22 มี.ค. 2021 เวลา 12:02 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
🏃 การวิ่งระยะไกลเหมาะกับร่างกายมนุษย์หรือไม่ ?
บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจาก SLC Group "ENDLESS BEAUTY ความงามที่เป็นคุณ"
1. ร่างกายของมนุษย์วิวัฒนาการมาให้เหมาะกับการวิ่งระยะไกล จริง ๆ หรือไม่ ?

คำตอบคือ ใช่ครับ ร่างกายมนุษย์วิวัฒนาการมาให้เป็นสัตว์ที่วิ่งได้ไกลมาก ๆ แต่ถ้าถามว่าวิ่งได้ไกลแค่ไหน คำตอบจริง ๆ คือ ปัจจุบันยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่เรารู้ว่าร่างกายของมนุษย์มีความสามารถที่ยืดหยุ่นสูงมาก หมายความว่า ในคนที่ได้รับการฝึกฝนมาดี ก็สามารถที่จะวิ่งระยะไกล ๆ ได้
2
2. มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ร่างกายอ่อนแอมากเมื่อเทียบกับสัตว์อื่น ๆ เราไม่มีฟันที่แหลมคม ไม่มีเขี้ยวยาว ไม่มีกล้ามเนื้อใหญ่ เราเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่วิ่งได้ช้ามาก

แต่มนุษย์ (ยุคหิน) ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้ล่าที่อยู่สูงสุดของห่วงโซ่อาหารได้ คำถามคือ เราทำได้ยังไง ?
3
คำตอบคือ เพราะปัจจัยสำคัญสองประการ
หนึ่ง เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ทำงานเป็นทีมได้เก่งที่สุดในสัตว์ทั้งมวลที่เคยเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ (ประเด็นนี้จะไม่ขออธิบายในบทความนี้นะครับ ผมเคยเขียนไว้ในหนังสือ 500 ล้านปีของความรักแล้ว แต่ถ้าสนใจอยากให้เล่าก็คอมเมนต์บอกได้ครับ)
สอง เพราะมนุษย์ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่วิ่งได้ทนหรือวิ่งได้นานที่สุดในโลก
3
3. สัตว์ต่าง ๆ ในธรรมชาติ โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะวิ่งได้ระยะเวลาหนึ่งแล้วจะต้องหยุดพัก เพราะร่างกายของสัตว์จะร้อนเกินไป (overheat)

มนุษย์ใช้จุดอ่อนของสัตว์อื่น ๆ ข้อนี้เป็นข้อได้เปรียบ โดยมนุษย์จะใช้วิธีแก่รอย วิ่งไล่บี้ ไปเรื่อย ๆ อย่างไม่ลดละ แรก ๆ สัตว์ที่ถูกล่าจะวิ่งหนีเมื่อมนุษย์วิ่งเข้าไปใกล้ แต่การคอยวิ่งไล่ตามไปเรื่อย ๆ จะทำให้สัตว์มีเวลาพักไม่เพียงพอที่จะระบายความร้อนออกจากร่างกาย จนถึงจุดหนึ่ง สัตว์นั้นจะไม่สามารถวิ่งหนีต่อไปได้ ทำให้มนุษย์สามารถที่จะเดินเข้าไปสังหารโดยที่สัตว์นั้นไม่สามารถที่จะขยับตัวหนีไปได้
วิธีการล่าสัตว์แบบนี้มีชื่อเรียกว่า persistence hunting ซึ่งคนที่ยังมีวิถีชีวิตแบบล่าสัตว์หาของป่าในปัจจุบัน ในหลายทวีปก็ยังใช้วิธีนี้ในการล่าสัตว์
7
คำถามคือ ทำไมมนุษย์จึงวิ่งได้ทนกว่าสัตว์อื่นเช่นนี้ ?
คำตอบคือ เพราะเรามีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก และสามารถทำงานได้ตลอดเวลาแม้แต่ขณะที่กำลังวิ่ง (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นต้องใช้วิธี อ้าปากหายใจหอบ ๆ ซึ่งจะทำได้ไม่ดีขณะที่กำลังวิ่งอยู่) 

แต่มนุษย์เราระบายความร้อนด้วย .... เหงื่อ
7
4. ปกติเมื่อกล้ามเนื้อต่าง ๆ ของเราทำงานมากขึ้น อุณภูมิในแกนกลางของร่างกายก็จะร้อนขึ้น 
แต่เลือดจะพาความร้อนนั้นไหลไปสู่ผิวหนัง 

เมื่อเราเหงื่อออก น้ำเหงื่อที่ระเหยออกไปจากผิวหนังจะดึงความร้อนจากผิวหนังออกไปด้วย ทำให้ผิวหนังของเราเย็นลง ดังนั้นความร้อนจากเส้นเลือด (ฝอย) ก็จะถูกส่งไปที่ผิวหนังได้ง่ายขึ้น แล้วเลือดที่เย็นก็จะวนไปรับความร้อนจากแกนกลางของร่างกายเพื่อวนมาระบายออกที่ผิวหนังได้อีกรอบ

และเพราะมนุษย์ไม่มีขนเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ เราจึงระบายความร้อนได้เหงื่อได้ดียิ่งขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น แต่มนุษย์ยังเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีต่อมเหงื่อมากที่สุดในโลก
2
5. นอกเหนือไปจากต่อมเหงื่อทีมีมากแล้ว ร่างกายมนุษย์ยังมีการปรับเปลี่ยนหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เราต่างไปจากลิงอื่น และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ร่างกายมนุษย์วิวัฒนาการมาให้เป็นลิงที่วิ่งได้ทน ตัวอย่างเช่น

ในลิงชิมแปนซี หรือลิงที่ต้องปีนป่ายตามต้นไม้ บริเวณของกะโหลก คอ และหลังจะค่อนข้างเชื่อมติดกัน ทำให้ลิงดูเหมือนคอสั้น และเหมือนยักไหล่ค้างไว้ตลอดเวลา ซึ่งลักษณะนี้จะช่วยให้บริเวณหัวของลิงมั่นคงไม่โคลงเคลงไปมาระหว่างโหนไปตามกิ่งไม้ 

แต่ศรีษะของมนุษย์จะเป็นอิสระจากไหล่และลำตัวค่อนข้างมาก
6
ทำให้เวลาวิ่งด้วยความเร็ว เราสามารถแกว่งแขน หมุนตัวซ้ายขวา (ตามจังหวะการแกว่งแขน) ได้โดยที่ศรีษะไม่หมุนไปมาตามไปด้วย
6
อย่างไรก็ตาม ศรีษะของเราก็ต้องมีอะไรยึดไว้เพื่อให้ศรีษะไม่โคลงไปมาขณะที่วิ่ง 
ถ้าคลึงบริเวณท้ายทอยเราจะพบตุ่มกระดูกอยู่ ตุ่มนี้เป็นที่เกาะของเส้นเอ็นที่ชื่อว่า nuchal ligament ซึ่งจะทำหน้าที่ยึดศรีษะของเรากับกระดูกคอ ทำให้เวลาเราวิ่งศรีษะของเราจะมั่นคงไม่โยกเยกไปมา สายตาจึงจับจ้องไปข้างหน้าได้ เส้นเอ็นนี้จะพบในสัตว์ที่ต้องวิ่งเร็ว เช่น หมา ม้า อูฐ แต่จะไม่พบในสัตว์ที่ไม่ค่อยวิ่ง เช่น หมู ชิมแปนซี
8
เมื่อศึกษาฟอสซิลของบรรพบุรุษมนุษย์ พบว่าเส้นเอ็นนี้เริ่มพบในบรรพบุรุษของเราเมื่อประมาณ 2-3 ล้านปีที่แล้ว ทำให้เชื่อว่า ช่วงเวลานั้นบรรพบุรุษของเราคงจะเริ่มวิ่งมากขึ้น จึงวิวัฒนาการมีเส้นเอ็นนี้เกิดขึ้น

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่วิ่งเร็วทั้งหลายจะมีหางไว้เพื่อช่วยการทรงตัวเมื่อเปลี่ยนทิศทางขณะที่กำลังวิ่งด้วยความเร็ว
7
แม้ว่ามนุษย์จะไม่มีหางแต่เรามีกล้ามเนื้อก้นที่ใหญ่กว่าลิงอื่น ๆ มาก กล้ามเนื้อก้นนี้มีความจำเป็นต่อการเดินไม่มากนัก แต่จะทำงานมากเมื่อเราออกวิ่ง ซึ่งบอกใบ้ว่า บรรพบุรุษของเราน่าจะเป็นนักวิ่ง เราจึงมีก้นที่ใหญ่เช่นนี้

และทั้งหมดนี้ก็เป็นบางส่วนของหลักฐานที่บอกใบ้ให้เรารู้ว่า ร่างกายของเราออกแบบมาเพื่อให้เป็นลิงที่วิ่งทน
9
6. อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้บอกแค่ว่า ร่างกายมนุษย์มีศักยภาพที่จะวิ่งระยะไกลมาก ๆ ได้ (ไกลแค่ไหนไม่มีใครรู้) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการวิ่งไกล ๆ จะดีกับสุขภาพของทุกคน 

เพราะเมื่อการวิ่งไกล ๆ อย่าง marathon หรือ ultra-marathon ได้รับความนิยมมากขึ้น ก็มีการพบว่าในบางคน (น่าจะส่วนน้อยมาก) ที่วิ่งไกลมาก ๆ เป็นเวลาหลาย ๆ ปี อาจจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บสะสมต่อกล้ามเนื้อหัวใจจนนำไปสู่การทำงานที่ผิดปกติของหัวใจได้เช่นกัน
5
ถ้าหากใครสนใจ สามารถไปฟัง podcast ฉบับเต็ม
ได้ที่ลิงก์ที่แนบไว้ด้านล่างนี้ได้เลยครับ
🎧 Apple Podcast : http://apple.co/39UKroJ
🎧 Blockdit : https://bit.ly/30ESbFN
2
ไม่อยากพลาดการแจ้งเตือนเมื่อมีโพสต์หรือบทความใหม่ๆ
Add Line เพื่อรับการแจ้งเตือนต่างๆได้ที่นี่
🔔 Line: @chatchapolbook
1
โฆษณา