23 มี.ค. 2021 เวลา 05:11 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เข้าใจครบจบ งบการเงิน | by หนีดอย
ตอนที่ 4 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ตอนจบ
🌟 ก็ผ่านไปแล้วนะครับสำหรับ Serie เข้าใจครบจบ งบการเงิน 3 ตอนกันแล้ว เป็นยังไงกันบ้างครับ สู้ๆนะครับ หนทางยังอีกยาวไกลยิ่งนัก ในซีรีส์นี้
🌟ใครมาไม่ทันสามารถเริ่มต้นตั้งแต่บทแรกได้ที่
ตอนที่ 1 | Introduction งบการเงิน : www.blockdit.com/posts/6055be54e226050c0156e56e
ตอนที่ 2 | มองให้ครบ...ภาพรวมงบการเงิน 6 ส่วน : www.blockdit.com/posts/60563aabe1b5aa0c246ad42b
ตอนที่ 3 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ภาคแรก : www.blockdit.com/posts/6057772ae226050c01d7c1fa
🌟มาเริ่มกันในส่วนรายจ่ายต่างๆ ที่เรายังกล่าวไว้ไม่จบในงบกำไรขาดทุนกันต่อครับ
3.ดอกเบี้ย (interest expenses)
คือ ต้นทุนทางการเงินในรูปของดอกเบี้ย ที่บริษัทต้องจ่ายให้เจ้าหนี้ ซึ่งดอกเบี้ยนับเป็นแหล่งทุนสำคัญของกิจการที่มาจาก Debt ในงบดุล
🌟แหล่งทุนจากเจ้าหนี้ (D) ได้แก่ ธนาคาร, สถาบันทางการเงิน, ผู้ลงทุนที่ซื้อหุ้นกู้ของบริษัท ฯลฯ ซึ่งนำเงินมาให้บริษัทยืมไปใช้ประกอบธุรกิจในงบประมาณที่ตั้งใจไว้ และต้องใช้คืนตามเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ย,งวดการจ่าย และ ระยะเวลาในการจ่ายคืน
🌟พลังของ Leverage concept จากการใช้เงินกู้ เทียบกับไม่ใช้เงินกู้
เนื่องจากเราไม่สามารถใช้เงินทุนจากเจ้าของเพียงแหล่งเดียวในการดำเนินกิจการ การใช้เงินกู้จึงช่วงเป็นคานผ่อนแรงได้ แม้ว่าเมื่อกิจการได้กำไรแล้ว ต้องแบ่งส่วนหนึ่งมาจ่ายดอกเบี้ยคืนก็ตาม แต่โดยภาพรวมแล้วกลับทำให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นสูงขึ้นไปด้วย
🌟ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น = ( กำไรก่อนภาษี / ทุน ) x 100
หากนำตัวเลขจากในตารางมาคำนวณจะได้ว่า
ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น กรณีไม่กู้ยืม = (50/200) x 100 = 25%
ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น กรณีกู้ยืม = (45/150) x 100 = 30%
🌟จะเห็นได้ว่า แม้กู้มาก็จริง มีต้นทุนทางการเงินสูงขึ้นจากต้องจ่ายดอกเบี้ย แต่ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นก็จะสูงขึ้นตาม แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า “อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน ต้องมากกว่าอัตราดอกเบี้ยจ่าย”
4.ภาษี (Income Tax)
คือ ค่าใช้จ่ายที่บริษัทนำส่งให้แก่รัฐบาลตามกฎหมายเมื่อมีกำไร เพราะฉะนั้นหากบริษัทขาดทุนก็ไม่ต้องจ่ายภาษี กรณีบริษัทมีกำไร เราใช้ “ฐานภาษี” ในการประเมินภาษีอากร
🌟ฐานภาษีคือ รายได้หักต้นทุนและรายจ่ายทั้งหมด (อยู่ในงบกำไรขาดทุนเรียบร้อย) เราเรียกว่า “ฐานกำไรสุทธิ” หรือ “กำไรก่อนหักภาษี”
1
“อัตราภาษี” ใช้เป็นอัตราส่วนที่คูณกับ “ฐานกำไรสุทธิ” เพื่อคำนวณให้ได้ “ภาษี” ที่บริษัทต้องจ่าย ตามสูตรที่ว่า
ภาษีเงินได้ = ฐานกำไรสุทธิ x อัตราภาษี
“สิทธิประโยชน์ทางภาษี” (Tax shield)
เรานำฐานกำไรสุทธิมาคำนวณหาจำนวนภาษี แต่รายจ่ายใดก็ตามที่อนุญาตให้หักออกไปก่อนคำนวณฐานภาษีได้ จะทำให้บริษัทเสียภาษีได้น้อยลง หนึ่งในสิทธิประโยชน์ของภาษี ก็คือ “ดอกเบี้ย”​ เพราะบริษัทต้องจ่ายดอกเบี้ยกู้ยืม
🌟ลองมาคำนวณอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น กันอีกครั้งครับ กรณีไม่กู้ยืม กับ กู้ยืม
ด้วยสูตร ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น = ( กำไรสุทธิ / ทุน ) x 100
กรณีไม่กู้ยืม = (40/200) x 100 = 20%
กรณีกู้ยืม = (36/150) x 100 = 24%
🌟ซึ่งพบว่า กรณีกู้ยืมเงินนั้น อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นมีสัดส่วนที่สูงกว่า
1
🌟ต่อไปมาถึงส่วนสุดท้ายของงบกำไรขาดทุน นั่นก็คือ “กำไรสุทธิ” ที่เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ใครๆก็สนใจ ซึ่งปลายทางของ “กำไรสุทธิ” นั้น หลักๆ คือ
1. เงินปันผล (Dividend) : โดยส่วนนี้จะมากหรือน้อยขึ้นกับนโยบายปันผลแต่ละบริษัท
2. กำไรสะสม (Retained earnings) : ส่วนที่เหลือจากเงินปันผลที่ถูกเก็บรวมเข้าเป็นแหล่งเงินทุนต่อไป
🌟ผมขอนำงบการเงิน Apple Inc. มาให้ดูกันอีกครั้ง ในส่วนของงบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และ งบดุล สำหรับปี 2020 VS 2019 ตามลำดับ
Net income (millions)
$28,755 $22,236
Payments for dividends and dividend equivalents (millions)
$3,613 $3,539
Retained earnings (millions)
$14,301 $14,966
งบกำไรขาดทุน Apple Inc. จาก Form 10-Q For the Fiscal Quarter Ended December 26, 2020
งบดุล Apple Inc. จาก Form 10-Q For the Fiscal Quarter Ended December 26, 2020
งบกระแสเงินสด Apple Inc. จาก Form 10-Q For the Fiscal Quarter Ended December 26, 2020
“กำไรสุทธิต่อหุ้น” (Earning per share : EPS)
คือ กำไรสุทธิ หารด้วย จำนวนหุ้นสามัญที่จดทะเบียนและชำระแล้ว ตัวเลขนี้ให้ดูเปรียบเทียบในงบก่อนๆ และจะแสดงไว้ใต้รายการ “กำไรสุทธิ” ของงบกำไรขาดทุนครับ
ถ้าเทียบกันแล้วเพิ่มขึ้นจากอดีต ยิ่งดี
“เงินปันผลต่อหุ้น” (Dividend per share : DPS)
คือ เงินปันผล หารด้วย จำนวนหุ้นสามัญที่จดทะเบียนและชำระแล้ว
ถ้าเทียบกันแล้วเพิ่มขึ้นจากอดีต ยิ่งดี
🌟หากดูจากงบการเงิน Apple Inc. ในส่วนของ CONDENSED CONSOLIDATED STATEMENTS OF OPERATIONS และ CONDENSED CONSOLIDATED STATEMENTS OF SHAREHOLDERS’ EQUITY ตามลำดับ เราจะได้ข้อมูล EPS และ DPS ดังนี้
1
🌟Earnings per share (EPS)
Basic $1.70 $1.26
Diluted $1.68 $1.25
EPS ในส่วนงบกำไรขาดทุนของ Apple Inc.
🌟Dividends and dividend equivalents declared per share or RSU
$0.205 $0.1925
DPS ในส่วนงบส่วนของเจ้าของ (statement of shareholders' equity) ของ Apple Inc.
🌟โดยเราจะเห็นว่า EPS จะมีอยู่ 2 ประเภทคือ
1.Basic EPS หรือ กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน หมายถึง กำไรขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญหารด้วยจำนวนหุ้นสามัญที่ถือโดยบุคคลภายนอก
2.Diluted EPS หรือ กำไรต่อหุ้นปรับลด หมายถึง กำไรต่อหุ้นที่ลดลงเนื่องจากผลกระทบของ “หุ้นสามัญเทียบเท่าปรับลด”
🌟หุ้นสามัญเทียบเท่าปรับลด หมายถึง เครื่องมือทางการเงินหรือสัญญาที่อาจทำให้ผู้ถือได้รับสิทธิในหุ้นสามัญ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ ,สิทธิซื้อหุ้นสามัญ เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้กำไรต่อหุ้นให้ลดลงมากกว่ากำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน
🌟ในกรณีที่กิจการไม่ได้มีแต่หุ้นสามัญเพียงอย่างเดียว แต่มี “หุ้นสามัญเทียบเท่าปรับลด” ด้วยกิจการต้องแสดง “กำไรต่อหุ้นปรับลด” ในงบการเงินด้วย
🌟ทีนี้เราควรดูอะไร ระหว่าง Basic หรือ Diluted EPS?
คำตอบคือ ขึ้นกับว่าดูจากมุมมองแบบไหน
Basic จะเป็นการบอกว่าถ้าเรามีหุ้นบริษัทนี้อยู่แล้ว บริษัททำกำไรได้เท่าไหร่ต่อหุ้น
Diluted จะเป็นการบอกว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ถ้ามีการเจือจางความเป็นเจ้าของแล้ว กำไรต่อหุ้นจะเหลือเท่าไหร่ ก็จะมีผลกับการประเมินมูลค่าบริษัทเพื่อเข้าลงทุน เพราะงั้นคนจะซื้อหุ้นควรดู Diluted EPS
1
🌟และนี่ก็เป็นส่วนของงบกำไรขาดทุน ที่​ “หนีดอย” อยากให้ทุกคนรู้ไว้ เพื่อจะได้อ่านงบการเงินบริษัทที่เราสนใจก่อนเข้าลงทุนครับ
💭บทความล่าสุด!!! สำหรับคนอยากเข้าใจทุกลมหายใจของบริษัท กับ เข้าใจครบจบ งบการเงิน เพื่อการลงทุนหุ้นรายตัว | by หนีดอย
ตอนที่ 1 | Introduction งบการเงิน : www.blockdit.com/posts/6055be54e226050c0156e56e
ตอนที่ 2 | มองให้ครบ...ภาพรวมงบการเงิน 6 ส่วน : www.blockdit.com/posts/60563aabe1b5aa0c246ad42b
ตอนที่ 3 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ภาคแรก : www.blockdit.com/posts/6057772ae226050c01d7c1fa
ซีรีส์ : เข้าใจครบจบ งบการเงิน เพื่อการลงทุนหุ้นรายตัว | by หนีดอย
💭เพราะการลงทุนนั้น ไม่ต้องซื้อให้ถูกที่สุด
แต่ขอให้ห่างจากจุดที่เรียกว่า "ดอย" ก็พอ
💭ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ รบกวนกด Like เป็นกำลังใจให้แอดมิน
ใครคิดว่าบทความนี้ใช่ รบกวนกด share ให้เพื่อนๆมีความรู้เพิ่มในการลงทุน
หรือใครมีข้อเสนอแนะ ติชมอะไร พิมพ์ทิ้งไว้ได้เลยครับ
==================================
***การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนการลงทุนทุกครั้ง
==================================
💭หากใครอยากได้ข้อมูลการลงทุนแบบฉับไว
ไม่พลาดทุกการลงทุนในทุกสินทรัพย์
กด Follow Twitter "หนีดอย"
พร้อมกดกระดิ่งแจ้งเตือนได้ที่ www.twitter.com/needoykan
💭เผื่ออนาคตผมมีจัด Clubhouse ด้านการลงทุน ใครสนใจสามารถ follow @winneuro เพื่อติดตามกันได้เลยนะครับ...
clubhouse
💭ช่องทาง Podcast ทั้งหมดของ "หนีดอย"
Apple Podcast : apple.co/3pC8Gwh

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา