22 มี.ค. 2021 เวลา 01:40 • หุ้น & เศรษฐกิจ
กูรูชี้เงินบาทผันผวน บอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่งฉุดตลาด
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 30.84 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐทรงตัวจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 30.84 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยแนวโน้มค่าเงินบาท มีโอกาสผันผวนตามการเคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์ โดยเงินดอลลาร์สามารถแข็งค่าขึ้น ตามการปรับตัวขึ้นของยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ซึ่งการฟื้นตัวเศรษฐ กิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งและดีกว่าคาด จะช่วยหนุนให้ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ สามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ กดดันให้สกุลเงินในตลาดเกิดใหม่ อ่อนค่าลง นอกจากนี้ ต้องจับตาทิศทางเงินทุนเคลื่อนย้าย หรือ ฟันด์โฟลว์ของนักลงทุนต่างชาติในระยะสั้น โดยเฉพาะ ฟันด์โฟลว์ในฝั่งหุ้น ที่อาจจะไหลออกสุทธิได้
1
ทั้งนี้มองว่าเงินบาทอาจไม่อ่อนค่าลงเร็ว เพราะฝั่งผู้ส่งออกต่างก็รอขายเงินดอลลาร์ที่ระดับใกล้ 30.90-31.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทว่า หากเงินบาทอ่อนค่าลงไปต่ำกว่า 31.00บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็อาจอ่อนค่าไปได้ถึงระดับ 31.20-31.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มองกรอบเงินบาท สัปดาห์นี้ที่ระดับ 30.70-31.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 30.75-30.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
1
สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินยังคงอ่อนไหวจากการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ แม้ว่าเฟดจะส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะไม่รีบขึ้นดอกเบี้ยและไม่รีบปรับลดการอัดฉีดสภาพคล่องก็ตาม
1
ส่วนสัปดาห์ประเด็นที่ต้องติดตามยังคงเป็นทิศทางของบอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ โดยตลาดอาจผันผวนมากขึ้น ในกรณีที่บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กดดันให้บอนด์ ยีลด์ระยะยาวทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นตามในส่วนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจ มีดังต่อไปนี้
ฝั่งสหรัฐฯ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงฟื้นตัวแข็งแกร่ง โดยเฉพาะภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่ขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรม (Markit Manufacturing PMI) ที่จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 59.5 จุด ในเดือนมีนาคม เช่นเดียวกับภาคการบริการที่จะกลับมาขยายตัวดีขึ้น โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (Markit Services PMI) จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 60.1 จุด
นอกจากนี้ตลาดจะติดตามถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดและรัฐมนตรีคลังต่อสภาคองเกรส ในประเด็นการใช้มาตรการต่างๆ ในการรับมือวิกฤติ COVID-19 ว่ามีความเหมาะสมอย่างไร และแนวโน้มการใช้มาตรการในอนาคตเป็นอย่างไร ซึ่งถ้อยแถลงดังกล่าวอาจช่วยให้เห็นถึงทิศทางการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของเฟดได้
ฝั่งยุโรปภาคการผลิตของยุโรปจะสามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้นต่อเนื่อง โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing PMI) ในเดือนมีนาคม จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 57.8 จุด แม้ว่าภาคการบริการโดยรวมยังคงซบเซา ทว่าก็เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (Services PMI) จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 46.0จุด จาก 45.7จุด ในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ การฟื้นตัวของภาคการผลิตและการบริการจะสอดคล้องกับภาพความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่สูงขึ้น ชี้จากดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนี (Ifo Business Climate) ที่จะปรับตัวขึ้นสู๋ระดับ93.2จุด
1
ฝั่งเอเชีย แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ทว่าธนาคารกลางจีนจะคงอัตราดอกเบี้ย Loan Prime Rate (LPR) อายุ 1 ปี และ 5 ปี ที่ระดับ 3.85% และ 4.65% ตามลำดับเพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ก็จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.00%
1
ส่วนไทย คาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% เนื่องจากการฟื้นตัวเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนอยู่ ทั้งนี้ ธปท. จะเลือกใช้มาตรการส่งผ่านสภาพคล่องที่มีอยู่มากในระบบการเงินไปสู่ภาคส่วนที่มีความต้องการ อาทิ มาตรการ Soft Loans, Asset Warehousing มากกว่าที่จะลดดอกเบี้ยนโยบาย ส่วนในฝั่งข้อมูลการค้า ตลาดคาดว่า ยอดการส่งออกของไทย (Exports) จะหดตัวราว 2% จากปีก่อน สะท้อนถึงปัญหาการขาดแคลนตู้คอนทนเนอร์ ทำให้ในเดือนกุมภาพันธ์ ยอดดุลการค้า อาจมีแนวโน้มขาดดุลเล็กน้อยได้
โฆษณา