Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย
•
ติดตาม
20 มี.ค. 2021 เวลา 02:06 • สุขภาพ
น่ากลัวกว่าที่คิด !! ไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์แอฟริกาใต้ดื้อต่อวัคซีนหลายชนิด วัคซีน AstraZeneca ป้องกันได้ 10.4%
5
จากที่สถานการณ์โควิด- 19 ทั่วโลก ยังคงมีการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง และไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แม้จะมีวัคซีนใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินหลายชนิดและฉีดไปแล้วนับร้อยล้านเข็มก็ตาม
4
มีหลากหลายปัจจัยและเหตุผล ที่สถานการณ์โควิดยังคงเดินหน้าต่อไปไม่หยุดได้แก่
1) วัคซีนที่ฉีดให้กับประชากรโลกจนถึงขณะนี้ ยังไม่ครอบคลุมประชากรโลกที่ 60% เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่
9
2) วัคซีนที่ฉีดอยู่ในขณะนี้ ไม่มีชนิดใดเลยที่ให้ประสิทธิภาพป้องกันได้ 100%
2
3) วัคซีนยังไม่สามารถฉีดในเด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปีได้ จึงทำให้เป็นจุดอ่อนของประชากรที่จะไม่ได้รับวัคซีน
3
4) มีไวรัสกลายพันธุ์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีบางสายพันธุ์ที่มีลักษณะที่น่ากลัวคือ ดื้อต่อวัคซีน เช่น ไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้ B 1.351
3
ในบรรดาไวรัสกลายพันธุ์ด้วยกัน ที่ชาวโลกพอจะได้ยินชื่อได้แก่
สายพันธุ์อังกฤษ B 117
สายพันธุ์แอฟริกาใต้ B 1.351
สายพันธุ์บราซิล P.1
3
พบว่าสายพันธุ์ที่มีความดุร้าย หรือน่าจะมีผลกระทบกับมนุษย์มากที่สุดในขณะนี้คือ สายพันธุ์แอฟริกาใต้
5
เพราะมีรายงานออกมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะว่า ไวรัสดังกล่าวทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีน หรือความสามารถที่วัคซีนจะป้องกันโรคโควิดต่อสายพันธุ์นี้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
5
ข้อมูลที่ผ่านมา เรื่องประสิทธิภาพของวัคซีนที่ลดลงต่อสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ได้แก่
2
วัคซีนของบริษัท Johnson & Johnson
วัคซีนของบริษัท Novavax
ซึ่งมีการทดลองในประเทศแอฟริกาใต้
วัคซีนของบริษัท Pfizer
วัคซีนของบริษัท Moderna
ที่ทำการทดลองกับไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้ในห้องปฏิบัติการ
3
ล้วนแต่ทำให้แพทย์และนักวิทยาศาสตร์เกิดความไม่สบายใจต่อสายพันธุ์นี้มาโดยตลอด
2
ล่าสุด รายงานการศึกษาวิจัยเบื้องต้น เฟส Ib/II ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ชื่อดังระดับโลก NEJM ได้เสนอรายงานที่สร้างความกังวลเพิ่มมากขึ้นได้แก่
4
วัคซีนของ AstraZeneca ที่พัฒนาโดยเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย Oxford มีประสิทธิภาพในการป้องกันเหลือเพียง 10.4%
6
โดยเป็นการวิจัยทดลองในเฟสหนึ่งต่อเนื่องกับเฟสสอง ซึ่งยังมีจำนวนประชากรไม่มากพอ และอาจจะยังไม่สามารถสรุปเป็นทางการได้
2
แต่เป็นการรายงานเบื้องต้น ในกลุ่มอาสาสมัคร 2026 คน อายุเฉลี่ย 30 ปี โดยเป็นคนผิวดำ 71% และเป็นผู้ชาย 56%
3
พบว่าในจำนวนผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง 42 ราย
พบการติดเชื้อ 23 ราย หรือ 3.2% จาก 717 รายที่ได้รับยาหลอก
4
และพบการติดเชื้อ 19 ราย จาก 750 ราย คิดเป็น 2.5% ของกลุ่มที่ได้รับวัคซีน
4
โดยใน 42 รายที่ติดเชื้อนี้ มีถึง 38 ราย หรือ 92.9% ที่เป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่แอฟริกาใต้ B 1.351
โดยที่ในกลุ่มอาสาสมัครดังกล่าว มีอายุน้อยเพียง 30 ปี จึงยังไม่มีผู้ใดที่ป่วยหนักหรือต้องเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตเลย
1
จึงยังไม่สามารถตอบได้ว่าวัคซีนดังกล่าว ป้องกันการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลสำหรับไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้ได้หรือไม่
2
จากข้อมูลดังกล่าวแม้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ที่จำเป็นจะต้องติดตามข้อมูลการทดลองในเฟสสองและเฟสสามโดยสมบูรณ์ต่อไป ยังไม่สามารถสรุปอย่างเป็นทางการได้
3
แต่ก็บอกแนวโน้มที่ชัดเจนแล้วว่า ไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้ มีลักษณะที่ดื้อต่อวัคซีนหลากหลายชนิด โดยเป็นวัคซีนของคนละบริษัท และคนละวิธีการผลิตอีกด้วย
จึงทำให้วงการแพทย์ จะต้องเร่งดำเนินการพัฒนาวัคซีนเพื่อรับมือไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้โดยเร็ว
2
จะเรียกว่าวัคซีนป้องกันไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือวัคซีนเจนเนอเรชั่นที่สองก็ได้
1
ถ้าไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้ระบาดเข้าสู่ประเทศไทย หรือเกิดระบาดทั่วโลกขึ้นมา วัคซีนที่ฉีดอยู่ในปัจจุบันขณะนี้ อาจจะป้องกันลำบาก
4
การพัฒนาวัคซีนดังกล่าวยังไม่ได้รวมถึง การต้องเร่งสนับสนุนกลุ่มนักวิจัยที่กำลังพัฒนาวัคซีนที่ครอบคลุมไวรัสสายพันธุ์โคโรนา(Corona Virus) ทุกสายพันธุ์
5
ซึ่งขณะนี้ มีการทดลองแล้วอย่างน้อยสองที่คือ ที่ Duke university และ Caltech ซึ่งเป็นการทดลองในสัตว์ทดลองคือ ลิงและหนูตามลำดับ
2
โชคดีที่ประเทศไทยเรา ยังสามารถควบคุมสถานการณ์เกี่ยวกับเรื่องไวรัสสายพันธุ์ใหม่ไว้ได้ดีคือ
6
เราตรวจพบผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ที่มีไวรัสสายพันธุ์อังกฤษและดักสกัดไว้ใน SQ ได้ เช่นเดียวกับตรวจพบไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ก็ดักไว้ใน SQ ได้เช่นกัน
3
มาตรการต่างๆเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ไวรัสสายพันธุ์ต่างๆโดยเฉพาะสายพันธุ์แอฟริกาใต้ หลุดรอดเข้ามาในประเทศไทยได้ จึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่งยวด
2
จำเป็นจะต้องทำอย่างเข้มงวดและเคร่งครัดอย่างมาก โดยเฉพาะการคัดกรอง ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างชาติที่เดินทางมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงหรือมีการระบาดของไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้ เช่น ประเทศต่างๆในทวีปแอฟริกา เป็นต้น
2
นอกจากการที่จะต้องตรวจตราอย่างเข้มงวดมากแล้ว การกักตัวใน SQ สำหรับประเทศดังกล่าวนั้น อาจจะจำเป็นต้องเพิ่มขึ้นจาก 14 วันเป็น 21 วันด้วยเพื่อความสบายใจ
3
ในขณะนี้ ประเทศไทยต้องถือว่า ยังไม่มีไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้ คงมีแต่ไวรัสสายพันธุ์หลักหรือสายพันธุ์เดิม ซึ่งเราต้องรักษาความโชคดีเรื่องนี้ต่อไปให้ได้ครับ
2
ด้วยการคงมาตรการเข้มงวดที่มีมาตรฐานสูงต่อไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์แอฟริกาใต้ต่อไป
3
Reference.
https://www.nejm.org/doi/10.1056/NEJMoa2102214
https://www.forbes.com/sites/williamhaseltine/2021/03/11/new-hope-for-a-covid-19-vaccine-that-protects-against-all-variants/
https://www.medpagetoday.com/infectiousdisease/covid19/91658
https://www.dw.com/en/what-you-need-to-know-about-astrazenecas-covid-19-vaccine/a-56537177
37 บันทึก
130
24
106
37
130
24
106
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย