Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ณัฐมาคุย
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
23 มี.ค. 2021 เวลา 16:00 • ธุรกิจ
ดราม่าการบินไทย: ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่การบินไทยคำนวณให้ ปลอดภัยจริงเหรอ?
ก่อนที่จะไปพูดถึงการประเมินผลของการบินไทย ผมขอเล่าข้อมูลเพิ่มเติมให้ฟังเพิ่มอีกนิดนึง
เรื่องของการบินนั้น หลายๆ ท่านอาจจะไม่ทราบว่า การบินนั้นเป็นเรื่องของมาตรฐานสากล เพื่อความปลอดภัย จนวันนี้ การเดินทางโดยเครื่องบินเป็น การเดินทางที่มีความปลอดภัยสูงที่สุดเมื่อคิดเป็นสัดส่วนของจำนวนผู้โดยสารxไมล์ (passenger mile) โดยมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 0.07 ต่อ 1 พันล้าน passenger mile ปลอดภัยกว่ารถมอเตอร์ไซค์ที่ 212.57 และรถยนต์ที่ 7.28
และอย่างที่เล่าไปในตอนก่อนหน้านี้ว่า สถิติอุบัติเหตุที่เกิดจากน้ำมันหมดกลางอากาศนั้นมีจำนวนน้อยมากๆ ที่เกิดกับเที่ยวบินพาณิชย์ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา มีไม่น่าจะถึง 50 เคส อย่างในปี 2019 ก่อนช่วงโควิด ที่มีเที่ยวบินประมาณ 40 ล้านเที่ยวนั้น ไม่มีปัญหาของน้ำมันเชื้อเพลิงหมดกลางอากาศเลยแม้แต่เคสเดียว ทั้งนี้เป็นเพราะสายการบิน และหน่วยงานกำกับดูแลการบิน มีการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยสูงขึ้น รวมไปถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ที่เข้ามาช่วยในการคำนวณการใช้เชื้อเพลิงให้แม่นยำมากขึ้น
ดังนั้น การที่จะมาบอกว่าต้องมีน้ำมันเหลือเยอะจนเกินความพอดีเพื่อความปลอดภัยนั้น เป็นเรื่องที่โดนทำให้เป็นเรื่องใหญ่เกินความจริงไปมาก
มาตรฐานการบินของไทยนั้นใช้มาตรฐานสากลของ ICAO หรือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์กรที่ควบคุมมาตรฐานการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับการบินพลเรือนในระดับสากล ที่ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกภาคี ร่วมกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลกอีก 191 ประเทศ และอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 แก้ไขเพิ่มเติมครั้งล่าสุดโดย พระราชบัญญัติการเดินอากาศ ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2562 และกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไว้ใน ข้อบังคับคณะกรรมการบินพลเรือน ฉบับที่ 78 ว่าด้วยการเดินอากาศของอากาศยาน มีการกำหนดให้การวางแผนการบิน รวมไปถึงการควบคุมปริมาณเชื้อเพลิง เป็นภาระหน้าที่ของนักบิน และผู้ควบคุมการบิน ที่จะต้องลงนามรับรองล่วงหน้าก่อนบินในทุกเที่ยวบิน
กฎดังกล่าวสอดคล้องกับมาตรฐานสากลของ ICAO และสามารถหาอ่านได้ตามลิงก์ด้านล่างว่า ICAO กำหนดรายละเอียดไว้อย่างไร
นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานทั้งไทยและต่างประเทศเข้าทำการตรวจสอบสถิติข้อมูลการบินทั้งหมด รวมทั้งสถิติการวางแผนการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงว่ามีความถูกต้องเหมาะสมเพียงใด และรับรองได้ว่าไม่มีสายการบินใดต้องการเสี่ยงประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงจนอาจจะทำให้สอบตกกับหน่วยงานตรวจสอบเหล่านี้ เพราะนั่นอาจจะทำให้สายการบินนั้นไม่สามารถบินไปยังสนามบินบางแห่งได้เลยทีเดียว ซึ่งเป็นการเสียหายที่ใหญ่มากๆ เลยทีเดียว
ส่วนในด้านของนักบินเอง หากวางแผนการบินไม่ดี จนกระทั่งต้องใช้น้ำมัน Final Reserve ก็จะต้องถูกสอบสวนอย่างหนัก และอาจจะถูกลงโทษได้ จึงยิ่งเป็นอีกหนึ่งในสิ่งที่จะทำให้ผู้โดยสารมั่นใจได้ว่า นักบินจะตัดสินใจเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างพอเพียงแน่นอน
ที่มา:
https://www.sheffield.com/air-travel-safest-mode-transportation#:~:text=Air%20travel%20resulted%20in%200.07,and%20you%20continue%20to%20fly
!
https://www.airports.go.th/th/gov_law/21/1014.html
https://aviation.stackexchange.com/questions/3740/what-are-the-icao-fuel-reserve-requirements#:~:text=General%20Aviation&text=3.6%20%22Fuel%20and%20oil%20supply,reach%20destination%20plus%2045%20minutes
https://tpad.police.go.th/downloads/dynamic/dynamic-1212145.pdf
1 บันทึก
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ดราม่าการบินไทย
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย