Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เพราะโลกไม่ได้กว้างเกินไปกว่าใจ
•
ติดตาม
26 มี.ค. 2021 เวลา 02:09 • สุขภาพ
เชื่อไหมว่า “การสูดกลิ่นตด” ช่วยรักษาโรคได้!!! และประโยชน์ของการผายลมที่คุณคาดไม่ถึง!!!
จัดเต็ม จัดหนักกันเลยทีเดียว!!!
“ผายลม” (Flatus) คือการปล่อยให้ลมออกทางรูก้น หรือเรียกอีกอย่างว่า “ตด”
แน่นอนว่าทุกคนล้วนแต่เคยผ่านการผายลมมาแล้วทั้งนั้น เพราะจะว่าไปแล้ว มันคือเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิดเลยนะ
ทำไมต้องผายลม?
มันเป็นเรื่องธรรมชาติ
อันที่จริงแล้วการผายลมกับอุจจาระนั้นเป็นเรื่องเดียวกันครับ เพียงแต่ว่าผายลมนั้นสิ่งที่ออกมาคือแก๊ส ซึ่งถือว่าเป็นการระบายสิ่งที่ไม่ดีออกมาจากร่างกายโดยการบีบตัวของลำไส้ใหญ่
หากวันทั้งวันไม่ผายลมเลย นั่นแสดงว่าคุณกำลังพบกับความผิดปกติของร่างกายเข้าแล้วนะ อาทิเช่น การป่วยโรคลำไส้ใหญ่อุดตัน หรือมะเร็ง ฯลฯ หากเกิดกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรงอาจบอกได้ว่าภายในลำไส้มีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอยู่มากก็เป็นได้
1
แล้วกลิ่นจากการผายลมล่ะมาได้ยังไง?
ขมคอ!!! บางคนนี่กลิ่นโหดเอาเรื่องเลย!!!
สาเหตุนั้นเกิดจากก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide) ที่เกิดจากการเน่าเสียของอาหารที่ทานเข้าไป และตกค้างอยู่ในร่างกาย เมื่ออาหารเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการย่อยก๊าซที่ว่าก็จะถูกปล่อยออกมา ซึ่งมีความเหม็นหลายระดับต่างกันไปตามแต่ละบุคคล
ปกติแล้วคนเราผายลมวันละกี่ครั้ง?
ลองนับดูนะว่าปกติไหม?
โดยเฉลี่ยแล้วคนเราจะผายลมวันละ 14-22 ครั้ง หรืออาจมากถึง 40 ครั้งต่อวันเลยทีเดียว ซึ่งถือว่าเป็นอีกกระบวนการขจัดของเสียออกจากร่างกายวิธีหนึ่ง ซึ่งถ้าคุณผายลม ขอให้รู้ไว้เลยว่า คุณเป็นคนสุขภาพดี ไม่มีปัญหาเรื่องระบบการย่อย และการขับถ่ายนะ
1
2
ประโยชน์ของการผายลมที่ดีต่อสุขภาพ
1. ขับลมในท้อง แก้อาการท้องอืด แม้ว่าจะรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ แต่บางครั้งคุณก็ต้องเจอกับอาการท้องอืดจนได้ โดยเฉพาะหากคุณรับประทานถั่ว นั้นยิ่งทำให้ท้องอืด แต่โชคดีที่ร่างกายมนุษย์เรามาพร้อมกับวาล์วปล่อยความดัน ดังนั้น การผายลม ก็เปรียบเสมือนการปล่อยก๊าซ เมื่ออาหารไม่ได้ย่อยจะทำให้เกิดแก๊ส คุณสามารถแก้ไขด้วยวิธีการดังนี้ คือการนอนหงาย และดึงเข่าข้างหนึ่งไปยังหน้าอกของคุณ ตำแหน่งนี้เรียกว่า "pawanmuktasana" จากนั้นก็ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ
2. กลิ่นของการผายลมสามารถบอกอาการป่วยของร่างกายได้ เช่นอาการป่วยจากอาหารเป็นพิษ หรือสุขภาพของระบบย่อยอาหาร เช่น การตดที่มีเสียงดัง และกลิ่นเหม็นมาก ๆ นั้น แปลว่ามีอาหารที่ไม่ได้รับการย่อยเท่าที่ควร หรือถ้ารู้สึกเจ็บเวลาตดนั่นหมายความว่าคุณควรไปปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้แล้วล่ะ
เหม็นโหดขนาดนี้ไปหาหมอเถอะ!!!
3. การรับก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ในปริมาณที่มากเกินไปอาจเป็นอันตราย แต่หากรับในปริมาณที่พอดี อย่างกลิ่นตดจาง ๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงทั้งโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบและภาวะสมองเสื่อมได้ ดร. มาร์ค วูด ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเอ็กเซทเตอร์ได้กล่าวไว้ แต่เพื่อความสบายใจดมของตัวเองดีกว่าเนอะ
2
4
ไม่ต้องใจดีเผื่อแผ่คนอื่นนะ เพราะอาจหูพังได้!!!
4. การผายลมทำให้รู้ว่าคุณขาดสารอาหารใด ถ้าคุณไม่ค่อยผายลม นั่นก็เป็นเพราะ จุลินทรีย์ในลำไส้ของคุณไม่ได้รับสารอาหารที่ต้องการ หมายความว่าคุณต้องกินคาร์โบไฮเดรตให้มากขึ้น เช่น ถั่ว เมล็ดธัญพืช กะหล่ำปลี หัวหอม เป็นต้น ทั้งนี้ หากคุณอยู่ในวัยใกล้วัยหมดประจำเดือน คาดว่าความถี่ในการผายลมจะเพิ่มมากยิ่งขึ้น การทานอาหารจำพวกโปรไบโอติกก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะรักษาลำไส้ ให้คุณมีสุขภาพดีในระยะยาวได้
5. การผายลมนั้นช่วยลดความดันในลำไส้ได้ ซึ่งการอั้นบ่อยอาจทำให้ลำไส้เกิดการบีบตัวอย่างหนัก และนำไปสู่โรคริดสีดวงทวารได้เช่นกัน
ลดการเกิดริดสีดวงทวารได้ด้วยนะ
6. บอกได้ว่าสำไส้มีแบคทีเรียที่ดีพอหรือไม่ โดยส่วนมากคนที่ผอม และแข็งแรง มักจะมีระบบย่อยที่ดี จึงมักจะผายลมบ่อย เนื่องจากลำไส้มีแบคทีเรียที่ดีที่ช่วยย่อยสลายอาหารที่เรารับประทาน วิธีเพิ่มกาาทำงานของระบบย่อยอาหารคือ เลือกรับประทานผักใบเขียว บร็อคโครี่ หรือกะหล่ำปลี เป็นต้น
7. ทำให้รู้สึกสบาย แม้ในบางครั้งการผายลมจะทำให้คุณรู้สึกอาย หรือทำตัวไม่ถูก แต่มันดีกว่าการอั้นไว้นะ อาจจะรีบหามุมที่ปลอดคน แล้วปล่อยตามธรรมชาติโลด!!!
2
นี่ก็แรงเกินไป!!!
ข้อเสียของการอั้น ไม่ผายลมออกมาตามธรรมชาติ
1. เมื่อคุณบังคับตัวเองให้อั้นตดไว้ ร่างกายจำเป็นที่จะต้องดูดซับก๊าซเสียเหล่านั้นเข้าไปอีกรอบ ซึ่งคงไม่ดีแน่
3
2. การอั้นตดนาน ๆ อาจทำให้ปวดท้องได้ เนื่องจากมีการเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ซึ่งอาจทำให้คุณเกิดอาการเจ็บภายในช่องท้อง และทำให้อาหารภายในกระเพาะย่อยยากมากขึ้นด้วย
3. การกลั้นตด อาจทำให้เกิดการสะสมแก๊สในทางเดินอาหารซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของช่องท้อง (Distention) และทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ปวดมวนในท้อง และทำให้เกิดอาการท้องอืด (Flatulence) ตามมาได้ ซึ่งแน่นอนว่าอาจเพิ่มโอกาสในการพัฒนาไปเป็นปัญหาสุขภาพที่เรียกว่า ถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticulitis) ได้เลยนะ
ถึงขั้นถุงผนังลำไส้อักเสบกันเลย!!!
สำหรับใครที่ไม่อยากผายลมเสียงดัง และมีกลิ่นเหม็นมากเกินไป ผมมีเคล็ดลับง่าย ๆ มาฝากกันครับ
1
1. เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาร์บอเนต เช่นน้ำอัดลม หรือโซดา
สำหรับน้ำอัดลม เลี่ยงได้ก็ดีนะครับ
2. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อช่วยให้กระเพาะ และลำไส้ไม่ต้องทำงานหนักมากจนเกินไป
3. รับประทานที่มีกากใยอาหารสูง เช่น กล้วย มันฝรั่ง ส้ม เป็นต้น เนื่องจากอาหารเหล่านี้สามารถทำให้กลิ่นตดของเราเบาบางลงได้
4. เลี่ยงการเอาลมเข้าร่างกายเกินความจำเป็น เช่น เคี้ยวหมากฝรั่ง กินเร็ว กินไปคุยไป หรือว่าสูบบุหรี่ เป็นต้น
5. ลดปริมาณเนื้อสัตว์ พยายามถ่ายหนักทุกเช้าเป็นประจำ เพื่อขจัดของเสีย ก็จะสามารถช่วยลดความเหม็นของกลิ่นตดลงได้ในระดับหนึ่ง
เนื้อสัตว์นั้นควรกินแค่จำเป็นเท่านั้นครับ
หลากเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับการผายลม (ที่คุณน่าจะยังไม่รู้)
1. เพียง 1% ของตดเท่านั้นที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น ใช่ครับคุณอ่านไม่ผิดหรอก เพราะถึงแม้มันจะเหม็นขมคอขนาดไหน แต่ความจริงแล้ว 99% ของตดนั้นประกอบไปด้วยแก็สที่ไม่มีกลิ่น เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน และมีเทน แต่ 1% ที่มีความเหม็น นั่นก็คือ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นคิดดูแล้วกันว่าไฮโดรเจนซัลไฟด์น่ะพิษสงมันร้ายแรงขนาดไหน!!!
2. เนื้อ และไข่ ทานมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้กลิ่นตดนั้นทรงพลานุภาพมากขึ้นเท่านั้น นั่นก็เพราะการย่อยอาหารจำพวกนี้จะก่อกำเนิด ไฮโดรเจนซัลไฟด์ AKA และแก็สไข่เน่า ขึ้นมานั่นเอง
ถ้ากลิ่นจะโหดขนาดนี้เชื่อว่าไม่ปกติละ!!!
3. ผู้หญิงตดเหม็นกว่าผู้ชาย ไม่เชื่อลองดม เฮ้ย!!! ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ฮ่า ๆ เพราะผลการศึกษาจาก Dr. Levitt พบว่าตดของผู้หญิงนั้นจะมีไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่มากกว่าคุณผู้ชาย เพราะฉะนั้นความแรงของกลิ่นจึงแกร่งกล้ากว่ามากนั่นเอง
เรื่องนี้สาว ๆ โหดกว่าหนุ่ม ๆ ชัดเจน อิอิ
4. คนส่วนใหญ่นั้นตดประมาณ 14-22 ครั้งต่อวัน ถ้าใครบอกว่าวันนี้เขาไม่เคยตดเลย แสดงว่าโกหกทั้งเพครับ
5. การผายลมนั้นสามารถทำให้เกิดระเบิดได้ ตดของคุณสามารถติดไฟได้ เนื่องจากเคมีสองอย่างในตดนั้น คือ มีเทน และ ไฮโดรเจน นั้นติดไฟได้ง่ายมาก หากคุณเล่นพิเรนทร์ด้วยการเอาไฟมาจ่อที่ตูดแล้วตดใส่ล่ะก็ อาจเกิดระเบิดเล็ก ๆ ได้เลยล่ะครับ
พ่นไฟกันไป!!!
6. ตดนั้นมีความเร็วสูง ความเร็วที่เคยวัดได้นั้นอยู่ที่ 3.05 เมตรต่อวินาที ซึ่งหมายความว่ามีความเร็วราว 7 ไมล์ต่อ 1 ชั่วโมง หรือ ประมาณ 11.2 กิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมงกันเลยทีเดียว
7. ตดสามารถออกได้จากหลายช่องทาง ไม่ได้จำกัดว่าต้องออกจากรูทวารหนักอย่างเดียวนะ เพราะสาว ๆ บางคนก็เคยปล่อยลมออกมาจากน้องสาวได้เหมือนกัน ซึ่งปกติตดนั้นเรียกว่า fart แต่สาว ๆ เรียกปรากฏการณ์การตดออกจากน้องสาวนี้ว่า vart อันมาจาก vagina นั่นเอง
3
8. คนที่ทานมังสวิรัติ จะตดมากกว่า ผู้ที่รับประทานปกติ เนื่องจากคนที่ทานมังสวิรัตมักจะรับประทานถั่วเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นการเพิ่มแก๊สไฮโดรเจน ไนโตรเจน และ คาร์บอนไดออกไซด์ โดยอัตโนมัติครับผม
9. ก้นของคุณแยกได้ว่าตอนไหนจะตด ตอนไหนจะอุจจาระ แม้ว่าความรู้สึกเวลาจะทำทั้งสองอย่างนี้มันออกจะคล้ายกันอยู่มากก็ตาม แต่ประสาทที่รับรู้ได้ด้วยการสัมผัสในช่องทวารหนักสามารถแยกแยะได้ว่านี่เป็นอากาศที่ต้องการออกมา หรือเป็นมวลสารกันแน่ ยกเว้นช่วงท้องเสียเท่านั้นครับ อิอิ
ดูจากอาการน่าจะท้องเสียแล้วล่ะ
สรุปแล้วการผายลมนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ หากร่างกายของคุณไม่ผายลมเลยนี่สิที่น่ากลัวกว่า เพราะการผายลมนั้นแสดงให้เห็นถึงความปกติในการย่อยอาหารของคุณนั่นเอง แต่เพื่อมนุษย์ธรรม ก็ควรผายลมโดยเลือกเวลา และสถานที่นิดนึงละกัน ซึ่งถ้าอยู่กับคนหมู่มากก็ควรปลีกตัวออกไปทำภารกิจในแบบส่วนตัวจะดีกว่านะครับ
ว่าแต่วันนี้คุณผายลมหรือยังครับ?
ทั้งนี้ยืนยันว่าบทความของผมไม่ใช่คำตอบหรือบทสรุปที่ดีที่สุด ทุกคนควรใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการรับข้อมูลนะครับ
ขอบคุณทุกการตอบรับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตาม, ไลค์, คอมเมนท์ หรือว่าแชร์ ทุกกำลังใจสำคัญสำหรับผมมาก
ขอบคุณครับ
แล้วพบกันใหม่ในโพสต์หน้า
สวัสดีครับ
ขอบคุณที่มา
1
https://th.m.wikipedia.org/wiki/อาการท้องอืด
https://www.thaihealth.or.th/Content/46287-/%22ตด/%22%20ก็มีประโยชน์นะ.html
https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_5335583
https://brightside.me/inspiration-health/5-reasons-you-shouldnt-hold-in-your-fart-according-to-science-799640/
https://women.mthai.com/beauty/health/235529.html
http://www.liekr.com/post_142936.html
5 บันทึก
51
93
34
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รอบรู้รอบตัว
5
51
93
34
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย