Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Thai PBS - ไทยพีบีเอส
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
22 มี.ค. 2021 เวลา 22:32 • สิ่งแวดล้อม
มีอะไร...ในชั้นบรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศ คือส่วนที่ปกคลุมผิวโลก โดยมีหน้าที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันรังสีที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์และวัตถุต่าง ๆ ในอวกาศ ซึ่งประกอบไปด้วย ไอน้ำ ความร้อน อากาศ
ชั้นบรรยากาศโลกถูกแบ่งออกเป็น 5 ชั้น โดยอาศัยอุณหภูมิและคุณสมบัติของแก๊สเป็นเกณฑ์แบ่ง มารู้จักทั้ง 5 ชั้นบรรยากาศของโลกเรากัน
1. ชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere)
มีระดับความสูง 0-12 กิโลเมตร มีไอน้ำมหาศาล ก่อให้เกิดเมฆ หมอก พายุ และฝน แก๊สในชั้นบรรยากาศนี้ คือ แก๊สไนโตรเจนถึงร้อยละ 78 แก๊สออกซิเจนร้อยละ 21 และที่เหลือเป็นแก๊สอาร์กอนร้อยละ 0.93 แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 0.03 และแก๊สชนิดอื่น ๆ อีกประมาณร้อยละ 0.04
2. ชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere)
มีระดับความสูง 12-50 กิโลเมตร มีไอน้ำเล็กน้อย ไม่มีเมฆ อากาศมีการเคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ การเดินทางทางอากาศ จะอยู่ที่ชั้นนี้ แก๊สสำคัญคือ แก๊สโอโซน ซึ่งช่วยดูดซับรังสี UV จากดวงอาทิตย์ อุณหภูมิของชั้นนี้อยู่ระหว่าง -60 ถึง 10 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น
3. ชั้นมีโซสเฟียร์ (Mesosphere)
มีระดับความสูง 50-80 กิโลเมตร มีอากาศเบาบางมาก แต่ก็มากพอที่จะทำให้ดาวตกเกิดการเผาไหม้ และเป็นชั้นที่ช่วยดูดซับรังสี UV จากดวงอาทิตย์ อุณหภูมิในชั้นนี้จะลดลงมาอยู่ที่ -120 องศาเซลเซียส
4. ชั้นไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere)
มีระดับความสูง 80-700 กิโลเมตร มีอากาศเบาบางมากกว่าชั้นมีโซสเฟียร์ แต่เป็นชั้นหลักที่ช่วยดูดซับรังสี UV จากดวงอาทิตย์ อุณหภูมิในชั้นนี้จึงมากถึง 2,000 องศาเซลเซียส ที่ระดับความสูง 700 กม. อนุภาคในชั้นนี้เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าที่เรียกว่า “อิออน” อิออนเหล่านี้มีคุณสมบัติสะท้อนคลื่นวิทยุได้ จึงเป็นชั้นที่ใช้ส่งสัญญาณวิทยุสื่อสาร รวมถึงการเกิดแสงเหนือและแสงใต้ หรือ “ออโรรา” อีกด้วย
5. ชั้นเอ็กโซสเฟียร์ (Exosphere)
มีระดับความสูง 700-800 กิโลเมตร แก๊สในชั้นนี้คือแก๊สฮีเลียมแหละแก๊สไฮโดรเจน อากาศค่อย ๆ เจือจางลง เมื่อความสูงเพิ่มขึ้น และเจือจางจนเข้าสู่อวกาศ
ชั้นบรรยากาศทั้ง 5 นี้ ทำหน้าที่ปกป้องโลกของเรามายาวนาน ผู้อาศัยบนโลกอย่างมนุษย์เรา จึงควรเรียนรู้ และรู้จักรักสิ่งแวดล้อม ลดพฤติกรรมปล่อยแก๊สเรือนกระจก เพื่อรักษาชั้นบรรยากาศให้อยู่กับโลกไปนาน ๆ
1
: วันอุตุนิยมวิทยาโลก
ข้อมูลจาก
www.nstda.or.th
www.scimath.org
2 บันทึก
9
2
2
9
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย