Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ReliveTimes
•
ติดตาม
23 มี.ค. 2021 เวลา 10:44 • ประวัติศาสตร์
"การรัดเท้า" ค่านิยมสาวจีนโบราณ ประเพณีแห่งความเจ็บปวด ที่สุดแสนทรมาน
ในยุคสมัยนั้นมีความเชื่อกันว่า สตรีที่มีเท้าขนาดเล็ก เป็นสตรีที่มีความงดงาม ยิ่งมีเท้าขนาดเล็กก็ถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่าสูงส่ง เปรียบดั่ง "ดอกบัวทองคำ"
การรัดเท้า หรือ ฉานจู๋ เป็นประเพณีเก่าแก่อันแสนเจ็บปวดของผู้หญิงจีนยุคนั้น เท้าทั้งสองข้างของพวกเธอจะถูกรัดอย่างแน่นหนา ทำให้เท้าทั้งสองข้างมีขนาดที่เล็กกว่าปกติ ยิ่งถ้ารัดเท้า จะทำให้มีเท้าที่เล็กและสวยงาม แม้จะต้องแลกมากับความทรมานก็ตาม
เชื่อกันว่า "การรัดเท้า" จะเป็นผู้หญิงที่มีเท้างาม แม้แต่ท่วงท่าการเดินของหญิงสาว ทำให้ดูมีความน่ารักและดึงดูดเพศตรงข้าม
ประเพณี"การรัดเท้า" เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง มีกษัตริย์องค์หนึ่งพระนามว่า หลี่โฮ่วจู่ พระองค์มีนางสนมนางหนึ่ง ซึ่งเต้นรำอ่อนช้อยงดงาม นางได้ใช้ผ้าพันเท้าของนางไว้ ให้มีขนาดเล็กและโค้งงอเหมือนพระจันทร์เสี้ยว นางได้รับความรักใคร่เอ็นดูจากกษัตริย์โฮ่วจู่เป็นอย่างมาก คนในสมัยนั้นจึงใช้คำว่า "จินเหลียน" หมายถึงดอกบัว บรรยายถึงเท้าเล็กๆของหญิงสาว
ในปัจจุบัน หลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับ "การรัดเท้า" ที่ค้นพบ คือโครงกระดูกอายุ ๗๐๐ ปีที่มีมาจากปลายราชวงศ์ซ่ง เท้าของผู้หญิงมีขนาด ๖นิ้ว ซึ่งไม่เล็กเท่า โครงกระดูดเท้าในศตวรรษที่๑๖ ที่มีขนาดประมาณ ๓ นิ้ว แสดงให้เห็นว่า "การรัดเท้า" มีความนิยมอย่างมากในยุคสมัยนั้น
บางข้อมูลกล่าวว่า "การรัดเท้า" ปรากฎในช่วงราชวงศ์ซ่งหรือแม้กระทั่งราชวงศ์หมิง และเป็นที่นิยมทุกชั้นวรรณะ
"การรัดเท้า" จะทำตั้งแต่อายุ ๔-๗ ขาบ เพราะกระดูกยังอ่อน เท้ายังไม่โตมาก ทำให้เท้าที่ถูกรัดไม่เจ็บปวดมากนัก ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด นับตั้งแต่เริ่มรัดเท้าเด็กจะมีความเจ็บปวดเป็นเวลา๔-๕ ปีกว่าจะเข้าที่ ถือว่าเป็นช่วงที่เจ็บปวดมากที่สุดของเด็กผู้หญิงที่ถูกบังคับให้รัดเท้า ซึ่งจะต้องรัดให้แน่น และจะต้องมัดตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เท้าขยาย ผ้าที่มัดเท้าจะแก้ได้ก็ต่อเมื่อล้างเท้าเท่านั้น
เนื่องจาก คนจีนให้ความสำคัญกับจารีตประเพณีและความเชื่อ"การรัดเท้า" จึงมักจะเลือกฤกษ์วัน
โดยการรัดเท้าจะทำกันในฤดูใบไม้ร่วง เพื่อความเย็นจะทำให้รู้สึกชา และบรรเท้าความรู้สึกเจ็บปวดของเท้า
เริ่มแรก ผู้รัดเท้าจะนำเท้าไปแช่ในน้ำสมุนไพรและเลือดสัตว์ก่อน ตามด้วยการตัดเล็บให้สั้นที่สุด บางคนดึงเล็บออกก็มี เพื่อให้เท้าอ่อนนุ่ม การรัดเท้าจะทำได้ง่าย โดยเริ่มจากการพับนิ้วเท้าทั้ง ๔ นิ้วตั้งแต่นิ้วชี้ถึงนิ้วก้อยให้พับลงไปหาฝ่าเท้า ถ้ากระดูกแข็งหน่อย ก็อาจจะต้องหักนิ้ว โดยจะเหลือนิ้วโป้งไว้
หลังจากนั้น ก็นำผ้ามาหุ้มเท้าที่ถูกกดไว้และรัดอย่างแน่นหนา เย็บด้วยผ้าชั้นนอกอีกที เพื่อที่จะเด็กผู้หญิงที่ถูกรัดเท้าจะได้ไม่สามารถแกะผ้าออกได้
หากเด็กหญิงเหล่านี้ไม่ยอมรัดเท้า ก็จะถูกพ่อแม่ เฆี่ยนตี ดุ ด่า อย่างทารุณ และเมื่อโตขึ้นจะไม่มีคนมาขอแต่งงาน
สตรีที่มีเท้าขนาดเล็ก และเท้าได้กลายเป็นของสงวนของสาวๆ ที่สร้างความเย้ายวนใจมากกว่าส่วนอื่นๆ เพราะการที่ดูแลเท้าที่ต้องปกปิด ห้ามไม่ให้ใครเห็น ผู้หญิงที่รัดเท้าจะไม่พูดถึงการรัดเท้าต่อหน้าผู้ชายหรือสาธารณะ จนเท้ากลายเป็นสิ่งล้ำค่าหวงแหนดุจดั่งทองคำ
โดยเท้าดอกบัวที่สวยงามจะมีลักษณะ คือ บางเรียว เล็ก หอม นุ่ม และจะต้องมีขนาดที่เท่ากัน จนมีสำนวนจีนที่ว่า "ซันชุ่นจินเหลียน"(三寸金莲)
ขนาดของเท้าจะถูกลดลงเหลือ ๓-๔ นิ้ว และมีขนาดมากสุดไม่เกิน ๕ นิ้ว ทำให้การเคลื่อนไหวมักมีปัญหา เท้าที่ถูกดัดเป็นเส้นโค้งดั่งจันทร์เสี้ยวนี้ เรียกว่"เท้าดอกบัว"
ขนาดเท้าที่สวยที่สุด คือ ๓ นิ้ว จะเรียกว่า "เท้าดอกบัวทองคำ" หากยาว ๔ นิ้ว เรียกว่า "เท้าดอกบัวเงิน" และขนาดที่เกิน ๔ นิ้ว เรียกว่า "เท้าดอกบัวเหล็ก"
ประเพณีการรัดเท้าถือได้ว่า สร้างความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานให้แก่ผู้หญิงยุคนั้นเป็นอย่างมาก ผู้หญิงนับไม่ถ้วนต้องพิการหรือเสียชีวิตจากการถูกมัดเท้า
อย่างไรก็ตาม "การรัดเท้า" ก็มักจะมีการติดเชื้อ และการไหลเวียนของเลือดที่ผิดปกติด้วย ซึ่งมีจำนวนมากต้องตายเพราะการติดเชื้อและการเน่าตายของเนื้อเท้า
ในสมัยราชวงศ์ชิง ดูจะไม่ชอบใจกับประเพณีการรัดเท้า ทรงมีราชโองการให้เลิกประเพณีดังกล่าว โดยจะลงโทษพ่อแม่ของผู้ที่ฝ่าฝืน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
ถึงในปัจจุบันจะมีผู้หญิงจีนที่ไม่ต้องรัดเท้าอีกต่อไป แต่ก็ยังมีหญิงชราที่เคยรัดเท้า และมีเท้าขนาดเล็กหลายคนมีชีวิตอยู่ ภายในไม่กี่ทศวรรษ ประเพณี"การรัดเท้า" จะกลายเป็นที่ลืมเลือนและตำนาน เล่าขาน
Reference
https://www.catdumb.com/foot-binding-044/
.
https://www.silpa-mag.com/history/article_19060
https://victorytale.com/th/foot-binding-china/
https://archaeogo.wordpress.com/2018/10/09/chinese-foot-binding-history/
https://www.google.co.th/url?sa=t&source=https://www.tci-thaijo.org
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย