21 มี.ค. 2021 เวลา 12:40 • ธุรกิจ
สงครามสตรีมมิ่ง ปี 2021
---
1. การบุกเอเชียของ Disney+
Disney+ ประเดิมเปิดตัวในเอเชีย ที่สิงคโปร์ เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมคอนเทนต์ระดับแม่เหล็กของค่าย ทั้ง Disney, Marvel, Star Wars, National Geographic และ Star ที่เป็นบริการสตรีมมิ่ง ของค่าย Starhub 1 ใน 4 บริษัทโทรคมนาคมของสิงคโปร์
11
ในไทย ก็น่าจะอีกไม่นาน ตอนนี้ก็ได้ทีมงานคนไทยไปแล้ว และเดาว่าคงจับมือกับค่ายมือถือไทยซักค่าย เช่นเดียวกับสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน
3
เควิน ไฟกี ประธาน Marvel บอกว่า อาจจะมีซุปเปอร์ฮีโร่ที่เป็นคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มอีกคน เป็นข่าวที่เอาอกเอาใจคนแถบนี้มากๆ
2
ต่อจากสิงคโปร์ น่าจะเป็นญี่ปุ่น ที่จะมีงานเปิดตัว ในเดือนมิถุนายนนี้ โดยการพาร์ทเนอร์กับ NTT Docomo บริษัทโทรคมนาคมเบอร์หนึ่งของประเทศ
3
จากนั้นก็จะเปิดให้บริการในเกาหลีกับไต้หวัน โดยการร่วมมือกับค่ายมือถือใหญ่ของทั้งสองประเทศ คาดว่าน่าจะเจรจากันลงตัว
1
Disney เค้าคาดการณ์ตัวเลขยอดสมาชิกสำหรับตลาดเอเชียได้ aggressive มาก คือ 66 ล้านคนในปีนี้ (เป็นสองเท่าของยอดสมาชิกในเอเชียของ Netflix)
2
ยังไม่ทันจะเปิดบริการเลย กะชนะผู้นำตลาดเบอร์ 1 ได้ในปีเดียว เป้าโหดมาก
2
---
2. เกาหลี คือ ยุทธศาสตร์สำคัญของ Disney+
การบุกเกาหลีนับว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญมากๆ เพราะเป็นประเทศที่ Disney มีฐานแฟนขนาดใหญ่ ทั้งแฟน Marvel, Star Wars และพวกการ์ตูนต่างๆ ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำให้ Disney

และยังมีช่องเคเบิ้ล Disney Channel ที่เรตติ้งดีจับกลุ่มคนดูอยู่แล้ว (ถือหุ้น 51% โดย SK Telecom และ 49% โดย Disney)
4
ที่สำคัญคาดว่าคอนเทนต์ของ Disney+ จะมีซีรีส์เกาหลีของค่ายต่างๆเพิ่มเข้ามาด้วย
2
เพื่อที่จะนำเอาคอนเทนต์เกาหลี มาตีตลาดทั่วเอเชียอีกต่อ โดยมีเป้าหมายใหญ่สุด คือ จีน
ถ้า Disney+ ไปปักธงในตลาดจีนได้ ก็มีโอกาสสูงมากที่จะถอด Netflix จากบัลลังก์ผู้นำของโลกสตรีมมิ่งมายาวนานได้สำเร็จ เพราะในจีนไม่มี Netflix และตลาดใหญ่สุดในโลกอันดับ 2 อย่างอินเดีย ก็เสร็จ Disney ไปแล้ว ด้วยบริการชื่อ Hotstar
ตอนนี้ Netflix ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ในเกาหลี อยู่ที่ 40%
ชนะผู้ให้บริการสตรีมมิ่งในประเทศทั้ง 3 ราย คือ Wavve , Tving ของ CJ และ Watcha Play ที่เป็น tech startup
2
เดิมทีเจ้าตลาดเบอร์ 1 ของเกาหลี คือ Wavve ที่เป็นเหมือนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง แห่งชาติ เป็นการ merge กันของ Pooq และ Oksusu อดีต 2 ผู้นำตลาดของประเทศและบริหารโดย Content Alliance Platform ซึ่งเหมือนเป็น Consortium ที่ถือหุ้นโดย SK Telecom (เจ้าของ Oksusu) สัดส่วน 30% และกลุ่มช่องทีวีใหญ่ (เจ้าของ Pooq เดิม) คนละ 23.3% คือ KBS, MBC และ SBS
1
แต่โดน Netflix ตีแตก แย่งตลาดขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ได้ ในเวลาไม่ถึง 2 ปี ด้วยการพาร์ทเนอร์กับค่ายมือถือ KT กับ LG U+
การมาของ Disney+ คงทำให้ผู้ให้บริการสตรีมมิ่ง ทั้งหลายหนาวๆร้อนๆ เพราะมาในราคาที่ถูกและจัดหนักโดยการ bundle กับบริการอื่นๆ อยากที่ทำในหลายประเทศ
1
พร้อมหมัดเด็ดสุด คือ ฉายหนังชนโรงแบบไม่แคร์โรงหนัง ในราคาที่จ่ายเพิ่มจากค่าสมาชิกรายเดือน (เรียกว่า Premier Access) และถ้าไม่อยากจ่าย ก็รอไปอีกประมาณ 3-4 เดือนก็จะมาอยู่ใน library สำหรับคนจ่ายรายเดือนแล้ว
3
Netflix ทำแบบนี้ไม่ได้ และไม่มีหนังใหม่ฟอร์มใหญ่ระดับเดียวกับที่ Disney+ มี
เป็นท่าไม้ตายที่จะแซง Netflix ขึ้นเป็นที่ 1 แทน
---
3. สตรีมมิ่ง vs. โรงหนัง
นอกจาก Disney+ แล้วยังมีบริการสตรีมมิ่งจากค่ายหนังยักษ์ใหญ่อื่นๆ ที่ฉายหนังแบบชนโรงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Peacock ของค่าย NBCUniversal , HBO Max จากค่าย Warner, Paramount+ ของค่าย Paramount ที่ล้วนมีทีเด็ดคือการฉายหนังชนโรงทั้งสิ้น
3
สถานการณ์โควิดทำให้บริการสตรีมมิ่งโตเร็วกว่าปกติมาก เจ้าของคอนเทนต์เองก็ซัดเต็มที่แบบไม่กลัวผิดใจโรงหนังกับเคเบิ้ลทีวีแบบแต่ก่อน
1
เจ้าของโรงหนัง ผู้สร้าง ผู้กำกับ ก็ออกมาโวยวาย ว่าการทำแบบนี้จะทำลายอุตสาหกรรมหนัง แต่เจ้าของคอนเทนต์ ก็ไม่ได้แคร์อะไร เดินหน้าเปิดตัวในแต่ละประเทศกันรัวๆ ดันราคาหุ้นบวกแล้วบวกอีก
3
ความสัมพันธ์ที่หยั่งรากลึกของค่ายหนัง โรงหนัง ผู้สร้าง ผู้กำกับ เคเบิ้ลทีวี ถูกโควิดทำลาย 

สุดท้ายแล้วเงินและความอยู่รอด สำคัญสุด อะไรที่เราคิดว่าไม่มีทางจะเกิดได้ ก็เกิดขึ้นได้แล้ว
2
แถมยังมีข่าวว่าค่ายคอนเทนท์เหล่านี้จะรุกคืบ ซื้อกิจการโรงหนัง แล้วเอามา transform ด้วยเทคโนโลยีที่มอบประสบการณ์ใหม่ๆในการดูหนัง อย่าง AR/VR เพิ่มเข้าไป
4
ถ้าซื้อจริง ก็เป็นจังหวะที่ดี เพราะซื้อตอนนี้ราคาถูก โรงหนังทั่วโลก อาการร่อแร่ ขาดเงินสดหมุนเวียนในบริษัท เริ่มเข้าแผนฟื้นฟู ล้มละลายกันหลายที่
1
ยุคสตรีมมิ่ง คือ การตัดตัวกลางอย่างโรงหนังทิ้ง และเชื่อมโยงคนดูกับเจ้าของคอนเทนต์เข้าด้วยกัน นำเสนอความสะดวก คุ้มค่า
3
แม้ว่าเครือโรงหนังใหญ่ๆระดับโลก ในสหรัฐฯ จะกลับมาเปิดให้บริการปกติแล้ว แต่เจอปัญหา ไม่มีอะไรมาฉาย ได้แต่นำหนังเก่ากับหนังฟอร์มเล็กมาฉาย รายได้จึงยังไม่กลับมาเหมือนยุคก่อนโควิด
1
แต่เชื่อว่า วันที่หนังฟอร์มยักษ์ พวก Blockbuster ทั้งหลายกลับมาฉายโรง ธุรกิจโรงหนังก็น่าจะกลับมาได้ แต่จะกลับมาแล้วเหมือนเดิมรึเปล่า อันนี้สุดจะคาดเดาจริงๆ ว่าถึงตอนนั้น คนดูยังเหมือนเดิมมั้ย
1
---
4. สตรีมมิ่ง vs สถานีโทรทัศน์
สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเติบโตของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งระดับโลก คือ สถานีโทรทัศน์ (Broadcaster) ทั้งหลาย จะถูกฆ่าตัดตอน
 
แพลตฟอร์มพวกนี้ เข้าไปในประเทศไหน ก็จะดีลตรงกับผู้ผลิตคอนเทนต์ในประเทศนั้น เพื่อให้ทำหนัง ทำละคร เกมโชว์และอื่นๆสำหรับคนประเทศนั้นๆดู และขณะเดียวกัน ก็ได้สิทธิ์ไปฉายเองในประเทศอื่น หรือแม้กระทั่งขาย license ต่อให้คนอื่นอีกทีก็ได้
3
การ tie-in ขาย product ขายโฆษณา ก็ทำได้เหมือนกัน และล้ำหน้ากว่าเยอะด้วย เพราะมีเทคโนโลยีพวก In-stream Ads Insertion แทรกโฆษณาเข้าไปตรงไหนก็ได้ในคอนเทนต์
1
ในขณะที่ Broadcaster ทำได้แค่เอาคอนเทนต์ของผู้ผลิตรายการต่างๆมาฉาย หรืออาจจะผลิตเอง ฉายเอง แบกต้นทุนเอง รายได้ก็มีแค่ค่าโฆษณาจากแบรนด์ต่างๆ หรืออาจจะขายสินค้าเพิ่มเข้าไป
คอนเทนต์ตัวเอง จะขายให้คนอื่นก็ลำบาก ถ้าไม่ได้มีเครือข่ายใหญ่โตระดับโลก ออกนอกก็อาจจะไม่มีคนรู้จัก เพราะเวทีคอนเทนต์ระดับโลก ตัวเลือกมากมายมหาศาล
1
คอนเทนต์เดียวที่ยังคงมีมูลค่าของ Broadcaster คือ ข่าว ที่รายงานสดสำหรับเหตุการณ์สำคัญๆ (ซึ่งก็จะแข่งกับสำนักข่าวออนไลน์และคอนเทนต์ที่สร้างจากคนใช้งานโซเชียลมีเดียอีกที)
1
สิ่งที่จะสร้างความแตกต่างเรื่องต่อมา คือ ประสบการณ์ในการดูคอนเทนต์ ที่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งทำได้หลากหลายมาก
เช่น การนำเทคโนโลยี VR (Virtual Reality) เข้ามาช่วยสร้างโลกใหม่ให้กับคนดู เหมือนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์จริงได้ อาจจะใช้เวลาหน่อย เพราะต้องใช้อุปกรณ์เสริม พวกแว่น VR
หรือการสร้างซีรีส์ที่ผู้ชม เห็นตอนจบไม่เหมือนกัน หรือแม้แต่ journey ในการดูไม่เหมือนกัน ปรับเปลี่ยนตามรสนิยมของแต่ละคน
2
ใครมี Netflix ลองได้ด้วยตัวเองครับ ซีรีส์ Black Mirror ตอนที่ชื่อว่า Bandersnatch ซึ่งเป็นตอนที่ Netflix พัฒนาร่วมกับคนเขียนบทและผู้กำกับ โดยนำเทคนิคการดำเนินเรื่องที่เรียกว่า “Branching Narrative” มาใช้ ซึ่งมีการดำเนินเรื่องที่แตกต่างกันถึง 250 รูปแบบ แล้วแต่คนดูว่าจะเลือกตัวเลือกไหนระหว่างดู (จะมีตัวเลือกขึ้นมาถามคนดูตลอดเรื่อง)
4
Netflix สร้างเทคโนโลยีนี้ขึ้นมา เรียกว่า “State Tracking” ซึ่งใช้เก็บตัวเลือกต่างๆของคนดูตลอดเรื่อง เพื่อนำมาร้อยเรียงเรื่องราวใหม่ระหว่างการดู โดยการทำแบบ real-time โดยที่คนดูไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ
1
Broadcaster ให้ประสบการณ์แบบนี้ไม่ได้แน่นอน
นอกจากประสบการณ์ใหม่ๆ แล้วเบื้องหลังแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งยังมีระบบ Data orchestration ที่เป็นระบบ automation จัดการ data แบบ end-to-end ในเรื่องการตัดสินใจต่างๆ เช่น ระบบ prediction ที่คาดการณ์ความชอบของคนดู
1
ไปจนถึง Creative automation ที่ใช้ AI ตัดต่อซีนโดนใจมาดึงดูดให้คนคลิกดูคอนเทนต์ สามารถสร้างซีน ตัดต่อภาพกราฟฟิกนับหมื่นชิ้น โดยที่ไม่ต้องใช้คนเลยแม้แต่คนเดียว
การเก็บข้อมูลมหาศาล มีระบบประมวลผลและจัดการแบบอัตโนมัติ ทำงานแทนมนุษย์ ทำให้แพลตฟอร์มพวกนี้ ได้เปรียบในทุกมิติ
Broadcaster ไม่เคยรู้ และไม่เคยมีข้อมูลจริงๆ ว่าตกลงแล้ว คนดูรายการตัวเองนั้น คือใคร
มีกี่คนกันแน่ ดูจนจบมั้ย หรือมีพฤติกรรมยังไงบ้างระหว่างการดู ชอบดูรายการนี้ แล้วจะชอบดูรายการไหนอีก หรือคนดูละครเรื่องนี้ เพราะพระเอก นางเอกล้วนๆ หรือเพราะบทดี สนุก หรือเหตุผลอื่น
1
ข้อมูลเดียวที่มีคือ เรตติ้งที่ไม่มีใครบอกได้ว่ากล่องเก็บเรตติ้งนั้น ตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง
2
แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งทั้งฉลาด ทั้งมีข้อมูลคนดูละเอียดยิบ สามารถสร้าง Persona คนดูในระดับรายบุคคลได้ และทำได้ถึงขั้นว่าเห็นโฆษณาตัวไหนแล้วเดินไปซื้อที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือกดซื้อในร้านออนไลน์
2
แบรนด์สินค้า จะเอาเงินโฆษณา ไปให้ใครที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าและช่วยให้ขายของได้มากกว่ากัน?
สถานการณ์ตอนนี้ เหมือน Broadcaster ถือดาบเตรียมออกไปรบ
ขณะที่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งพวกนี้ ใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลยิงข้ามทวีป นำทางด้วย GPS และพุ่งทำลายเป้าหมายอย่างแม่นยำ
1
คนที่อยู่รอดและกลับมาได้ คือ คนที่ทำ Digital Transformation สำเร็จ ลงทุนด้านแพลตฟอร์ม Data จริงจัง และออกบริการสตรีมมิ่งของตัวเองมาแข่ง
หรือไม่ก็ลงขันกันสร้างแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งแห่งชาติ แบบในเกาหลี
ถ้ายังนิ่งเฉย คิดและทำอะไรแบบเดิม ไม่ transform ตัวเอง ก็นับถอยหลังครับ
รูป จาก https://www.visualcapitalist.com/which-streaming-service-has-the-most-subscriptions/
โฆษณา