18 มี.ค. 2021 เวลา 23:30 • สุขภาพ
โรคอารมณ์ตามฤดูกาล (S.A.D) คืออะไร?
4
โรคอารมณ์ตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder ; S.A.D) เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันของแต่ละปี โดยส่วนใหญ่มักเกิดอาการขึ้นในฤดูหนาว ผู้ป่วยภาวะนี้จะมีอาการของโรคซึมเศร้าเป็นระยะ และจะดีขึ้นในฤดูร้อน
3
โรคอารมณ์ตามฤดูกาล (S.A.D) คืออะไร?
อาการโรคอารมณ์ตามฤดูกาล?
ผู้ป่วย SAD มักแสดงอาการผิดปกติเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั่วไป
- รู้สึกหมดหวัง ไร้ค่า หรือมีอารมณ์ซึมเศร้าต่อเนื่องเป็นเวลานาน
1
- หมดความสนใจในสิ่งที่ตนเองเคยสนใจ
- อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง หมดความกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ
- อยากนอนตลอดเวลา หรือมีปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท เป็นต้น
- มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป เช่น รับประทานอาหารมากเกินไป หรืออยากรับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลมากกว่าปกติ เป็นต้น
- ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดได้นาน
1
- เก็บตัว ไม่ต้องการออกไปพบปะผู้อื่น
- หมกมุ่นกับเรื่องความตาย หรือคิดฆ่าตัวตาย
กลุ่มเสี่ยงสูงที่จะมีภาวะ SAD
- เพศหญิง เนื่องจากภาวะนี้มักพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
2
- อยู่ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งเป็นวัยที่พบภาวะ SAD ได้มากกว่าช่วงวัยอื่น
- ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรคไบโพลาร์
- คนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือมีภาวะ SAD
- อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีช่วงเวลากลางวันสั้นกว่าพื้นที่ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
2
คุณควรทำอย่างไรหากคิดว่ามีภาวะ SAD?
หากคุณคิดว่าคุณกำลังประสบปัญหา SAD และส่งผลต่อความสามารถในการใช้ชีวิตให้ผ่านพ้นวัน ให้คุณมุ่งเน้นไปที่การทำงาน และรักษาความสัมพันธ์กับคนรอบตัว หรือคุณควรไปพบแพทย์ การบำบัดด้วยการพูดคุยกับนักบำบัดที่มีใบอนุญาตเป็นประจำจะมีประโยชน์มาก นอกเหนือจากการขอความช่วยเหลือจากแพทย์จิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตอื่น ๆ
การรักษาโรคอารมณ์ตามฤดูกาล?
- การรับประทานยา
แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้าอย่างฟลูออกซิทีนหรือบูโพรพิออนเพื่อบรรเทาอาการป่วย หรือรับประทานยาตั้งแต่ก่อนถึงช่วงฤดูที่ภาวะซึมเศร้าจะกำเริบเพื่อป้องกันอาการซึมเศร้า โดยผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา
- การทำจิตบำบัด
แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยบางรายเข้ารับการบำบัดพฤติกรรมและความคิด ซึ่งเป็นการปรับวิธีคิดและพฤติกรรมเพื่อรับมือกับภาวะซึมเศร้าอย่างเหมาะสม โดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจะชี้แนะให้ผู้ป่วยทราบถึงความคิดและพฤติกรรมที่ผิดปกตินั้น ควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีการรับมือกับภาวะซึมเศร้าได้ด้วยตนเอง
- การบำบัดด้วยแสง
เป็นการให้ผู้ป่วยเข้ารับการฉายแสงที่จำลองมาจากแสงอาทิตย์วันละประมาณ 1 ชั่วโมงหลังจากตื่นนอน เพื่อปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล โดยผู้ป่วยบางรายอาจฉายแสงด้วยตนเองที่บ้าน แต่วิธีนี้อาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ถึงข้อดีข้อเสียของการฉายแสง และขอคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้เครื่องฉายแสงอย่างถูกต้อง
2
วิธีการดูแลสุขภาพใจในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง
- รับประทานอาหารสุขภาพ เช่น ผัก
- หากิจกรรมที่ชื่นชอบทำ
- หาโอกาสออกไปเดินเล่น
- ออกกำลังกาย
- ออกไปพบปะสังสรรค์หรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทางสังคม
- ฝึกใจให้ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศว่าเป็นแค่เพียงปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- หมั่นสังเกตอาการ
#สาระจี๊ดจี๊ด
ผู้ป่วยภาวะ SAD ที่ไม่รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา อาจมีอาการซึมเศร้ารุนแรงยิ่งขึ้นจนส่งผลกระทบต่ออารมณ์ และพฤติกรรมได้
ผู้ป่วยภาวะ SAD ยังเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ และปัญหาอื่น ๆ ได้แก่
- โรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งอาจนำไปสู่โรคเบาหวานและโรคหัวใจได้ด้วย <เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารในปริมาณมากขึ้น หรืออยากรับประทานแต่แป้งและไขมัน>
- โรควิตกกังวล โรคแพนิค และโรคกลัวการเข้าสังคม
- อาการปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- ปัญหาด้านความสัมพันธ์หรือการเกิดความขัดแย้งกับคนรอบข้าง เช่น คนในครอบครัว เพื่อน เป็นต้น
- การทำร้ายตัวเอง การคิดฆ่าตัวตาย หรือการพยายามฆ่าตัวตาย
#สาระจี๊ดจี๊ด
แสงแดดช่วยรักษาโรคอารมณ์ S.A.D การออกไปข้างนอกเพื่อรับแสงแดดอย่างน้อย 20 ถึง 30 นาทีต่อวันนั้นสมบูรณ์แบบ แต่หากที่ที่คุณอาศัยอยู่ไม่มีแสงแดดมากนัก หรือหากตารางเวลาของคุณส่วนใหญ่อยู่แต่ในบ้าน อุปกรณ์บำบัดด้วยแสงก็เป็นวิธีที่ไม่แพงนัก "การนั่งหน้ากล่องไฟที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการบำบัดด้วยแสงเป็นเวลา 20 ถึง 90 นาที แสดงให้เห็นว่าได้ผลภายในไม่กี่สัปดาห์ แสงจะช่วยกระตุ้นระบบประสาทหรือสมองส่วนที่ควบคุมการนอนหลับและช่วยควบคุมอารมณ์”
1
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา