Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BrandCase
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
19 มี.ค. 2021 เวลา 04:15 • ธุรกิจ
รู้จัก Herzberg's Two Factor Theory ทฤษฎีที่จะช่วยให้เรา เข้าใจพนักงานมากขึ้น
2
หนึ่งในความท้าทายขององค์กรส่วนใหญ่ นอกจากจะเป็นด้านผลประกอบการทางธุรกิจแล้ว
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือเรื่องของการบริหารคนในองค์กร
หลายบริษัทอาจจะเจอปัญหาว่า พนักงานไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน
หรือผลงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
แล้วเราจะมีวิธีอย่างไร ในการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ให้กับพนักงานของเรามากขึ้น ?
หนึ่งในทฤษฎีที่หลายองค์กรนำมาปรับใช้ก็คือ “Herzberg's Two Factor Theory”
โดยทฤษฎีนี้ได้อธิบายไว้ว่า
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ (Motivating factors) และ ความไม่พึงพอใจในการทำงาน (Hygiene factors) นั้น แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
โดยปัจจัยที่ทำให้พนักงานรู้สึกมีความพึงพอใจในการทำงาน จะมีลักษณะที่มีความเกี่ยวเนื่องและคล้ายคลึงกัน
ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในการทำงาน นั้นจะมีความหลากหลาย ไม่มีความสัมพันธ์กัน
มีความกระจัดกระจาย
ตัวอย่างของ ปัจจัยที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน (Motivating factors) เช่น
- การได้รับการชื่นชม
- ความสำเร็จ
- การเติบโตในหน้าที่การงาน
- ขอบเขตความรับผิดชอบของงาน
- ตัวเนื้องาน
ตัวอย่างของ ปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในการทำงาน (Hygiene factors) เช่น
- เงินเดือน
- นโยบายบริษัท
- ตำแหน่งในองค์กร
- ความปลอดภัย
- ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
จะเห็นได้ว่า ปัจจัยที่สร้างความพึงพอใจนั้นดูจะเกี่ยวข้องกับเนื้องาน และมีความสัมพันธ์กัน
ส่วนปัจจัยที่ไม่สร้างความพึงพอใจในการทำงานนั้น มักจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมโดยรวม ไม่มีความเชื่อมโยงกัน
นอกจากนี้ยังอาจสรุปได้ว่า ปัจจัยของทั้งสองฝั่งนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ หากเรากำจัดปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในการทำงาน (Hygiene factors) ออกไปได้ ก็ไม่ได้หมายว่า ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน จะต้องเพิ่มมากขึ้น
แล้วเราจะสามารถนำทฤษฎีนี้มาปรับใช้ในองค์กรอย่างไร ?
1
ข้อแรกก็คือ การกำจัด Hygiene factors ออกไปให้ได้ก่อน
โดยมีวิธีเช่น
- ปรับ/แก้ไข นโยบายที่ไม่มีประสิทธิภาพ
- สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความเคารพซึ่งกันและกัน
- ให้เงินเดือนที่เหมาะสมกับความรับผิดชอบ
- ให้ตำแหน่งที่มีความหมายต่อองค์กร
และเมื่อกำจัดปัจจัยเหล่านี้ออกไปได้แล้ว ก็อย่าลืมว่า Hygiene factors เป็นเพียงปัจจัยที่ลดความไม่พึงพอใจลง
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะมีความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้น
ในส่วนนี้เองจึงเป็นส่วนของ Motivating factors ที่จะเข้ามาสร้างความพึงพอใจให้พนักงานมากขึ้น
โดยมีตัวอย่างเช่น
- การมอบโอกาสในการเติบโตให้กับพนักงาน
- การให้ความชมเชย
- การให้งานที่เหมาะสมกับความสามารถและความถนัดของพนักงาน
- การเสนอโอกาสในการฝึกฝน เรียนรู้ และพัฒนาตัวเองให้กับพนักงาน
ซึ่งการทำตามขั้นตอนเหล่านี้ ก็จะสามารถช่วยสร้าง ความพึงพอใจในการทำงานให้กับพนักงานได้มากขึ้น
เพราะการที่เราโฟกัสไปที่ Hygiene factors มากจนเกินไป แล้วคาดหวังว่าพนักงานจะมีความพึงพอใจมากขึ้น โดยละเลยความสำคัญของ Motivating factors ที่เป็นตัวกระตุ้นสำคัญ
ก็อาจไม่ได้สร้างความพึงพอใจให้พนักงานเพิ่มขึ้นเลยในที่สุด
สุดท้ายนี้ทฤษฎี Herzberg's Two Factor Theory ก็ไม่ได้บอกว่า จะมีสูตรสำเร็จตายตัวในการสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน
เพราะพนักงานแต่ละคนนั้นต่างก็มีความชอบในสิ่งที่แตกต่างกัน
ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของหน้างานก็ควรที่จะพิจารณา และประเมินให้เหมาะสมว่าแต่ละคนควรให้แรงจูงใจแบบไหน..
Reference
-
https://www.mindtools.com/pages/article/herzberg-motivators-hygiene-factors.htm
19 บันทึก
12
13
19
12
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย