22 มี.ค. 2021 เวลา 13:19 • ข่าว
ปัญหาใหญ่​ คน Gen Y สร้างหนี้กระฉูด ข้อมูลชี้ใช้เงินเดือน 69% ซื้อของฟุ่มเฟือย
วันก่อนมีโอกาสได้สัมภาษณ์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ถึงสถานการณ์ทางสังคมไทยในปัจจุบัน โดยพบข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ เรื่องการใช้จ่ายของคนไทย
ตามข้อมูลระบุถึง คนไทยส่วนใหญ่ “มีรายได้น้อย” แต่พฤติกรรมการใช้จ่าย “ฟุ่มเฟือย” โดยพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยเฉพาะของ คนรุ่นใหม่ยังขาดความระมัดระวัง
โดยคนกลุ่ม Gen Y หรือกลุ่มแรงงานตอนนี้ มีการใช้จ่ายสินค้ำประเภทฟุ่มเฟือย ทั้ง โทรศัพท์ เสื้อผ้า เครื่องสำอาง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระเป๋า นาฬิกา และเครื่องประดับ ถึงร้อยละ 69 ของเงินเดือน คิดเป็นมูลค่ำเกือบ 100,000 บาทต่อปี หรือเป็นมูลค่ารวมทั้งประเทศ 1.37 ล้านล้านบาทต่อปี เทียบเท่ากับร้อยละ 13 ของ GDP
การซื้อสินค้าเหล่านี้ร้อยละ 70 เป็นการใช้เงินจากการกู้ธนาคาร บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด รวมถึงเหตุผลหลักของการใช้จ่ายของคนกลุ่มนี้ ร้อยละ 42 เป็นการซื้อตามเทรนด์ และร้อยละ 37 คิดว่าสินค้าที่ซื้อเป็นของจำเป็น เช่น โทรศัพท์ และเสื้อผ้า สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ที่ใช้เงินก่อนออม ใช้จ่ายเกินตัวและไม่จำเป็น และขาดการวางแผนการใช้เงินที่ถูกต้องด้วย
จากรายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2559 ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ทักษะด้านความรู้ทางการเงินที่ยังเป็นจุดอ่อน หรือมีคะแนนไม่ถึงร้อยละ 50 ในเรื่อง การคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากทบต้น มีคะแนนร้อยละ 33.4 ส่วนความรู้เกี่ยวกับมูลค่าของเงินตามกาลเวลา มีคะแนนร้อยละ 37.2 และการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน มีคะแนนร้อยละ 42.7
รวมถึงในรายงานดังกล่าว ยังพบว่า พฤติกรรมทางการเงินของคนไทยยังมีปัญหา เช่น การจัดสรรเงินก่อนใช้ มีคะแนนเพียงร้อยละ 22.7 การเปรียบเทียบข้อมูลก่อนซื้อมีคะแนนร้อยละ 27.2 หรืออาจกล่าวได้ว่า คนไทยไม่จัดสรรเงินก่อนใช้ ไม่ค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเปรียบเทียบก่อนซื้อ และการประสบปัญหาเงินไม่พอใช้
ขณะเดียวกัน จากการสำรวจการติดตามระดับความรู้และการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชนในปี 2561 ของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ทักษะทางการเงินของคนไทยยังอยู่ในระดับต่ำ หรือมีคะแนนเฉลี่ยทักษะทางการเงินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ซึ่งมีการพิจารณาใน 3 ด้าน ได้แก่
1. ทักษะทัศนคติทางการเงิน 2. ทักษะพฤติกรรมทางการเงิน และ 3. ทักษะความรู้ทางการเงิน โดยทักษะความรู้ทางการเงินเป็นด้านที่คนไทยอ่อนที่สุด หรือมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 56.7
นอกจากนี้ คน ไทยยังเริ่มออมช้า การศึกษาของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า โดยเฉลี่ยคนไทยเริ่มวาง แผนการออมที่อายุ 42 ปีในขณะที่สหรัฐอเมริกาเริ่มวางแผนการออมตั้งแต่อายุ 30 ปี
เมื่อพิจารณาการลงทุนของครัวเรือนไทย ยังพบว่า ในปี 2562 ครัวเรือนที่ลงทุนคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 2.2 ของ ครัวเรือนทั้งหมด รวมทั้ง คนไทยยังมีการก่อหนี้ในระดับสูง
โดยหนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาส 3 ปี 2563 มี มูลค่า 13.77 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 86.6 ต่อ GDP แม้ว่าหนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหนี้อสังหาริมทรัพย์ และยานยนต์ แต่หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค (หนี้จาก สินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิต) มีสัดส่วนสูง ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ระยะสั้น และมีดอกเบี้ยสูง ทำให้ ครัวเรือนต้องนำรายได้ส่วนหนึ่งมาจ่ายหนี้ และอาจส่งผลต่อความสามารถในการออมของครัวเรือนในอนาคต
เที่ยวละข่าว​
โฆษณา