Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)
•
ติดตาม
28 เม.ย. 2021 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
“ลีวาย สเตราส์ (Levi Strauss)” ผู้ให้กำเนิดกางเกงยีนส์ลีวายส์ (Levi’s)
2
หลายคนน่าจะต้องรู้จัก “กางเกงยีนลีวายส์ (Levi’s)” และมีในครอบครอง
1
กางเกงยีนส์ลีวายส์เป็นหนึ่งในกางเกงยีนส์ชั้นนำของโลก และอยู่คู่กับโลกของกางเกงยีนส์มาเป็นเวลายาวนาน
1
ผู้ให้กำเนิดกางเกงยีนระดับตำนานนี้คือ “ลีวาย สเตราส์ (Levi Strauss)”
1
กางเกงยีนลีวายส์ (Levi’s)
“ลีวาย สเตราส์ (Levi Strauss)” ชื่อเดิมคือ “เลิบ สเตราส์ (Loeb Strauss)” เกิดในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1829 (พ.ศ.2372) ที่บาวาเรีย ประเทศเยอรมนี
1
เลิบเป็นลูกคนเล็ก โดยเขาเป็นลูกคนที่เจ็ด พี่ๆ ห้าคนแรกเป็นพี่คนละแม่
1
พ่อและแม่ของเลิบคือ “เฮิร์ช สเตราส์ (Hirsch Strauss)” และ “รีเบกกา สเตราส์ (Rebecca Strauss)”
1
เฮิร์ชนั้นเป็นพนักงานขายอุปกรณ์เย็บผ้า เช่น ผ้า ด้าย กระดุม โดยเขาจะเดินเคาะตามบ้าน เสนอขายสินค้าของตน
1
บาวาเรียในปัจจุบัน
ในระหว่างที่เฮิร์ชทำงาน รีเบกกาก็ทำหน้าที่ดูแลลูกๆ โดยครอบครัวสเตราส์นั้นอาศัยอยู่ในห้องแคบๆ ที่มีเพียงแค่ห้องนั่งเล่น ห้องครัว และห้องนอนหนึ่งห้อง
1
ครอบครัวสเตราส์เป็นครอบครัวชาวยิว ในวัยเด็ก เลิบจึงไปเรียนในโรงเรียนสำหรับชาวยิว และเมื่อมีเวลา ก็ช่วยงานในบ้าน เล่นกับพี่น้องและญาติๆ
1
ผู้คนในบาวาเรียส่วนมากนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก และหลายคนก็เกลียดคนยิว ซึ่งก็รวมถึงครอบครัวของเลิบด้วย
2
ไม่เพียงแค่ผู้คนเท่านั้น รัฐบาลเองก็ยังโหดร้ายกับคนยิว คนยิวจะถูกควบคุมแทบทุกอย่าง ต้องอยู่ในบริเวณพื้นที่ๆ กำหนด งานที่ทำได้ก็จำกัด ไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ภาษีก็ต้องจ่ายแพงกว่าคนอื่น ซึ่งครอบครัวสเตราส์ก็ได้รับผลกระทบเต็มๆ
1
ในปีค.ศ.1840 (พ.ศ.2383) “โจนาทาน (Jonathan)” พี่ชายของเลิบ ได้ย้ายไปยังนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ก่อนที่ “ลิพพ์แมนน์ (Lippmann)” พี่ชายอีกคน จะตามไปในภายหลัง
1
นิวยอร์กในยุคค.ศ.1840
ในเวลานั้น ผู้คนจำนวนมากในยุโรปได้ย้ายไปยังนิวยอร์ก ซึ่งในเวลานั้น นิวยอร์กเป็นเมืองที่กำลังเติบโต มีตำแหน่งงานและโอกาสรอคอยผู้ที่มีความสามารถ อีกทั้งยังมีการเปิดคลองใหม่ๆ ทำให้การขนส่งสินค้าง่ายขึ้น
1
ด้วยความรุ่งเรืองของนิวยอร์ก พี่น้องตระกูลสเตราส์จึงต้องการจะสร้างธุรกิจของตนในเมืองนี้
1
ภายหลังจากที่ลิพพ์แมนน์ได้มาอยู่ที่นิวยอร์กกับโจนาทาน ทั้งคู่ก็ได้เปิดร้านเล็กๆ ด้วยกันในนิวยอร์ก เป็นร้านขายอุปกรณ์เย็บผ้าในนิวยอร์ก ชื่อ “J. Strauss & Brother”
2
ทางด้านครอบครัวสเตราส์ในบาวาเรีย เฮิร์ชนั้นทำงานหนักจนล้มป่วยและเสียชีวิตในปีค.ศ.1846 (พ.ศ.2389) ซึ่งยิ่งทำให้สถานการณ์ในบ้านนั้นแย่กว่าเดิม เนื่องจากที่ผ่านมา ครอบครัวสเตราส์ก็ใช่ว่าจะร่ำรวย ตอนนี้เมื่อขาดเฮิร์ช ครอบครัวจึงลำบากกว่าเดิม
2
เลิบนั้นต้องการที่จะช่วยครอบครัว เขาอยากหาเงินได้เยอะๆ และในเวลานั้น ชาวยิวในบาวาเรียต่างต้องการจะไปสหรัฐอเมริกา พวกเขาอยากจะไปหาโอกาสใหม่ๆ ที่นั่น ชาวยิวในบาวาเรียนับพันมุ่งไปยังสหรัฐอเมริกา และครอบครัวสเตราส์ก็คิดว่าควรจะต้องย้ายไปยังสหรัฐอเมริกา
1
แม่ของเลิบต้องทำเรื่องขออนุญาตจากรัฐบาลเพื่อย้ายไปสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็ต้องใช้เวลานานกว่าหนึ่งปี รัฐบาลจึงอนุญาต และครอบครัวสเตราส์ก็ได้เก็บของ มุ่งสู่สหรัฐอเมริกา
1
เลิบ แม่ และพี่สาวอีกสองคน ได้ลงเรือเดินทางไปสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ.1848 (พ.ศ.2391) ขณะที่เลิบมีอายุได้ 19 ปี และทั้งครอบครัวก็ต้องไปอยู่ในห้องใต้ท้องเรือ ซึ่งห้องใต้ท้องเรือนั้น ถึงแม้ว่าตั๋วจะมีราคาถูก แต่สภาพความเป็นอยู่ก็ย่ำแย่
1
ภายหลังจากผ่านมาหลายสัปดาห์ เรือก็มาถึงนิวยอร์ก
1
ทั้งครอบครัวได้เข้าไปอาศัยกับโจนาทานและลิพพ์แมนน์ อยู่รวมกันในอพาร์ทเม้นท์เล็กๆ
1
ภายหลังจากย้ายมานิวยอร์ก เลิบก็ได้ไปทำงานในร้านของพี่ชาย ซึ่งในเวลานี้ เลิบได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ลีวาย (Levi)” รวมทั้งพี่น้องคนอื่นๆ ก็เปลี่ยนชื่อเช่นกัน โจนาทานก็เป็น “โจนัส (Jonas)” ลิพพ์แมนน์ก็เป็น “หลุยส์ (Louis)”
2
ชีวิตในสหรัฐอเมริกานั้นดีกว่าที่บาวาเรีย พวกเขามีเงินพอใช้จ่าย รัฐบาลก็ไม่กดขี่พวกเขา พวกเขามีเงินใช้ไม่ขัดสน
2
ย่านที่ครอบครัวสเตราส์อาศัย เรียกว่า “Kleindeutchland” ซึ่งแปลว่า “ย่านเยอรมนีขนาดเล็ก” เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีผู้อพยพชาวเยอรมันเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
1
Kleindeutchland
31 มกราคม ค.ศ.1853 (พ.ศ.2396) ลีวายซึ่งขณะนั้นมีอายุเกือบ 24 ปี ได้เป็นพลเมืองอเมริกันเต็มตัว
1
เขาย้ายมาอาศัยในสหรัฐอเมริกานานเกือบหกปีแล้ว และในเมื่อเขาได้สัญชาติแล้ว เขาก็ต้องการที่จะไปสำรวจทางด้านตะวันตก
1
มีการพบทองคำในแคลิฟอร์เนีย และคนจำนวนมากก็มุ่งไปยังแคลิฟอร์เนียพร้อมความหวังที่จะรวย
1
ลีวายเองก็ต้องการจะไปยังแคลิฟอร์เนีย แต่ไม่ใช่เพื่อไปขุดทอง
1
ลีวายและพี่ๆ ทราบดีว่านักขุดทองต้องการเสื้อผ้าที่เหมาะสม และพวกเขาก็มองเห็นโอกาส
2
ที่นิวยอร์กนั้นมีร้านเสื้อผ้าจำนวนมากอยู่แล้ว แต่หากพวกเขาไปซานฟรานซิสโก ร้านของพวกเขาจะเป็นร้านแรกๆ เพียงไม่กี่ร้าน
2
ซานฟรานซิสโกในปีค.ศ.1850 (พ.ศ.2393)
กุมภาพันธ์ ค.ศ.1853 (พ.ศ.2396) ลีวายตัดสินใจเดินทางไปแคลิฟอร์เนีย
1
ลีวายยังหนุ่มแน่น การเดินทางจึงไม่หนักเกินไปสำหรับเขา และท้ายที่สุด เขาก็เลือกที่จะเดินทางๆ เรือ
1
ภายหลังจากเดินทางเป็นเวลาหนึ่งเดือน ลีวายก็มาถึงอ่าวซานฟรานซิสโกในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1853 (พ.ศ.2396)
2
จากแคลิฟอร์เนีย เดินทางไปถึงแม่น้ำอเมริกัน จะเป็นระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร ซึ่งแม่น้ำอเมริกันเป็นสถานที่ๆ พบทองคำเป็นแห่งแรก และเนื่องจากภาวะตื่นทองนี้เอง บริเวณนี้จึงเต็มไปด้วยผู้คน ตอนที่ลีวายมาถึง ก็มีคนอาศัยอยู่กว่าหนึ่งแสนคนแล้ว
1
แม่น้ำอเมริกันในวันเก่า
ด้วยความที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณท่าเรือ ทำให้บริเวณท่าเรือนั้นคึกคัก มีสินค้ามาลงเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน
1
ภายหลังจากที่ลีวายมาถึงซานฟรานซิสโกไม่กี่สัปดาห์ เขาก็ได้รับพัสดุจำนวนมากจากพี่ๆ
1
พัสดุที่เขาได้รับนั้น มีทั้งผ้าไหมและเสื้อผ้า ซึ่งลีวายก็เตรียมจะนำไปขาย
1
ลีวายได้เปิดร้านขายเสื้อผ้าและอุปกรณ์เย็บผ้า
1
ลีวายในวัยหนุ่ม
ลีวายตั้งชื่อธุรกิจของตนว่า “Levi Strauss & Company” และได้ขายเสื้อผ้าและเครื่องนอนแก่พ่อค้าท้องถิ่น ลูกค้าจำนวนมากก็เป็นคนงานเหมือง ซึ่งบางครั้งก็จ่ายค่าสินค้าด้วยทองคำ
1
สินค้าของลีวายนั้นได้รับความนิยมมาก หมดเร็ว และลีวายก็ต้องให้พี่ๆ ส่งสินค้ามาให้ทางเรือ เรียกได้ว่าธุรกิจของเขากำลังไปได้ดี
1
ในเวลานั้น สินค้าต่างๆ ในซานฟรานซิสโกนั้นมีราคาแพงกว่าที่นิวยอร์ก เนื่องจากในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นรัฐที่ซานฟรานซิสโกเป็นเมืองอยู่ สินค้าต่างๆ นั้นหายาก
1
เมื่อคนจำนวนมากมายังแคลิฟอร์เนีย พ่อค้าขี้โกงหลายๆ คนก็หลอกขายสินค้าปลอมๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนที่ปลอมที่บอกว่ามีทองคำอยู่ที่ไหนบ้าง หรืออุปกรณ์ขุดทองที่มีคุณภาพไม่ดีนัก
1
ภาวะตื่นทองในแคลิฟอร์เนีย
หากแต่ลีวายนั้นแตกต่างออกไป เขาจำได้ดีว่าสมัยอยู่ที่บาวาเรีย ครอบครัวเขาต้องลำบากอย่างไร และไม่ต้องการทำเช่นนั้นกับผู้อื่น เขาจึงคอยเช็คว่าสินค้าของตนนั้นมีคุณภาพดี ให้ลูกค้าได้รับของที่มีคุณภาพ
5
ลูกค้าส่วนมากก็เชื่อใจลีวาย อีกทั้งลีวายยังขายสินค้าในราคาสมเหตุสมผล ทำให้ลีวายมีลูกค้าประจำเป็นจำนวนมาก และทำให้ลีวายมีเงินหมุนเวียนเป็นจำนวนไม่น้อย
1
ค.ศ.1855 (พ.ศ.2398) ลีวายส่งทองคำกลับไปให้พี่ชายทางเรือเป็นครั้งแรก โดยทองคำที่เขาส่งไปนั้นมีมูลค่ามากกว่า 10,000 ดอลลาร์ แต่หากคิดตามค่าเงินปัจจุบัน จะมีมูลค่าประมาณ 250,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 7.5 ล้านบาท)
1
ขณะเดียวกัน พี่ๆ ของลีวายซึ่งอยู่ในนิวยอร์กก็ได้เปลี่ยนชื่อบริษัท จาก “J. Strauss & Brother” เป็น “J. Strauss Brother & Company” แต่ที่แคลิฟอร์เนีย ลีวายได้สร้างชื่อและธุรกิจด้วยตนเอง
1
ในปีค.ศ.1855 (พ.ศ.2398) พี่สาวคนหนึ่งของลีวาย พร้อมสามีและลูกๆ ได้มาเข้าร่วมกับธุรกิจของลีวาย และธุรกิจของลีวายก็เริ่มจะขยับขยาย
1
ในเวลาต่อมา กำไรของธุรกิจก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งในปีค.ศ.1860 (พ.ศ.2403) ได้มีการตั้งระบบบริการไปรษณีย์ ทำให้การส่งจดหมายรวดเร็วขึ้น และทำให้สามารถสั่งสินค้าได้รวดเร็วขึ้น
1
ธุรกิจของลีวายก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในเวลานี้ ร้านค้าของลีวายไม่ได้ขายสินค้าให้แค่ลูกค้าในซานฟรานซิสโกเท่านั้น แต่ยังขยายไปขายให้แก่ลูกค้าทั่วทั้งตะวันตก
1
ลีวายเริ่มจะมีชื่อเสียง เวลาไปทานข้าวที่ร้านอาหาร หลายๆ คนก็จำเขาได้ เริ่มเป็นที่รู้จัก
1
นอกจากธุรกิจแล้ว ลีวายได้บริจาคเงินสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ จำนวนหนึ่ง รวมทั้งสถานที่ประกอบพิธีกรรมของชาวยิว
1
แต่ในขณะที่ชีวิตธุรกิจของลีวายกำลังรุ่งเรือง อีกด้านหนึ่งของประเทศ “สงครามกลางเมือง (American Civil War)” ก็กำลังเริ่มขึ้นในปีค.ศ.1861 (พ.ศ.2404)
1
สงครามกลางเมืองไม่ได้เกิดในแคลิฟอร์เนีย แต่ผู้คนส่วนมากในแคลิฟอร์เนีย รวมทั้งลีวาย ก็สนับสนุนสหพันธรัฐ
1
สงครามกลางเมือง (American Civil War)
ในช่วงสงคราม บริษัทของลีวายได้บริจาคเงินจำนวนมากให้องค์กรที่ทำหน้าที่รักษาพยาบาลทหารสหพันธรัฐที่ได้รับบาดเจ็บ
1
ลีวายนั้นถึงแม้จะไม่ได้เกิดในสหรัฐอเมริกา แต่เขาก็ภูมิใจในความเป็นอเมริกัน และต้องการให้สหรัฐอเมริกาเป็นปึกแผ่น
1
ต่อมา ได้มีการสร้างทางรถไฟเพิ่ม ทำให้ธุรกิจของลีวายสะดวกยิ่งขึ้น
1
ที่ผ่านมา เรือที่ขนส่งทองคำของลีวายมักจะอับปางกลางทะเล ทางรถไฟจะทำให้การขนส่งรวดเร็วขึ้นและปลอดภัยยิ่งขึ้น
1
ในเวลานี้ บริษัทของลีวายได้ขายเสื้อผ้าผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งเสื้อผ้านั้นถูกผลิตที่นิวยอร์ก และส่งไปแคลิฟอร์เนียทางเรือ
1
กรกฎาคม ค.ศ.1872 (พ.ศ.2415) ลีวายก็ได้รับจดหมายที่จะเปลี่ยนชีวิตของเขาไปตลอดกาล
1
จดหมายนั้นส่งมาจาก “จาคอบ เดวิส (Jacob Davis)” ช่างตัดเสื้อที่เนวาด้า
1
จาคอบ เดวิส (Jacob Davis)
เดวิสนั้นเป็นลูกค้าที่สั่งผ้าเดนิมจากลีวาย และนำไปทำกางเกงเดนิมสำหรับคนงานเหมือง
1
เหล่าคนงานทางตะวันตกต่างบ่นว่ากางเกงนั้นไม่มีความทนทาน กระเป๋าข้างนั้นหลุดออกง่ายดาย โดยเฉพาะเมื่อนำอุปกรณ์ต่างๆ ใส่กระเป๋า
1
เดวิสเขียนมาเล่าให้ลีวายฟังว่าเขาคิดทางแก้ได้แล้ว เขาเอาหมุดเล็กๆ ไปปักไว้รอบๆ กระเป๋ากางเกงและด้านหน้า ซึ่งทำให้กระเป๋ากางเกงทนทานมากขึ้น และยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน
1
เดวิสเล่าว่ากางเกงนี้เป็นที่นิยมมากเนื่องจากความทนทาน เหล่าคนงานนิยมมาก
1
กางเกงเหล่านี้เดวิสทำด้วยตนเอง และเริ่มจะทำไม่ทัน จึงขอให้ลีวายมาช่วย
1
นอกจากนั้น เดวิสยังบอกว่าเขาคิดจะไปจดสิทธิบัตรกางเกงที่ตนคิดขึ้น แต่ปัญหาคือเขาไม่มีเงินมากพอ เขาจึงมาขอให้ลีวายช่วย และเขาก็ไว้ใจลีวาย อยากให้ลีวายมาช่วยผลิตกางเกง
1
ลีวายเป็นนักธุรกิจที่ฉลาด เขามองเห็นโอกาส และตกลงที่จะช่วยเดวิส
1
20 พฤษภาคม ค.ศ.1873 (พ.ศ.2416) ลีวายและเดวิสก็ได้รับสิทธิบัตรในด้านการพัฒนากระเป๋ากางเกงคนงาน
1
ในที่สุด “บลูยีนส์” ก็ได้ถือกำเนิดแล้ว
1
จากนั้น ลีวายก็ได้เปิดโรงงานเพื่อผลิตกางเกง ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากสำนักงานของลีวาย ส่วนเดวิสก็ย้ายไปซานฟรานซิสโกเพื่อรับตำแหน่งหัวหน้าช่างตัดเสื้อ
1
ลีวายได้สั่งเครื่องจักรและจ้างพนักงานประจำเครื่องทอผ้าจำนวน 50 คนมาประจำการ และลีวายกับเดวิสยังทำเสื้อแจ๊คเก็ตอีกด้วย
1
กางเกงของลีวายนั้นมีต้นทุนในการผลิตที่แพงกว่ากางเกงอื่นๆ จึงต้องขายในราคาที่แพงกว่า หากแต่คนงานเหมืองและคาวบอย ต่างก็ต้องการมาก
1
ลีวายเริ่มลงโฆษณากางเกงของตนไปทั่วประเทศ ซึ่งผลตอบรับก็ดีมาก เกิดกระแสปากต่อปาก ทำให้ร้านค้าต่างๆ ทางภาคตะวันตกเริ่มจะซื้อกางเกงของลีวายเพื่อนำไปจำหน่ายต่อ
1
โฆษณาลีวายในยุคแรก
ภายในสิ้นปีค.ศ.1873 (พ.ศ.2416) ลีวายได้ขายกางเกงและเสื้อแจ๊คเก็ตไปแล้วกว่า 21,000 ตัว ก่อนที่ในปีต่อมา จะขายได้กว่า 70,500 ตัว ซึ่งทำให้ลีวายกลายเป็นเศรษฐี
1
ธุรกิจของลีวายนั้นเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มส่งออกไปยังต่างประเทศ ตั้งแต่แคนาดาไปจนถึงฝรั่งเศส
1
ในปลายศตวรรษที่ 19 กางเกงที่โด่งดังของลีวาย ได้ใช้ชื่อรุ่นว่า “501” และโด่งดังไปทั่ว
2
กางเกงลีวาย 501 ยุคแรก
ในปีค.ศ.1902 (พ.ศ.2445) ลีวายอายุได้ 73 ปีแล้ว เขามีฐานะร่ำรวย และบริจาคเงินสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ มากมาย
1
26 กันยายน ค.ศ.1902 (พ.ศ.2445) ลีวายเสียชีวิตขณะนอนหลับ
1
หลังจากลีวายเสียชีวิต หลานๆ ของลีวายก็ยังคงบริหารบริษัทต่อ และบริษัทก็รุ่งเรือง ผ่านร้อนผ่านหนาวมาถึงปัจจุบัน
1
ในปัจจุบัน บริษัทลีวายส์ (Levi’s) เป็นบริษัทผลิตกางเกงยีนส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพนักงานกว่า 16,000 คน และมีสาขาอยู่ในประเทศต่างๆ กว่า 110 ประเทศ
1
ร้านค้าของลีวายส์
สำหรับสโลแกนของบริษัทคือ
1
“คุณภาพไม่เคยตกยุค”
3
สำหรับตัวผมเองนั้น ไม่ได้มีกางเกงยีนส์หลายตัว ไม่ได้เป็นยีนส์เลิฟเวอร์ แต่ก็มีกางเกงยีนส์ของลีวายส์จำนวนสองตัว เป็นรุ่น 510 ทั้งคู่ และต้องยอมรับว่าคุณภาพสมราคาจริงๆ ครับ
1
แล้วคุณล่ะครับ มีกางเกงยีนส์ลีวายส์ตัวโปรดหรือเปล่า?
1
References:
https://www.companieshistory.com/levi-strauss-co/
https://www.thoughtco.com/levi-strauss-1992452
https://theculturetrip.com/north-america/usa/california/articles/a-brief-history-of-levis-the-original-blue-jeans/
http://www.historyofjeans.com/jeans-inventor/levi-strauss/
https://germanculture.com.ua/famous-germans/levi-strauss/
https://www.history.com/this-day-in-history/levi-strauss-and-jacob-davis-receive-patent-for-blue-jeans
https://www.biography.com/fashion-designer/levi-strauss
https://www.britannica.com/topic/Levi-Strauss-and-Co
1
14 บันทึก
31
6
20
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
บทความประวัติศาสตร์, ข่าวสารทั่วๆ ไป , นอกเรื่อง, ๆลๆ , วันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ.2020-ปัจจุบัน
14
31
6
20
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย