Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Reporter Journey
•
ติดตาม
24 มี.ค. 2021 เวลา 04:27 • ข่าว
ความสูงของตู้โดยสารรถไฟเมื่อเทียบกับความสูงชานชาลา
สิ่งแรกที่ผู้เขียนตกใจในข้อมูลคือ ชานชาลาของสถานีรถไฟส่วนใหญ่ทั่วประเทศไทย มีความสูงเพียง 23 เซนติเมตร ซึ่งนั่นสูงน้อยกว่าบันไดขั้นแรกที่จะขึ้นไปบนตู้โดยสาร ทำให้เวลาที่เราจะก้าวขึ้นหรือลงจากตัวรถจึงต้องออกแรงเดินขึ้นลงค่อนข้างมาก พูดง่ายๆ คือเราโหนขึ้นลงรถไฟกันมานานนม
หากชานชาลามีความสูงที่ 50 เซนติเมตร นั่นก็จะเท่ากับบันไดขั้นแรกของตัวรถ
หากชานชาลามีความสูงที่ 80 เซนติเมตร นั่นก็จะเท่ากับบันไดขั้นที่ 2 ของตัวรถ
และหากชานชาลามีความสูงที่ 1.10 เมตร นั่นก็จะเท่ากับพื้นทางเดินด้านในของขบวนรถ
ที่จำแนกความสูงแบบนี้ก็เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนว่าความสูงในแต่ละเซนติเมตรมีความสูงเป็นเท่าไหร่ของตู้โดยสารนั่นเอง
การสร้างชานชาลาแบบชานสูง มันคือการคำนึงถึงหลัก Universal Design หรือ อารยสถาปัตย์ ที่ให้คนทุกๆ กลุ่มสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งถ้าเป็นตามหลักการสากลนี้ การสร้างแบบชานสูงจึงมีความจำเป็น เพราะสุดท้ายแล้วรถไฟทั้งหมดของไทยก็จะต้องเปลี่ยนเป็นแบบชานสูงทั้งหมด
อีกทั้งเมื่อประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ครั้นจะให้ตัวเองแข็งแรงโหนขึ้นโหนลงรถไฟแบบตอนเป็นหนุ่มเป็นสาวก็คงจะลำบากไม่น้อย หรือแม้แต่ผู้ที่ต้องนั่งรถเข็น ผู้สูงอายุที่ต้องใช้ไม้เท้า ที่ย่อมขึ้นและลงจากตัวรถลำบาก ต่างก็คงไม่มีใครอยากจะถูกปิดกั้นการใช้งานระบบขนส่งมวลชนที่คนทุกกลุ่มควรจะได้ใช้เหมือนกัน
หากอยากพัฒนาคุณภาพชีวิต ก็ควรมองที่เรื่องเล็กๆ เหล่านี้ให้ได้ก่อน ถ้าเพียงแค่นี้ยังมองไม่เข้าใจ ก็ไม่ควรคิดการใหญ่กว่านี้
ไม่ใช่แค่รถไฟ แต่รถเมล์ก็ควรต้องเปลี่ยนด้วย เพราะรถเมล์เก่าแบบชานสูงก็คืออุปสรรคการเดินทางของคนหลายกลุ่มเช่นกัน ต่อให้คนแข้งขาดี ก็ลื่นตกบันไดรถเมล์มานักต่อนัก ดังนั้นพื้นรถเมล์แบบชานต่ำควรรีบนำมาใช้ให้ครอบคลุมโดยเร็ว แม้วันนี้จะมีให้เห็นบ้าง แต่ก็ยังถือว่าช้าเกินไปที่จะตอบสนองความต้องการของประชาชน
4 บันทึก
7
2
4
7
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย