Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
27 มี.ค. 2021 เวลา 02:40 • ธุรกิจ
ยูนิคอร์นใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ทำธุรกิจอะไร ?
1
ประเทศสวีเดน เป็นต้นกำเนิดของธุรกิจที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายบริษัท
ยกตัวอย่างชื่อที่เราน่าจะรู้จักกันดี เช่น
- IKEA ห้างค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์
- H&M ร้านเสื้อผ้าฟาสต์แฟชั่น
- Spotify แพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลง
7
และสำหรับวงการสตาร์ตอัป
ในตอนนี้ สวีเดนก็มีสตาร์ตอัประดับยูนิคอร์น ชื่อว่า “Klarna”
ซึ่งมีมูลค่าบริษัท 9.5 แสนล้านบาท
ใหญ่ที่สุดในบรรดาสตาร์ตอัปของทวีปยุโรป
1
แล้ว Klarna ทำธุรกิจอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Klarna เป็นบริษัทเทคโนโลยีกลุ่มธุรกิจ FinTech จากประเทศสวีเดน
ก่อตั้งขึ้นในปี 2005 โดยคุณ Sebastian Siemiatkowski, คุณ Niklas Adalberth และคุณ Victor Jacobsson
2
โดยก่อนหน้านี้ คุณ Siemiatkowski เคยทำงานที่บริษัทบริการติดตามหนี้ให้กับร้านค้าออนไลน์
2
ซึ่งเขาพบว่าในขณะนั้น ระบบชำระเงินบนเว็บไซต์ E-commerce ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน
ทำให้คนไม่กล้าซื้อสินค้าออนไลน์ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายเงิน จนผิดนัดชำระ
1
ด้วยเหตุนี้ คุณ Siemiatkowski จึงเห็นโอกาสสร้างแพลตฟอร์มระบบชำระเงิน
เพื่อช่วยให้การซื้อสินค้าออนไลน์ มีความสะดวกสบายมากขึ้น
1
โดยมีแนวคิดเสนอทางเลือกให้ลูกค้าสามารถ “ซื้อก่อน ค่อยจ่ายทีหลัง” ได้ แบบไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือดอกเบี้ย
3
เขาเลยเล่าไอเดียให้เพื่อนมหาวิทยาลัยฟัง คือ คุณ Adalberth กับคุณ Jacobsson
ซึ่งต่อมา ทั้ง 3 คน ก็ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Klarna ขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรก พวกเขากลับประสบปัญหาในการระดมทุน
เพราะนักลงทุนมองไม่ออกว่า บริษัทจะทำกำไรได้อย่างไร หากไม่มีการเก็บดอกเบี้ย รวมทั้งยังต้องรับความเสี่ยงกรณีผู้ซื้อไม่จ่ายเงินตามกำหนดแทนร้านค้าออนไลน์อีกด้วย
3
จนกระทั่ง คุณ Jane Walerud นักลงทุนชื่อดังของสวีเดน มีความสนใจในโมเดลธุรกิจดังกล่าว และให้เงินทุน 2.2 ล้านบาท พร้อมแนะนำนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้อีก 5 คน แลกกับหุ้นสัดส่วน 47% ของบริษัท
6
Cr. Breakit
นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจที่ดูไม่น่าเกิดขึ้นได้อย่าง Klarna..
1
ในปัจจุบัน ผู้ใช้บริการแพลตฟอร์ม Klarna มีทางเลือกในการจ่ายเงินซื้อสินค้าออนไลน์ ดังนี้
1. จ่ายเต็มจำนวน ใน 30 วันข้างหน้า ซึ่งเหมาะกับคนที่ต้องการลองใช้สินค้าก่อน เช่น เสื้อผ้าแฟชั่น
1
2. แบ่งผ่อนชำระ 4 งวด โดยไม่มีการคิดดอกเบี้ย ซึ่งมีกำหนดจ่ายทุก ๆ 2 สัปดาห์
3. ขอกู้สินเชื่อมาจ่ายค่าสินค้า โดยมีกำหนดเวลาคืนเงินกู้ 6 - 36 เดือน ซึ่งวงเงินและอัตราดอกเบี้ย ขึ้นอยู่กับข้อมูลเครดิตและประวัติของลูกค้า
โดยหากลูกค้าไม่จ่ายเงินตามกำหนดเวลา ก็จะมีค่าปรับประมาณ 1,000 บาท และ Klarna ก็จะขายหนี้เสียเหล่านั้น ไปให้กับบริษัทติดตามทวงหนี้ต่อไป
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงเริ่มสงสัยเหมือนกันแล้วว่า
ถ้าลูกค้าส่วนใหญ่จ่ายเงินตรงเวลา Klarna จะหากำไรมาจากไหน ?
3
เมื่อไม่คิดดอกเบี้ยกับฝั่งลูกค้า บริษัทจึงหันไปเก็บค่าบริการจากร้านค้าออนไลน์แทน
2
โดย Klarna จะหักค่าบริการคงที่ประมาณ 10 บาทต่อรายการ และคิดค่าบริการส่วนเพิ่มอีก 3.29 - 5.99% ของมูลค่าซื้อขายสินค้า ขึ้นอยู่กับรูปแบบการผ่อนชำระของลูกค้า
8
นอกจากนั้น ยังมีรายได้เพิ่มเติมจากการขายระบบวิเคราะห์ข้อมูล และระบบแช็ตติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ในรูปแบบ Subscription ประมาณ 900 บาทต่อเดือน
2
คำถามถัดมา คือ ทำไมผู้ขายสินค้าถึงยอมจ่ายค่าบริการให้กับ Klarna ?
เหตุผลเนื่องจาก เมื่อลูกค้าจ่ายเงินซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น และมีทางเลือกให้ค่อย ๆ ผ่อนชำระได้
มันส่งผลให้ยอดขายของร้านค้าออนไลน์ ดีขึ้นอย่างชัดเจน
10
จากผลสำรวจพบว่า แพลตฟอร์ม Klarna ช่วยให้ร้านค้าออนไลน์มีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น 44% และมียอดสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น 68% ซึ่งคุ้มค่ากับเงินบางส่วนที่หักไปจ่ายให้ Klarna
4
และไม่ว่าลูกค้าจ่ายเงินตามกำหนดหรือไม่ ร้านค้าออนไลน์ก็จะได้รับเงินจาก Klarna มาตั้งแต่แรกเลย ซึ่งลดความเสี่ยงเรื่องเงินทุนหมุนเวียนของกิจการไปได้มาก
6
ทำให้มีแบรนด์ดัง ตกลงร่วมเป็นพาร์ตเนอร์กับ Klarna กว่า 250,000 ราย ใน 17 ประเทศทั่วโลก เช่น H&M, Etsy, Calvin Klein, Sephora
1
ซึ่งทำให้ Klarna เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการระบาดของโควิด 19 ที่คนเปลี่ยนมาชอปปิงทางโลกออนไลน์กันมากขึ้น
3
Cr. Klarna
โดยล่าสุด มีผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม 90 ล้านราย และมียอดทำรายการกว่า 2 ล้านครั้งต่อวัน
ลองมาดูผลประกอบการของ Klarna
ปี 2018 รายได้ 20,000 ล้านบาท กำไร 400 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 26,000 ล้านบาท ขาดทุน 3,200 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 36,000 ล้านบาท ขาดทุน 5,000 ล้านบาท
1
จริง ๆ แล้ว ที่ผ่านมา Klarna เป็นสตาร์ตอัปที่ทำกำไรมาได้ตลอด
แต่ในระยะหลัง บริษัทมีการขยายธุรกิจไปหลายประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
จึงทำให้มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการขยายกิจการ และต้องขาดทุน
2
ทั้งนี้ จากการระดมทุนรอบล่าสุดในปี 2021
Klarna ถูกประเมินมูลค่าบริษัทไว้อยู่ที่ 9.5 แสนล้านบาท
ซึ่งถือเป็นสตาร์ตอัประดับยูนิคอร์น ที่มีขนาดใหญ่สุดในทวีปยุโรป
1
โดยมีบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เข้ามาลงทุนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Ant Group, H&M, Visa รวมถึงบริษัทและกองทุนชื่อดังอย่าง Sequoia Capital และ BlackRock
1
อย่างไรก็ตาม โมเดลธุรกิจแบบ ซื้อก่อน-จ่ายทีหลัง ของ Klarna
มักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้คนใช้จ่ายเกินตัว และก่อหนี้สินมากกว่าที่จำเป็น
ซึ่งหน่วยงานภาครัฐก็มีแนวโน้มเข้ามากำกับอย่างเข้มงวดในอนาคตเช่นกัน
6
Cr. Finovate
เรื่องราวนี้แสดงให้เห็นว่า
ผู้บริโภคกำลังได้รับประโยชน์จากการพัฒนาของเทคโนโลยี ที่ทำให้ชีวิตมีทางเลือกมากมาย
ดังเช่นการซื้อสินค้าออนไลน์ ที่จะจ่ายเงินเต็ม ผ่อน หรือกู้ยืม ก็ได้
1
ซึ่งทำให้แพลตฟอร์มตัวกลางอย่าง Klarna
กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงกว่าธนาคารหรือธุรกิจบัตรเครดิตบางแห่งเสียอีก
1
แต่เราคงต้องไม่ลืมด้วยว่า
จริง ๆ แล้ว ตัวเรามีความสามารถในการซื้อสินค้าเหล่านั้นได้มากน้อยแค่ไหน
เพราะไม่ว่าจะผลักภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ออกไปไกลเท่าไร
สุดท้ายที่ปลายทาง เรายังคงต้องจ่ายมันทั้งหมดอยู่ดี..
References
-
https://productmint.com/the-klarna-business-model-how-does-klarna-make-money/
-
https://www.investopedia.com/articles/personal-finance/121316/how-klarna-lets-you-pay-later-no-interest.asp
-
https://www.cnbc.com/2021/02/25/klarna-to-raise-1-billion-at-31-billion-valuation.html
-
https://www.klarna.com/international/about-us/
-
https://www.klarna.com/assets/2021/02/25062747/Annual-Financial-Statement-Release-Klarna-Bank-AB-publ-2020-Final.pdf
136 บันทึก
178
1
164
136
178
1
164
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย