Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Journey Syndrome
•
ติดตาม
22 มี.ค. 2021 เวลา 08:59 • ท่องเที่ยว
เมืองจอมข่าน ย่านกลางเอเชีย
ข่านอุลุกเบก (หลานของติมูร์)
เอเชียกลาง Central Asia เป็นเอเชียที่ตั้งอยู่ระหว่าง เอเชียตะวันตกเฉียงใต้กับรัสเซีย ประกอบด้วยดินแดน 2 ส่วน โดยมีทะเลสาบแคสเปียนคั่นอยู่ คือ ดินแดนด้านตะวันออกของทะเลสาบแคสเปียน ได้แก่ คาซัคสถาน คีร์กีซ เติร์กเมนิสถาน ทาจิกิสถาน กับดินแดนทางด้านตะวันตกของทะเลสาบแคสเปียน ได้แก่ จอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน
เอเชียกลาง เป็นภูมิภาคที่เคยรวมอยู่กับดินแดนบางส่วนที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปเป็นประเทศสหภาพโซเวียต ต่อมาดินแดนต่างๆ ของประเทศสหภาพโซเวียตทั้งในทวีปยุโรปและเอเชียกลางได้ประกาศแยกออกเป็นสาธารณรัฐอิสระเพื่อปกครองตนเอง ทำให้ประเทศสหภาพโซเวียตต้องล่มสลายลงใน พ.ศ.2534
สาธารณรัฐในเอเชียกลางที่แยกตัวออกมาจากอดีตสหภาพโซเวียต มี 8 ประเทศ ได้แก่ คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน คีร์กีซ เติร์กเมนิสถาน ทาจิกิสถาน จอร์เจีย อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจาน
อุซเบกิสถาน มาจากส่วนประกอบของคำ 3 คำ คือ “uz” ซึ่งแปลว่า ตนเอง “bek” ซึ่งแปลว่า ผู้บังคับการ หรือหัวหน้า ในภาษาของชาว Sogdian ต้นตระกูลของชาวอิหร่าน และ “stan” ในภาษาเปอร์เซีย ดังนั้น Uzbekistan จึงมีความหมายว่า “ดินแดนแห่งผู้ปกครองตนเอง (Land of the Self Masters)”
1
อุซเบกิสถาน ได้รู้จักครั้งแรกๆ จากบรรดานักมวยชิงแช้มป์ต่างๆ ที่มาจากดินแดนแถบนั้น ด้วยรูปร่างที่โดดเด่นจะแขกก็ไม่ใช่จะฝรั่งไปเลยก็ไม่เชิง มีความเป็นจีนผสม แล้วชื่อส่วนใหญ่มักลงท้ายด้วย นอฟ ลาฟ เยฟ แบบชาวรัสเซีย
ชาวอุซเบก คือคอเคซอยด์ หรือพวกผิวขาวและจากเคยอยู่ภายใต้การปกครองของสภาพโซเวียตนานเกือบ 100 ปี ทำให้ผู้คนใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษากลางในติดต่อสื่อสาร
2
ตื่นเต้นหนักมาก อีกอึดใจก็ได้แตะพื้นทัชเค้นท์แล้ว
ทาชเค้นท์ Tashkent เราเริ่มต้นกันที่นี่เป็นเมืองหลวงอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศ เป็นการก่อตัวจากกลุ่มเมืองที่เป็นโอเอซิส เป็นจุดพักค้างแรมของกองคาราวานในเส้นทางสายไหมในอดีต แต่ภายหลังเมื่อตกอยู่ในการปกครองของรัสเซียก็มีการเคลื่อนคนขนประชากรรัสเซียเข้ามาตั้งรกรากและพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของสหภาพโซเวียต และได้รับการวางผังเมืองที่ทันสมัย
1
มีโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้หน้าตาของทาชเค้นท์ออกจะดูกระด้าง ไม่มีเสน่ห์เท่าเมืองอื่นๆ
ใช่แล้วค่ะครั้งนี้จะพาทุกท่านไปสัมผัสกับหนึ่งในภูมิภาคเอเชียกลาง ไปเดินชมศิลปะอิสลามในอุซเบกันค่ะ อาคารที่นี่จะมีเสน่ห์ตรงที่โดมเป็นทรงกลีบมะเฟืองสีฟ้าเขียวเสียส่วนใหญ่ หออาซานหรือเสามีนาร์จะเป็นลายเลขาคณิตและทั้งหมดจะประดับด้วยกระเบื่องเคลือบอีกทีหนึ่ง
ไม่มีศาสนบัญญัติใดในศาสนาอิสลามที่กำหนดไว้ ว่าต้องสร้างมัสยิดเป็นรูปลักษณ์ดังกล่าว อาจสร้างเป็นอาคารรูปแบบใดก็ได้ แม้อาคารบ้านอาศัยของชาวบ้านก็สามารถ บริจาคให้เป็นมัสยิดได้
ทั้งโดม ดาวและพระจันทร์เสี้ยวที่เห็นกันจนชินตานั้น รับเอารูปแบบอาคารมัสยิดของชาติมุสลิมในตะวันออกกลาง ซึ่งรับผ่านมาทางโรมันที่แผ่อำนาจเข้าไปยังซีกโลกตะวันออก ในสมัยอาณาจักรไบแซนไทน์ แล้วชาวมุสลิม ก็พัฒนาสถาปัตยกรรมทรงโดมนี้ ให้มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
สำหรับรูปดาวและเดือนเสี้ยวที่ใคร ๆ เข้าใจว่าเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลามนั้น ก็หาใช่เครื่องหมายที่ต้องมีติดยอดโดมหรือมีในมัสยิดทุกแห่ง แต่เป็นเพียงความนิยมเท่านั้น ดาวและเดือนมีความหมายอย่างมากต่อชาวมุสลิม ด้วยเกี่ยวพันกับการกำหนดวันสำคัญทางศาสนา ซึ่งต้องอาศัยการปรากฏของดวงจันทร์เป็นตัวกำหนด ต่างจากของไทยซึ่งกำหนดวันเวลาประกอบพิธีกรรมชัดเจน ดังเห็นได้ว่าเดือนถือศีลอด หรือเดือนรอมฎอน เมื่อถือศีลอดราว ๒๙-๓๐ วัน จะได้ยินประกาศให้ชาวมุสลิมคอยสังเกตดูดวงจันทร์ หากเห็นขึ้นจับท้องฟ้าก็แสดงว่าเข้าสู่เดือนใหม่ เป็นการสิ้นสุดการถือศีลอดนับแต่วันนั้น
รูปทรงเรขาคณิตและการผสานสอดคล้องกันไม่มีจุดสิ้นสุด
ศิลปะอิสลาม สร้างขึ้นจากศิลปินมุสลิม ศิลปะอิสลามไม่ใช่ศิลปะของประเทศใดประเทศหนึ่งหรือกลุ่มชนใดกลุ่มหนึ่ง เพราะเป็นศิลปะที่พัฒนามาจากแหล่งต่างๆมากมาย (ประกอบด้วยองค์ประกอบจากศิลปะกรีกและคริสเตียนยุคแรก วัฒนธรรมตะวันออกกลางที่ยิ่งใหญ่ของอียิปต์ไบแซนเทียมและเปอร์เซียโบราณพร้อมกับวัฒนธรรมตะวันออกไกลของอินเดียและจีน) เนื่องจากในระหว่างนั้นมีสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์ การยึดครอง การรวมกันของดินแดนต่าง ๆ การถูกรุกราน เพราะเหตุนี้ศิลปะอิสลามจึงมีความซับซ้อนมาก
เมียะห์รอบ (อาหรับ: مِحْرَاب)หรือชุมทิศ คือซุ้มละหมาด เป็นผนังที่ตกแต่งโดยมีไว้สำหรับบอกว่าทิศทางใดที่หันหน้าไปทางนครเมกกะ
บัยตุ้ลมักดิส” หรือ “บัยตุ้ลมุก็อดดัส” คือทิศเดิมที่มุสลิมหันหน้าไปทำละหมาด อยู่ไหน
อัลกุดส์ (ดินแดนปาเลสไตน์) มีความสำคัญสำหรับมุสลิม เพราะเป็นที่ตั้ง ของมัสยิดอัลอักซอ มัสยิดที่นบีสุไลมาน (อะลัยฮิสลาม) สร้างขึ้นและถูกใช้เป็นกิบลัตแรก(ทิศที่มุสลิมหันหน้าไป เวลาละหมาด) แห่งแรกมาจนกระทั่งสมัยของท่านนบีมุฮัมหมัด(ศ้อลฯ) ก่อนที่จะมีบัญชาจากอัลลอฮให้เปลี่ยนมาเป็นกะอบะฮแทน
นอกจากนี้แล้ว มัสยิดอัลอักซอยังเป็นศาสนสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์อิสลาม อันเนื่องมาจากการที่มัสยิดแห่งนี้เป็นสถานที่ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ในการเดินทางของคืนหนึ่ง (อิสรออฺ) สู่บัยตุลมักดิส (เยรูซาเล็ม) ที่ที่ท่านได้เป็นผู้นำละหมาดแก่บรรดาท่านนบีคนอื่นๆ ที่มัสยิดอัลอักซอแห่งนี้ก่อนที่จะถูกนำตัวขึ้นสู่ฟากฟ้าเบื้องสูงในเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า ”อิสรออและมิอ์รอจญ์” อัลลอฮฺ(ซบ.)ได้กล่าวว่า :
1
“มหาบริสุทธิ์ผู้ทรงนำบ่าวของพระองค์ เดินทางในเวลากลางคืน จากมัสยิดอัลหะรอม ไปยังมัสยิดอัลอักซอ ซึ่งบริเวณรอบมัน เราได้ให้ความจำเริญ เพื่อเราจะให้เขาเห็นบางอย่าง จากสัญญาณต่างๆ ของเรา แท้จริงพระองค์ คือ ผู้ได้ยิน ผู้ทรงเห็น” ซูเราะฮฺ อัลอิสรออฺ 1
มิมบัร หรือ แท่นแสดงธรรมคือสถานที่สูงในมัสยิดเพื่ออิหม่ามหรือคอเต็บ(ผู้แสดงธรรม)ยืนขณะอ่านคุตบะห์ในวันศุกร์
มิมบัร"ในภาษาอาหรับคือสถานที่ขึ้้นสู่ที่สูงมีลักษณะเลื่อนขึ้นเป็นลำดับโดยมีบรรไดหลายๆขั้น
ประวัติความเป็นมา
ท่านรอซู้ล(ซ.ล.)ได้อ่านคุตบะห์แก่มุสลิมีนในมัสยิดของท่านโดยยืนบนต้นอินทผาลัมซึ่งเป็นเสาของหลังคามัสยิดและถือไม้เท้าทำจากไม้ชนิดหนึ่งบรรดามุสลิมีนเ็ห็นว่าสถานที่ยืนดังกล่าวสร้างความยากลำบากและความเหน็ดเหนื่อยแก่ท่านรอซู็้้้้้้ล(ซ.ล.)พวกเขาจึงเสนอความคิดกันว่าควรจะนำสิ่งหนึ่งมาวางเพื่อท่านรอซู้ล(ซ.ล.)จะได้นั่งและพักท่านรอซู็ล(ซ.ล.)เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าวชายคนหนึ่งชื่อ"กิลาบ"จึงได้สร้างมิมบัรแรกให้กับท่านรอซู้ล(ซ.ล.)ซึ่งบุคคลนี้เคยรับใช้น้าชายของท่านศาสดา"อัลอับบาสบุตรอับดิ้ลมุตตอเล็บ"มาก่อน"กิลาบ"ได้สร้างมิมบัรแรกในอิสลามให้กับท่านศาสดา(ซ.ล.)โดยสร้างจากไม้
ท่านรอซู้ล(ซ.ล.)ได้นั่งบนสถานที่นั่งบนมิมบัร(ขั้นบนสุดของมิมบัร)และทรงวางเท้าทั้งสองของพระองค์บนบันไดขั้นที่สองของมิมบัร
1
ลักษณะของมิมบัรท่านศาสดา(ซ.ล.)
ประกอบไปด้วยสามขั้นบันได
ขั้นแรกและขั้นที่สองสำหรับเดินขึ้น
ขั้นที่สามสำหรับนั่ง
ความสูงสองศอกและสามนิ้ว
ความกว้างหนึ่งศอก
3
หออะซาน เป็นสถานที่ให้มุอัซซิน (ผู้ประกาศเวลาละหมาด) ขึ้นไปอะซาน (ประกาศ) ให้ได้ยินไปไกลที่สุดเพื่อเรียกให้ผู้คนทำละหมาดมารวมตัวกันที่มัสยิด
1
ท่านศาสดาได้กำหนดให้ผู้ได้ยินเสียงอะซานมาละหมาดรวมกันที่มัสยิด พื้นที่ในรัศมีเสียงอะซานจึงเป็นตัวกำหนดขอบเขตพื้นที่ของชุมชน ในอดีตจะให้การตีกลองบอกเวลาละหมาดเนื่องจากสามารถได้ยินในระยะไกล
แม้หออะซานจะลดความสำคัญลงเนื่องจากมีการใช้เครื่องกระจายเสียงแทน แต่กระนั้นหออะซานก็ยังคงอยู่เป็นสัญลักษณ์ของมัสยิด ด้วยความสูงโดดเด่นเป็นภูมิสัญลักษณ์ที่สื่อถึงการดำรงอยู่ของชุมชนมุสลิม
ซุ้มประตู มัสยิดโดยทั่วไปจะมีการกำหนดขอบเขตหรือแยกพื้นที่สงบออกจากสิ่งรบกวน โดยอาจเป็นกำแพงหรือคูคลองโดยมีประตูเป็นตัวเชื่อมต่อที่บ่งบอกถึงการเข้าถึงมัสยิด ซุ้มประตูมักมีลักษณะเด่นมีการประดับประดาเช่นเดียวกับ โดม หรือหออะซาน
ที่นี่เดินดูเพลินๆ เหมือนเดินอยู่อิหร่าน
เมื่อเดินมาถึงตรงนี้ต้องขอประทานโทษผู้อ่านอีกครั้งนะค่ะ ที่เนื้อหาในวันนี้ไม่ได้ใส่ชื่อหรือแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในอุซเบฯ แบบที่หลายคนอาจคาดหวังนะค่ะ เพราะข้อมูลแบบนั้นทุกท่านหาได้มากมายแล้ว
วันนี้อยากนำเสนอมุมเกร็ดประวัติศาสตร์ในสถาปัตยกรรมและดื่มด่ำบรรยากาศในฤดูใบไม้ผลิให้คลายร้อนใจกันไปนะค่ะ
ไปค่ะเดินทางต่อ
อยู่อุซเบกิสถานต้องไปเยี่ยมท่านนี้ให้ได้นะค่ะ อมิร์ ติมูร์ (Amir Timur)วีรบุรุษภาคพื้นเอเชียกลาง ผู้ซึ่งชาวอุซเบกิสถานยกย่องเป็น “มหาราชผู้ยิ่งใหญ่”
ในฐานะผู้สถาปนาจักรวรรดิ “ติมูริด” (Timurid) อันเกรียงไกร โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ซามาร์คานด์ ในปีพุทธศักราช 1913 ร่วมสมัยสมเด็จพระราเมศวรแห่งกรุงศรีอยุธยา
“อมิร์ ติมูร์” สืบเชื้อสายมาจาก “เตมูจิน” จอมข่านแห่งมองโกล ผู้ประกาศตนเป็น
“เจงกิสข่าน” อันมีความหมายว่า “นายของบรรดาผู้พักพิงอยู่ในกระโจมทั้งมวล” “อมิร์ ติมูร์” จึงรบบนหลังม้าเก่งเยี่ยงบรรพบุรุษ แล้วการที่มองโกลในสมัย
“กุบไลข่าน” เข้าไปยึดจีนจนสถาปนาราชวงศ์หยวน ก็ทำให้วิทยาการก้าวหน้าหลายประการหลั่งไหลสู่ชาวมองโกล
รวมทั้งวิทยาการด้านเข็มทิศ พลุ และดินประสิว ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการรบแบบยุทธศาสตร์ ที่มีแผนการรุก การรับ และการตีโอบล้อมข้าศึก มองโกลจึงนับเป็นนักรบบนหลังม้าที่มีวิทยาการก้าวหน้า อันกล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ “ทาร์มาเลนข่าน” หรือ “อมิร์ ติมูร์” สถาปนาจักรวรรดิ “ติมูริด” อันเกรียงไกรได้
มารดาของเขาเป็นชาวเติร์ก ซึ่งรับเอาศรัทธาในศาสนาอิสลาม รวมทั้งวิทยาการความรู้จากเปอร์เชีย (หรืออิหมีเสนห์) มาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 14 เมื่อขุนนางอิหมีเสนห์ตระกูลซามานเรืองอำนาจ แล้วเข้ายึดครอง “ทรานอ็อกเซียนา” หรือดินแดนเอเชียกลาง สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางการเมือง หนุนส่งให้ศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ เฟื่องฟูในภูมิภาคนี้มาจนถึงวันนี้
ดังนั้น หาก “อมิร์ ติมูร์” ได้รับการนับถือในฐานะวีรกษัตริย์ผู้เป็นต้นตระกูลชาวอุซเบก ไม่ผิดนักที่จะกล่าวว่า “อุซเบก” คือชาติพันธุ์ผสมมองโกล – เตอร์กิช ที่มีจิตวิญญาณเป็นมุสลิมแบบเปอร์เชีย และไม่น่าแปลกใจ ที่อนุสรณ์สถานของอมิร์ ติมูร์ จะใหญ่โตโอฬารขนาดนี้
Ulugbeg Observatory หอดูดาวอูลุกเบก สร้างโดยข่านอุลุกเบก (หลานของติมูร์) ในปีค.ศ. 1428-1429 เป็นอาคาร 3 ชั้นสูง 30 เมตร ด้านบนยอดคล้ายโดมพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวการสำรวจทางดาราศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ดูดาว สะท้อนอัจฉริยภาพของข่านอุลุกเบก ที่ท่านได้คำนวณรอบปีเฉียดไปเพียงเล็กน้อย อีกทั้งแผนที่โลกเองยังถูกวาดขึ้นครั้งแรกที่นี่ รวมถึงท่านยังเป็นผู้คิดค้นสูตรคณิตศาสตร์อีกด้วย
“อุลุก เบก” (Ulugh Beg) ซึ่งเป็นหลานของตีมูร์ ทำให้ซามาร์คันด์กลายเป็นศูนย์กลางวิทยาศาสตร์ของโลกสมัยกลาง ชาวอุซเบกในสมัยนั้น เป็นผู้คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณการเดินทางของดวงดาวในเมืองซามาร์คันด์ ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ทำให้นิโคลัส โคเปอร์นิคัส นักปราชญ์ของโปแลนด์ วางรากฐานของดาราศาสตร์ในเวลาต่อมา
นี่คือปราชญ์อีกท่านที่ใครมาถึงซามาคาน ต้องมาดูผลงานและทำความรู้จักกันไว้นะค่ะ
นัซรูดิน ศรีธนญชัยแห่งทะเลทราย
นัสรูดินมีอาชีพเป็นคนนำคนท่องเที่ยว นี่ไอดอลของผู้เขียนเลย ตลกแฝงปัญญา
นัสรูดินมีเพื่อนสนิทคนหนึ่งชื่อมุสตาฟา เป็นคนที่ไม่ฉลาด นัสรูดินเป็นคนเฉลียวฉลาด แต่ชอบทำเป็นคนโง่ และชอบล้อเลียนเพื่อนบ้าน
วันหนึ่งมุสตาฟาตื่นแต่เช้ามืด ด้วยความท้อแท้ก็ไปหานัสรูดินบอกว่า เพื่อนเอ๋ย บ้านที่ผมอยู่มันแคบ กลิ่นอับ ไม่คล่องตัวเลย ผมไม่มีความสุขกลัดกลุ้มมาหลายปีแล้ว ช่วยผมหน่อยได้ไหม เงินที่จะขยายห้องก็ไม่มี นัสรูดินบอกว่า เอาล่ะ แกต้องเชื่อข้านะ เชื่อทุกอย่างนะ แล้วจะช่วยให้สบายขึ้น
มุสตาฟาบอกว่าผมจะเชื่อทุกอย่างที่นายบอก นัสรูดินได้ทีก็บอกว่า คืนนี้นะเอาแพะเข้าไปล่ามในห้องนอนของแก มุสตาฟาก็งงแต่ก็เชื่อฟังนัสรูดิน รุ่งเช้าตื่นมาตาแดงมาหานัสรูดิน ผมนอนหลับๆ ตื่นๆ เจ้าแพะวายร้ายมันร้องทั้งคืน ไหนว่าจะช่วยผมให้มีความสุข
นัสรูดินบอกว่าเอาน่าเชื่อฉัน คืนนี้เอาลาเข้าไปอีกตัวหนึ่งไปล่ามด้วยกัน มุสตาฟาคนโง่ก็ทำตาม เอาลาเข้าไปล่าม รุ่งเช้าก็โผเผมาบอกว่า เจ้าแพะกับลามันทะเลาะกันทั้งคืน ร้องและเตะกันและถ่ายมูลออกมา ห้องผมเล็กอยู่แล้วเหม็นคลุ้งไปหมด ไหนว่าจะช่วยผมให้สบายขึ้นไงล่ะ
นัสรูดินบอกว่าเอาน่า คืนนี้ได้เรื่อง เอาม้าเข้าไปอีกตัวหนึ่ง พอรุ่งเช้ามุสตาฟาไม่มีแรงเพราะไม่ได้นอนทั้งคืน บอกนัสรูดินช่วยผมด้วย ช่วยผมให้มีความสุขหน่อย
นัสรูดินบอกว่าเอาละได้ที่แล้ว คืนนี้เอาแพะออกจากห้องไป พอรุ่งเช้ามุสตาฟามาหา นัสรูดินก็ถามว่าเป็นไงบ้าง มุสตาฟาจึงบอกว่าค่อยยังชั่วนิดหนึ่งแล้ว
นัสรูดินบอกว่า งั้นคืนนี้เอาลาออกไป รุ่งเช้ามุสฟาบอกว่าผมรู้สึกว่าห้องผมกว้างขึ้น
นัสรูดินบอกว่า เอ้าคืนนี้แกเอาม้าออกไปจากห้อง
รุ่งเช้ามุสตาฟาเดินยิ้มเผล่บอกว่า แหม, ผมรู้สึกเป็นสุขเหลือเกิน ห้องผมรู้สึกมันกว้างขวางดี
คนเราจะไม่รู้จักพอใจตนเอง เที่ยวคิดฟุ้งไป ครั้นสูญเสียไปทีละน้อยพอได้คืนมาก็รู้สึกดีขึ้น
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้จักสิ่งที่พระพุทธเจ้าเรียกว่า สันโดษ ความรู้สึกพอใจในสภาพที่เป็นจริงที่ตนเองเป็นอยู่ ซึ่งเป็นคุณธรรมหลักในพระพุทธศาสนา
สันโดษ คือความรู้สึกพออยู่เสมอ
นิทานจบแล้วคราวนี้ลูกหลานนัซรูดินจะพาไปเดินเที่ยวตลาดแลผู้คนแบบกระทบไหล่ชาวอุซเบกกันดีกว่า
ตลาดโบราณ รูปแบบบาซ่าในอดีต ที่กองคาราวานตามเส้นทางสายไหม
Bazaar “ตลาด” ได้อารมณ์เหมือนย้อนยุค นึกว่าตัวเองเป็นจอมยุทธกำลังท่องยุทธจักรเพื่อออกตามหาคำภีร์มรณะเชียว สำหรับด้้านนอกอาคารก็เป็นรูปแบบโดม วางเหลื่อมกันเพื่อการหมุนเวียนของอากาศด้านในและสามารถเก็บความอุ่นไว้ได้นานในยามฤดูหนาว
เราเดินทางกันต่อสู่เมืองบูคาร่า แหล่งตลาดกลางการค้าการแลกเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ในอดีต และบ้านเกิดท่านฮัจยี อาลี พ่อค้าผู้แปรเปลี่ยนเป็นนักบุญที่ชาวมุสลิมในมุมไบให้ความนับถือ ไว้เจอกันในบอมเบย์ครั้งหน้านะค่ะ(อันนี้ฝากผลงานที่ยังไม่คลอด) อีกแล้วค่ะ
เมืองบูคาร่า(Bukhara) เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดบูคาร่า ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ในอดีตเป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นบนเนินเขา สำหรับประกอบพิธีทางศาสนาในฤดูใบไม้ผลิ และยังเป็นเมืองที่กำเนิดงานเขียนของผู้ที่นับถือศาสนาโซโรแอสเตอร์ เป็นที่อยู่ของบุคคลสำคัญ มีสุเหร่า อนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน โรงเรียนสอนศาสนาฯ และยังได้ชื่อว่าเป็นเมืองในเทพนิยาย และที่สำคัญเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าขายที่มีชื่อว่า เส้นทางสายไหม และได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในปีค.ศ. 1993
เมืองนี้บุคคลสำคัญที่พลาดไม่ได้ คือ
อิหม่ามบุคอรี เป็นหนึ่งในนักปราชญ์แห่งฮะดิษ(วจนะและการกระทำของศาสนทูต)ที่เลื่องลือที่สุดแห่งประวัติศาสตร์อิสลาม หนังสือ Sahih al-Bukhari ของท่านที่กล่าวถึง วจนะ การกระทำ และกิจวัตรของท่านศาสนทูตมุฮัมหมัด (ซ.ล.) นั้นถือเป็นหนึ่งในแหล่งความรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับท่านศาสนทูต
อิหม่ามบุคอรี มีชื่อเต็มว่า Abu Abdullah Mohamed bin Ismail Al-Bukhari เกิดเมื่อปี ฮ.ศ. 194 ที่เมือง Bukhara ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศอุซเบกิสถาน บิดาของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเยาว์วัย ท่านจึงเป็นเด็กกำพร้าที่ได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาผู้ซึ่งอบรมสั่งสอนและให้การศึกษาแก่ท่านเป็นอย่างดี และถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการหล่อหลอมให้ท่านรักและหลงใหลในศาสตร์ต่างๆ เรื่อยมา
มื่อครั้งที่ท่านยังเด็ก ท่านเคยเป็นโรคติดต่อทางสายตาที่สร้างความวิตกกังวลให้กับท่านว่า อาจสูญเสียการมองเห็นได้ แต่ในที่สุดท่านก็หายจากโรคนั้น ท่านเป็นเด็กที่มีไหวพริบดี ฉลาด และความจำเป็นเลิศ ซึ่งต่อมาสิ่งนี้จึงเป็นหนึ่งในคุณสมบัติสำคัญที่ช่วยให้ท่านสามารถเก็บรวบรวมคำพูดและการกระทำของท่านศาสนทูตได้มากมาย
ในช่วงวัยรุ่น ท่านสามารถท่องจำคัมภีร์อัลกุรอานและเรียนรู้บัญญัติอิสลามเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี ท่านสามารถท่องจำฮะดิษนับพันบทตั้งแต่ยังเล็ก และด้วยบรรยากาศของเมือง Bukhara ในขณะนั้นที่ถือเป็นศูนย์กลางแห่งความรู้ก็ช่วยหนุนนำท่านได้เป็นอย่างมาก ที่นั่นทำให้ท่านได้มีโอกาสพบปะกับบรรดานักปราชญ์และนักวิชาการศาสนาอยู่เป็นเนืองนิจ
เมื่ออายุได้16 ปี ท่านพร้อมด้วยมารดาและน้องชายของท่านได้มีโอกาสเดินทางไปยังเมืองมักกะฮ์เพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ และปักหลักอยู่ที่นั่นเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่ม ท่านได้อาศัยอยู่ในเมืองศักดิ์สิทธิ์แห่งนั้นนานถึงหกปี และได้เริ่มทำการรวบรวมฮะดิษ
ต่อมาท่านได้เดินทางไปยังหลายประเทศเพื่อเหตุผลเดียวกัน คือรวบรวมฮะดิษ ท่านรอนแรมตั้งแต่กรุงแบกแดดไปจนถึงเมืองกุฟา ดามัสกัส อียิปต์ คูรอซาน(เปอร์เซีย) และอีกหลายเมือง ท่านร่ำเรียนอย่างไม่ย่อท้อและมุ่งมั่นพยายามที่จะเรียนรู้ฮะดิษให้ได้มากที่สุด เป็นที่พูดกันว่าท่านจะไม่ยอมลงมือเขียนฮะดิษใดจนกว่าท่านจะได้อาบน้ำละหมาด (ขั้นตอนการชำระร่างกายในแบบของอิสลาม) และทำการละหมาดสุนัต 2 รอกะอัต (วิธีการละหมาดเสริมในแบบของอิสลาม) ก่อนทุกครั้ง
ด้วยความเคร่งครัดในหลักการฮะดิษของท่าน ที่ท่านจะต้องรู้ที่มาของผู้รายงานและต้องมีการอ้างอิงที่ชัดเจน ท่านจึงกลายเป็นหนึ่งสัญลักษณ์แห่งวงการฮะดิษว่า มีความละเอียดในการจัดจำแนกและตรวจสอบพิจารณาความน่าเชื่อถือมากที่สุด
พอยืนอยู่ตรงนี้แล้ว ก็ได้ยินวลีนี้ก้องกลับเข้ามาในหูทันที
"จงศึกษาตั้งแต่ในเปล จนถึงหลุมฝังศพ" อิสลามสนับสนุนการเรียนรู้ อีกทั้งสนับสนุนให้มนุษย์ใช้ปัญญาและคิดไตร่ตรอง ดังนั้น อิสลามจึงถือว่า บุคคลหนึ่งที่อ้างตนว่า เป็นผู้ศรัทธา แต่ถ้าการศรัทธานั้นมิได้ถูกกลั่นกรองหรือผ่านองค์ความรู้ที่ถูกต้องแล้ว นั่นหาใช่การศรัทธาที่แท้จริงไม่!! และถือว่าเขายังไม่มีความศรัทธาที่สมบูรณ์
บ้านเมืองเค้าไม่ได้มีดีแค่ประวัติศาสตร์ ศาสนา สถาปัตย์ เท่านี้นะ
ผู้คน อาหาร อัธยาศัยใช่ด้อยนะค่ะ
ที่ถูกใจสุดๆ เห็นจะเป็นข้าวหมกแบบอุซเบก มี่เรียกว่า พิลาฟ Pilaf หรือ Plov
เป็นอาหารประจำชาติของอุซเบกิสถาน เป็นข้าวสุกปรุงรส
ที่มีส่วนผสมของเนื้อวัวหรือเนื้อแกะ แครอท หัวหอม และลูกเกด
นิยมเสิร์ฟในงานเลี้ยงหรืองานประเพณีต่างๆ และยังได้รับความนิยม
ในอินเดีย อัฟกานิสถาน อิหร่าน ตุรกรี และกรีกด้วย
พิลาฟ หน้าตาแบบนี้เลย ยืมจากเว็ปมา ของจริงถ่ายไม่ทันเลยค่ะ
ผู้คนกับความสุนทรี
และแน่นอนร้านนี้พี่ต้องอุดหนุน
น้ำตาลทขนมหวาน โอ้แม่เจ้า ถาดยังเป็นน้ำตาล นิยมจริงจัง
คิดถึงชนเผ่าซ่งหนู เข้าถวายงานฮ่องเต้
สองพี่น้องนี้ น่ารักจนอยากจะเก็บใส่กระเป๋ากลับบ้านเลย
เธอคนนี้น่าจะมาวินละ มีขันทีส่งลิ้งค์ไปให้ฮ่องเต้ละ
ก่อนสิ้นแสงแห่งวัน แม้เรายังก้าวไปไหนไม่ได้ไกลแต่สัญญาว่าจะไม่อยู่กับที่
>>จงแสวงหาความรู้เถิด ถึงความรู้นั้นจะอยู่ถึงเมืองจีน<<أُطْلُبُ الْعِلْمِ وَلَوبِالصِّيْنَ
ขอบคุณข้อมูลจาก : .wikipedia.org
saranukromthai.or.th
มุสลิมไทยโพสต์
13 บันทึก
17
17
22
13
17
17
22
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย