18 มี.ค. 2021 เวลา 13:55 • ปรัชญา
มหัศจรรย์แห่งรัก
****************
ความรักนั้นมีหลายมุมมอง หากเรามองในมุมอื่นบ้างๆ ก็นับเป็นการมองโลกให้กว้างขึ้น เพราะความรักมีหลายมิติแล้วแต่การนิยามของผู้คน ในวันนี้จึงต้องการนำเสนอรักในมุมมองของท่าน ว.วชิรเมธี นักคิดนักเขียน นักปราชญ์นำพวกเราก้าวข้ามผ่านสู่ความชาญฉลาดในนิยามของความรัก ว่า “ความรัก” คือ “ราคะ” และแปลความได้ว่า “ความปราถนา ความต้องการ ความอยากได้ใคร่ครอบครอง ความจริงจัง คลั่งไคล้ ใหลหลง ซึ่งเรามีต่อ คน สัตว์ สิ่งของ รวมทั้งภาวะนามธรรมต่างๆ เช่น ลัทธิ นิกาย อุดมการณ์ ศาสนา เทวะโองการของพระเจ้าเบื้องบน” ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1
1) รักตัวกลัวตาย เกิดขึ้นจากสัญชาตญาณของมนุษย์ในการปกป้องภยันอันตราย การเรียนรู้เพื่อเอาตัวรอดหรือเห็นแก่ตัว มีข้อดีคือ ทำให้รู้จักการเรียนรู้ที่จะเอาตัวรอดในทุกสถานการณ์ ข้อเสีย คือความเห็นแก่ตัวอาจนำมาซึ่งการเข่นฆ่า ลอบทำร้ายผู้อื่นเพียงเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของตนเอง
1
2) รักใคร่ปราถนา เกิดขึ้นจากสัญชาตญาณของมนุษย์ในการดำรงเผ่าพันธุ์ ซึ่งฝังรากลึกลงไปยีน (Gene) หรือDNA และในระดับของจิตใต้สำนึกของมนุษย์และสัตว์ซึ่งทางพุทธศาสนาเรียกสิ่งที่ฝังรากลึกนี้ว่า ตัณหา (Craving) ซึ่งรักชนิดนี้เองที่ที่ทำให้มนุษย์มังแต่หมกมุ่นครุ่นคิดวุ่นวาย มีสุขมีทุกข์ วุ่นวาย เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารไม่รู้จบรู้สิ้น
ความรักทั้งสองประเภทนี้ อิงอารมณ์ในเชิงลบมากกว่าเชิงบวก เช่น อารมณ์ความรักในตัวตน รักตัวเอง อยากได้อยากมี อยากครอบครอง คลั่งไคล้ ใหลหลง
1
3) รักเมตตาอารี เกิดขึ้นจากสัญชาตญาณของมนุษย์ในความรู้สึกของการเป็นผู้ให้ เช่น พ่อแม่รักลูกโดยไม่มีเงื่อนไข ครูอาจารย์รักลูกศิษย์หวังให้เจิญรุ่งเรือง พระมหากษัตริย์ทรงเมตตาอารีต่อพสกนิกร แม้แต่ความรักที่มีต่อเพื่อนร่วมโลกและมนุษยชาติ แต่หากมีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน ที่จะสร้างขอบเขตคือความแตกต่างในเชื้อชาติ ผิวพรรณ เผ่าพันธุ์ขอบเขตประเทศ ทวีปที่พวกเราคิดไปเองในการกำหนดขอบเขตรั้วในจิตใจที่ยังไม่สามารถรักผู้คนได้ทั่วโลก
1
4) รักมีแต่ให้ เป็นความรักที่เกิดขึ้นเนื่องจากปัญญาล้วนๆ ที่ทำให้คนเราก้าวข้ามผ่านความไม่รู้ (อวิชชา) หรือเรียกได้อีกอย่างว่า รักแท้ (True love) คือ กรุณา ซึ่งเมื่อผลิบานขึ้นแล้วจะทำให้ผู้ที่มีความรักเช่นนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขที่พร้อมจะแบ่งปันแก่ผองเพื่อนและเหล่ามวลมนุษยชาติ
นำปรัชญาที่ท่าน ว. ได้ลิขิตให้เพื่อมาเพิ่มพูนในปัญญา ให้มากกว่านิยามของความรักที่พวกเรารู้จักแต่ผิวเผิน แล้วประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน ว่าความรักมีคุณอนันต์และโทษมหันต์ ขึ้นอยู่กับความรู้ที่เท่าทันและปรับใช้มันอย่างเท่าเทียม แต่ในความหมายที่ท่าน ว. ได้ลิขิตไว้นี้ เพียงเพื่อให้เราไม่ลุ่มหลงมัวเมาในความรัก แต่สามารถใช้พลังของความรักที่ที่มีอยู่เสริมสร้างพลังต่างๆ ได้มากมาย หรือเปลี่ยนสภาวะรักนั้นเป็น “ปาฏิหารย์แห่งการให้” ที่ไม่รู้จบ
“อัพยา ปัชชัง สุขขัง โลเก”
1
มหัศจรรย์แห่งรัก 1 (Love Analysis Vol.1 ) , ว.วชิรเมธี ย่อความและเรียบเรียงโดย กุลฉัตร ฉัตรกุล ณ อยุธยา
หนังสือมหัศจรรย์แห่งรัก
โฆษณา