Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เม่าเล่าเรื่องหุ้น
•
ติดตาม
22 มี.ค. 2021 เวลา 04:17 • หุ้น & เศรษฐกิจ
บริหารความเสี่ยง สไตล์มาร์ค มิเนอร์วินี
เป็นเซียนหุ้นรุ่นใหม่ที่เทรดเดอร์แทบทุกคนต้องรู้จัก ผู้คิดค้นระบบ SEPA ที่ประยุกต์มาจากวิธีการเลือกหุ้นแบบ CANSLIM จนสามารถทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ และเอาชนะการแข่งเทรดระดับประเทศด้วยผลตอบแทนหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ . . . เกือบร้อยทั้งร้อยรู้จักเขา ชายที่ชื่อ มาร์ค มิเนอร์วินี
ความสามารถของเขาคงไม่ต้องบอกว่าเก่งเพียงใด แต่สิ่งที่เราควรให้ความสนใจ และเชื่อเหลือเกินว่าคุณมิเนอร์วินีก็อยากให้เราสนใจไม่แพ้กัน นั่นคือเรื่อง risk management หรือการบริหารความเสี่ยง แต่เราจะสนใจการบริหารความเสี่ยงทำไมล่ะ ? ในเมื่อวิธีการลงทุน SEPA ของเขาสามารถทำกำไรได้นับร้อยเปอร์เซ็นต์ มีอะไรที่จะต้องกลัวอีกเล่า
กำไรเยอะ
ก็เจ๊งได้
เป็นคำพูดที่เหมือนจะย้อนแย้งในตัวเอง แต่นี่คือความจริงอันน่ากลัวอย่างหนึ่งของตลาดหุ้น เห็นได้จากตารางด้านบนซึ่งเป็นการสมมติให้พอร์ตโฟลิโออันหนึ่งมีโอกาสแพ้ชนะเท่าๆ กันคือ 50:50 โดยการเทรด 10 ครั้งแรก (ฝั่งซ้ายมือ) เทรดเดอร์สามารถทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง จนผลตอบแทนสะสมของพอร์ตเพิ่มขึ้นสูงถึง 415.93% แต่ในการเทรด 10 ครั้งต่อมา เทรดเดอร์พลิกจากกำไรมาเป็นขาดทุน ถึงแม้ตัวเลข % การขาดทุนจะน้อยกว่า % ของตัวเลขที่กำไร แต่เบ็ดเสร็จแล้ว จากกำไรสะสม 415.93% จะกลายเป็น -12.05% กำไรที่เคยได้มาสุดท้ายก็ต้องคืนตลาด
เพราะฉะนั้น
ต้องจำกัดขาดทุน
คราวนี้เราลองสมมติใหม่ว่า ทุกครั้งที่เกิดการขาดทุน จะจำกัดให้การขาดทุนแต่ละครั้งต้องไม่เกิน 10% ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นต่างกันรางกับฟ้ากับเหว ขนาดเทรดแล้วขาดทุนติดต่อกัน 10 ครั้ง ในภาพรวมก็ยังสามารถสร้างกำไรได้ถึง 79.89% เนื่องจากเรากำหนดจุดตัดขาดทุนไม่ให้มันสูงเกินไปนั่นเอง
กำไร 90% ต่อปี
หรือต่อให้เราสามารถทำกำไรได้กว่า 90% ติดต่อกัน 2 ปี แต่หากปีที่สาม เทรดเดอร์พลิกจากกำไรเป็นขาดทุน 90% ผลกำไรที่ทำมาได้ในสองปีแรกก็มลายหายไปในอากาศ เพราะผลตอบแทนของพอร์ตโฟลิโอรวมจะติดลบเกือบ 30% ลองคิดเล่นๆ ว่า หากเราเปลี่ยนจากการขาดทุน 90% ในปีที่สาม โดยการคุมความเสี่ยงจนผลขาดทุนลดเหลือเพียง 10% ภาพรวมของพอร์ตก็จะยังดูดีมากๆ
ดังนั้น สิ่งสำคัญจึงไม่ใช่แค่การทำกำไร แต่ยังรวมถึงความสามารถในการรักษากำไรไม่ให้คืนตลาดมากเกินไปด้วย
เครดิตบทความดีๆโดย :
INVESTING.in.th
— Happy Investing
1 บันทึก
5
4
2
1
5
4
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย