21 มี.ค. 2021 เวลา 02:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไมเสียงที่ถูกบันทึก กับเสียงพูดที่เราได้ยินถึงแตกต่างกัน แล้วเสียงไหนกันแน่คือเสียงจริงของเรา?
นั่นสิ เสียงไหนกันแน่คือเสียงจริงของเรา?
สวัสดีครับผมชื่อ ‘คชา’ ยินดีที่ได้รู้จักทุกท่านนะครับ มีอะไรแนะนำเชิญได้เลยนะครับ ไม่ต้องเกรงใจ
พอดีผมได้ไปอ่านบทความที่น่าสนใจของ ‘TOM PERCIVAL’ มาครับ
บทความที่ว่าคือ “The Reason You Hate The Sound Of Your Own Voice” หรือ “เหตุผลที่คุณเกลียดเสียงตัวเอง”
นั่นสิทำไมนะ?
อืม... ความจริงผมก็เปิดเพจมาได้สองสามวันแล้วล่ะ ก็มีไปทักทายสมาชิกต่าง ๆ ในนี้ไปบ้างพอสมควรครับ
งั้นขอถือโอกาสนี้ประเดิมบทความแรกของเพจด้วยเรื่องนี้เลยละกันนะครับ
คุณเคยได้ยินเสียงของตัวเองแล้วตกใจบ้างไหม?
หรือบางครั้งอาจรู้สึกเหมือนกับว่าคุณไม่ได้อยู่เพียงลำพัง หลอนเนอะ!
จริง ๆ แล้วมันเป็นยังไงนะ
ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติ ที่คุณจะเกลียด หรือกลัวเสียงของตัวเองที่ได้ยินจากการบันทึกครับ นั่นก็เพราะมันไม่ใช่เสียงที่คุณคุ้นเคย หรือได้ยินเป็นประจำเวลาที่พูดปกตินั่นเอง
ย้อนกลับไปตอนสมัยเรียน ผมก็เคยเถียงกับเพื่อนเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยนะ เรื่องของเรืองก็คือเพื่อนของผมมันโดนรูมเมทบันทึกเสียงด้วยเครื่องเล่นเทปคาสเซ็ทอะ มันก็เถียงคอเป็นเอ็นเลยว่าที่ได้ยินกันอยู่นี่ไม่ใช่เสียงของมัน ทั้ง ๆ ที่ผมกับรูมเมทของมันบอกตรงกันว่านี่คือเสียงของมันแน่นอน
1
การบันทึกเสียงด้วยเทปคาสเซ็ทในวันวาน
ซึ่งในตอนนั้นเพื่อนของผมมันก็ให้เหตุผลประมาณว่า “เสียงของกูน่ะมันอีกแบบ ทำไมกูจะจำเสียงตัวเองไม่ได้ล่ะโว้ยไอ้พวกบ้า!”
ทำไมเสียงที่เราได้ยินจากการบันทึกจึงฟังแล้วเหมือนไม่ใช่ตัวเรา?
เชื่อได้เลยว่า หลายท่านคงรู้สึกแบบนี้กันอย่างแน่นอน เพราะเมื่อใดก็ตามที่ได้ยินเสียงของตัวเองตอนถูกบันทึกไว้ จะต้องรู้สึกว่า ทำไมเสียงที่บันทึกถึงมีความแตกต่างจากเสียงพูดจริง ๆ ของเรา
เอ่อ แล้วตกลงเสียงไหนคือเสียงจริงของเรากันแน่ มาดูคำตอบกันครับ
เวลาที่เราเปล่งเสียงพูดออกมา ตัวเราจะได้ยินเสียงที่มาจากภายใน ซึ่งมาจากการสั่นสะเทือนของเส้นเสียง ที่เดินทางสู่กระโหลก และเกิดเสียงสะท้อนภายในกระโหลก และเสียงที่เกิดขึ้นในส่วนนี้ จะมีความถี่ต่ำ ทำให้ได้เสียงที่นุ่ม และทุ้มต่ำกว่าที่ควร
1
สำหรับเราเสียงสด ๆ น่าฟังกว่าเยอะ
ส่วนเสียงที่เราได้ยินผ่านทางเครื่องบันทึกเสียงชนิดต่าง ๆ นั้น คือคลื่นเสียงที่ออกมาจากลำโพง เดินทางผ่านอากาศมายังหู และเกิดการสั่นสะเทือนภายในแก้วหู ทำให้เสียงที่ได้มีลักษณะที่แหลมกว่าเสียงพูดของเราที่เคยได้ยินเป็นประจำ
1
ฟังที่บันทึกไว้แล้วแปลก ๆ อะ เหมือนไม่ใช่เรา
ซึ่งเสียงจากการบันทึกนั้น คือเสียงจริง ๆ ของเรา และเป็นเสียงแบบเดียวกันกับที่คนอื่นได้ยินเสียงของเราอีกด้วย
1
เสียงจริง ๆ ของเราในความรู้สึกแล้วไม่ค่อยเพราะเท่าไหร่หรอก
‘Martin Birchall’ ศาสตราจารย์วิชาโสต ศอ นาสิกวิทยาที่ “University College London” อธิบายว่า
เราคุ้นเคยกับเสียงที่ได้ยินในหัวมาก แม้ว่ามันจะเป็นเสียงที่ผิดเพี้ยนก็ตาม นั่นทำให้เราสร้างภาพลักษณ์ของตัวเองในสิ่งที่เราได้ยินมากกว่าความเป็นจริงที่เกิดขึ้นขึ้นมา
ดังนั้นถ้าอยากรู้ว่า เสียงของเราจริง ๆ เป็นอย่างไรนั้น ให้ลองบันทึกเสียงของตัวเอง แล้วฟังดูครับ เพราะนั่นแหละคือเสียงจริง ๆ ของเรา
ว่าแล้วอยากส่งบทความนี้ให้เพื่อนของผมคนนั้นได้อ่านจริง ๆ เลยเชียว
ขอบคุณทุกการตอบรับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตาม, ไลค์, คอมเมนท์ และแชร์ ทุกกำลังใจสำคัญเสมอ ขอบคุณครับ
1
แล้วพบกันใหม่ในโพสต์หน้า สวัสดีครับ
ขอบคุณที่มา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา