24 มี.ค. 2021 เวลา 18:30 • ประวัติศาสตร์
ชุดเกราะในสมัยสงครามโลกครั้งที่1
ในสงครามที่มีการต่อสู้อันดุเดือด สิ่งที่จะเอาชนะศัตรูนั้นมีปัจจัยหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะการวางแผน กำลังพล อาวุธเทคโนโลยี หรืออื่นๆ ที่ทำให้ฝ่ายตนนั้นสร้างความได้เปรียบมากกว่าฝ่ายตรงข้าม ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นอกจากอาวุธที่ทุกประเทศได้พัฒนาแลคิดค้นสร้างขึ้นมาแล้ว เหล่าผู้นำยังคำนึงถึงสิ่งที่จะสามารถช่วยปกป้องและรักษาชีวิตทหารในสนามรบได้ โดยมีการคิดค้นและสร้างชุดเกราะขึ้นมาให้กับทหาร โดยมีต้นแบบมาจาก ชุดเกราะของอัศวินในยุคกลาง วันนี้แอดจะพามาหาคำตอบกันว่า ชุดเกราะที่ได้นำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่1 นั้นจะมีประโยชน์และช่วยรักษาชีวอตของทหารในสนามรบได้มากแค่ไหน
โดยเรื่องนี้เริ่มมาจากในช่วงต้นของการเริ่มสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้น เหล่าทหารยังคงไม่ได้รับเครื่องป้องกันที่ได้มาตราฐาน มีเพียงเครื่องแบบและอาวุธปืนที่ได้รับมา ส่วนเรื่องป้องกันหัวนั้นยังคงเป็นแบบหมวกผ้าใบในแต่ละประเทศ การรบในช่วงแรกนั้น ทหารม้าแทบไม่มีบทบาททางการรบมากเท่าไหร่เพราะ เริ่มมีการพัฒนาปืนกลขึ้นมาทำให้การรบแบบใช้ทหารม้าพุ่งใส่แทบจะไม่มีพลอะไรเลย และเริ่มการพัฒนาทางด้านอาวุธปืนใหญ่และปืนครก จนสามารถมีระยะการยิงและการทำลายที่มากขึ้น การรบจึงเน้นไปทางขุดสนามเพลาะเป็นแนวยาวและใช้ปืนไรเฟิลและปืนใหญ่ยิงใส่กันเป็นส่วนมาก
ภาพจากPinterest
โดยในภายหลังเริ่มมีผลสรุปออกมาว่าอัตราการเสียชีวิตส่วนมากมักพบที่บริเวณหัวเนื่องจากตอนนั้นทหารยังคงสวมแค่หมวกผ้าใบเท่านั้นและเมื่ออยู่ในสนามเพลาะส่วนหัวจึงเป็นเป้ายิงที่โผล่ออกมาให้เห็นเป็นส่วนใหญ่ โดยในช่วงเปิดสงครามสี่สัปดาห์ฝรั่งเศสสูญเสียทหาร 250,000 คน
ใช้เวลานานถึงสองปีในการเสียชีวิตก่อนที่กองทัพของยุโรปจะทำการผลิหมวกเหล็กเพื่อนำไปให้ทหารใช้สวมใส่เพื่อป้องกันศรีษะจากการถูกยิงเข้าที่หัวซึ่งก็พอที่จะลดจำนวนผู้เสียชีวิตลงได้บ้าง
แต่ยังไงก็ตามดูเหมือนหมวกเหล็กของทางสัมพันธมิตรนั้นจะยังมีข้อบกพร่องอยู่เป็นส่วนมากเพราะมันไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะป้องกันส่วนหัวและลำคอได้มิดชิดทุกมุม แต่ต่างจากหมวกเหล็กของทหารเยอรมันที่มีความแข็งแรงและทนทานมากกว่าโดยมีต้นแบบมาจากหมวกเหล็กของอัศวินในยุคกลาง ที่เรียกว่า Salade (หรือ Sallet)
ภาพถ่ายหมวก Salade (หรือ Sallet) อัศวันหรือทหารในยุคกลางมักสวมใส่
และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ทางทหารทางฝ่ายเยอรมันมีความมั่นใจเพราหมวกเหล็กมีความแข็งแรงและปกป้องศีรษะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่างจากทางฝั่งสัมพันธมิตรที่ ประสิทธิภาพไม่ได้มีความแข็งแรงมากมายจึงทำให้ทหารยังคงกังวลอยู่เล็กน้อย
หลังจากแก้ปัญหาเรื่องส่วนหัวไปได้แล้ว แต่ยังมีส่วนอื่นตามมาอีก เนื่องด้วยสภาพของการรบเป็นสนามเพลาะทำให้การโจมตีส่วนใหญ่มักจะนิยมยิงปืนใหญ่หรือปืนครกให้ไปตกในสนามเพลาะของอีกฝ่ายซะเป็นส่วนมาก โดยมีรายงานของทางแทย์ระบุว่า 70-95เปอร์เซ็นนั้นบาดแผลมักเกิดจากชิ้นส่วนสเก็ดระเบิดจากปืนใหญ่ที่ทำให้ทหารเสียชีวิต
ทำให้ทุกประเทศเริ่มคิดหาทางป้องกันทางจากเสก็ดระเบิดนั้นจึงเป็นที่มาของการเริ่มมีการผลิตชุดเกราะให้กับทหารโดยเริ่มถอดแบบมาจากชุดเกราะอัศวินในยุคกลาง
1
โดยในครั้งแรกทางฝั่งของเยอรมันเริ่มแจกจ่ายชุดเกาะที่ผลิตมาให้กับพลปืนกลและกองทหารบางหน่วยได้ใช้ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกุ้ง
ภาพถ่ายของชุดเกราะที่ทางฝั่งเยอรมัน
หลังจากนั้นไม่นานหลายๆประเทศก็เริ่มผลิตชุดเกราะให้กับทหารของตนซึ่งแอดจะนำให้ดูซึ่งจะแบบไหนบ้างมาดูกันเลย
ภาพถ่ายชุดเกราะของทหารอิตาลี
ภาพชุดเกราะของทางฮังการี่
ภาพชุดเกราะของทางสหรัฐอเมริกา อันนี้ดูแล้วน่าจะเคลื่อนที่ได้ลำบากพอตัวเลย
ภาพชุดเกราะอีกแบบของทางสหรัฐอเมริกา ป้องกันบริเวณส่วนบนและแขนของผู้สวมใส่เกือบทั้งหมด
ภาพชุดเกราะของทางฝรั่งเศส
ภาพชุดเกราะของทางอังกฤษ ลักษณะคล้ายกับทางอเมริกาป้องกันส่วนบนและบริเวณแขนของผู้ใส่
ทั้งหมดนี้เป็นแค่บางส่วนของชุดเกราะที่ทหารได้ใช้ในสนามรบ ยังมีอีกหลากหลายประเภทและหลายแบบซึ่ง ประสิทธิภาพของชุดเกราะเหล่านี้สามารถช่วยป้องกันทหารได้จากกระสุนปืนและสเก็ดระเบิดได้
ถ้ามันดีแล้วทำไมถึงไม่ทำออกมาเยอะๆละ?
เนื่องด้วยทรัพยากรและจำนวนทหารที่เข้าร่วมรบในขนาดนั้นการที่จะผลิตชุดเกราะให้กับทุกคนต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก
และถึงมันจะช่วยป้องกันทหารได้ดีแต่มันก็ยังมีข้อเสียอยู่ อย่างการที่มีน้ำหนักที่มากทำให้เคลื่อนที่ได้ช้าและถ้าเกิดผู้ใส่เกิดจมโคลนหรือบึงก็ยากที่จะขยับตัวลำบากจนต้องถอดทิ้ง ถ้าหากตัวผู้ใส่เกิดติดไฟหรือไฟไหม้ตัวก็ยากที่จะถอดออกทัน ไหนจะเรื่องการทำความสะอาดและการดูแลรักษาซึ่งอาจเกิดสนิมขึ้นถ้าไม่ทำความสะอาดให้ดี รวมไปถึงบางอันก็ไม่สามารถที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ได้
นั้นจึงเป็นเหตุให้ชุดเกราะนั้นได้ถูกผลิตให้กับแค่ทหารบางหน่วยเท่านั้นและมันได้ถูกใช้เพียงในช่วงเวลาที่สั้นเพราะเปลืองงบประมาณและทรัพยากร ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่1จึงไม่มีการผลิตชุดเกราะออกมาให้กับทหารอีก
1
และนี่คือเรื่องของชุดเกราะที่ได้มีการนำเอามาใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่1 ซึ่งก็นับว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวของมัน
โฆษณา