวป เรื่อง ปีเกิดนักษัตร ปีขาล
เราก็ลองมาตั้งดวงจีนกัน ตั้งแบบ ดวงโป๊ยหยี่สี่เถียว ก็จะพบว่า เสาปีเป็นขาล เกิดในเดือน 11–12–1 ของไทยโบราณ ซึ่งคือราวๆ เดือน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม ของปัจจุบัน ถ้าเป็นจีนก็คือ เดือนจอ 戌 เดือนกุน 亥 เดือนชวด 子 วิเคราะห์ได้ว่า
ช่องสอง(年支/ก้านดินเสาปี) เป็นธาตุไม้หยาง ประกอบด้วย ไฟหยาง (ข้อบังคับตามวิชาที่ผมร่ำเรียนมาคือ ขาลไม่มี ธาตุดินหยางประกอบ)
ช่องสี่ (月支/ก้านดินเสาเดือน) เป็นธาตุ น้ำ เสียเป็นส่วนมาก จาก เดือนกุน เดือนชวด
เท่ากับว่า ช่องสี่ หนุนส่งเสริม ช่องสอง คือวาสนา
เมื่อช่องสองคือ วาสนาและการได้ทำราชการงานเมือง ช่องสี่ก็หนุนเสริมให้มีอำนาจมาก ทำการค้าจะได้ดีด้วย และเป็นผลเกี่ยวกับการพูดจาด้วย เพราะพูดจาแล้วหนุนวาสนาตน
เมื่อช่องสี่คือ สังคม และช่องสองคืออำนาจ หรือวาสนาเรา ช่องสี่หนุนช่องสอง จึงทำนายได้ว่า สังคมย่อมยำเกรงในอำนาจ หรือคล้อยตาม
เมื่อวิเคราะห์เช่นนี้ ผมยังจำได้ดีตอนที่เปิดอ่านตำราพรหมชาติหลังจากที่ไม่ได้เปิดอ่านมานานแต่ครั้งวัยเด็ก ผมนั่งคิดตามและวางผังดวงจีนในสมอง จึงสอบทานแล้วได้ความดั่งที่อธิบายมาทั้งหมด คือ ข้อความคำทำนายที่ยกมา มีความใกล้เคียงกับคำทำนายแบบโหราศาสตร์จีนมาก มีความเกี่ยวโยงกันมาก จึงได้เสนอบทความนี้ลงในเวป และยังมีบทความอีกมากมายที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ มันเป็นเรื่องสนุกนะ ถ้าเราเคยอ่านอะไรทีนึงแล้ว กลับมาอ่านอีกที เราค้นพบความเชื่อมโยง ความลึกล้ำของการที่ผู้แต่งตำราท่านซ่อนเอาไว้
มีเวลาว่างแล้วอยากพัฒนากลวิธีในวิชาโหราศาสตร์จีน ท่านลองค้นคว้าจากบทความที่ผมเคยลงเขียน บางทีอ่านจะเจอปริศนาที่ผมทิ้งปมเอาไว้แล้วช่วยต่อยอดได้อีกมาก เพราะนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่ง และเป็นเพียง สามสี่บรรทัด จากบทความเดียว ในบรรดาบทความเป็นร้อยที่ผมหยิบขึ้นมาแจกแจงให้ฟัง ไม่มีอะไรมากไปกว่า การอยากจุดประกายให้คนไทยเรา คิดค้น และ คิดวิเคราะห์ ให้มากขึ้นครับ
หากเห็นเป็นประโยชน์ กรุณากดติดตาม เอาไว้นะครับ
ผมไม่อาจกล่าวว่าตนเองรอบรู้ แต่ผมรู้หลายสาขาหลายศาสตร์เพื่อหาทางเชื่อมโยงมันแล้วถ่ายทอดให้ทุกท่านได้ประโยชน์ ตามแนวทางที่ท่านจะนำไปปรับใช้ได้ บางทีมันก็เป็นปัญหานะ ทำให้เราไม่รู้ว่า ถ้าจะให้สอน เราควรสอนอะไรดี และสอนแค่ไหน คนเคยเรียนกับผมจะทราบดีว่า บ่อยครั้งที่ผมสะดุดกับประโยคนึงของหน้ากระดาษแล้วอธิบายโยงไปเรื่องต่างๆจนยาวเหยียดเป็นชั่วโมง บางครั้งจนลืมว่า ตอนต้น กำลังพูดถึงหัวข้อใดอยู่ นี้เป็นข้อเสียที่แก้ไม่ค่อยหายเสียที
เรื่องราวน่าสนใจยังสามารถหาอ่านได้จาก เวปไซต์ ดูดวงจีน ซินแสหลัว
กลุ่ม โหราศาสตร์จีนฯ ของผม ในเฟสบุ๊ค กลุ่ม ฮวงจุ้ยวิชาพันปี และแฟนเพจ ซินแสหลัว
ซินแซหลัว
01/072561
LINE : @chinesehoro
19 บันทึก
18
1
9
19
18
1
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย