26 มี.ค. 2021 เวลา 09:13 • การศึกษา
ประวัติศาสตร์เงินตรา (5 / 5 ตอนจบ)
เงินดิจิตอล / สกุลเงินคริปโต (Digital Currency / Cryptocurrency)
Cypto (ตริปโต) มาจากภาษาอังกฤษว่า Encrypt (เอ็นคริปต์) แปลว่า เข้ารหัส
CryptoCurrency จึงหมายถึงสกุลเงินอิเลคโทรนิคที่มีการเข้ารหัส เพื่อทำให้มีความปลอดภัยที่ไม่สามารถปลอมแปลง หรือจ่ายซ้ำได้
CryptoCurrency หลายชนิด ให้ความสำคัญกับระบบกระจายศูนย์ประมวลผล (decentralized) ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีใครมีอำนาจตัดสินใจด้วยคนเดียว องค์กรเดียว หรือไม่กี่ราย และที่สามารถทำเช่นนั้นได้ด้วยการอาศัยเทคโนโลยี บล็อคเชน (Blockchain)
บล็อคเชน (Blockchain) คือเทคโนโลยีการจัดเก็บและจัดการฐานข้อมูลบนเครือข่าย โดยกระจายให้ทุกคนบนเครือข่ายถือเอกสารชุดเดียวกัน เมื่อมีการอัปเดตก็จะอัปเดตด้วยกัน ทำให้คนใดคนหนึ่งไม่สามารถปลอมแปลง หรือแก้ไขข้อมูลที่ถูกจัดเก็บด้วย blockchain ได้
จริงๆ แล้ว เงินดิจิตอลไม่มีเหรียญ ไม่มีธนบัตร จับต้องไม่ได้
Crypto Currency ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่่ Bitcoin Etherium XRP ฯลฯ โดยบิทคอยน์ มีมูลค่าตลาดสูงสุด ได้รับการยอมรับมากที่สุดในปัจจุบัน
มูลค่าการตลาดของ Cryptocurrency ณ วันที่ 25 มีนาคม 2021
จะเห็นว่า Cryptocurrency ที่เราพูดถึงในที่นี้ ไม่มีสกุลไหนเลย ที่ออกโดยธนาคารกลางของประเทศใดๆ และก็ไม่มีธนาคารกลาง หรือ กระทรวงการคลังของประเทศใดให้การรับรองว่าสามารถใช้ Cryptocurrency ชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย
อย่างไรก็ตามชุมชนผู้ใช้งาน Cryptocurrency ก็แย้งว่า ในยุคสมัยปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลาง คือ ธนาคาร หรือ รัฐบาลกลางให้การรับรอง การตกลงทำธุรกรรมใดๆ ขึ้นอยู่กับการตกลงปลงใจของทั้งสองฝ่าย และเทคโลโลยีปัจจุบันของ Cryptocurrency ก็ให้ความมั่นใจในการทำธุรกรรมโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางให้การรับรองแต่อย่างใด
ข้อสังเกตสำคัญ
1. Cryptocurrency คือ ทรัพย์สินดิจิตอล อยู่บนเครือข่ายของคอมพิวเตอร์จำนวนมากกระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมโลก ทำให้โครงข่ายไม่ได้ถูกเป็นเจ้าของหรือควบคุมด้วยรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง
2. Cryptocurrency ถูกตั้งขอสงสัย และโจมตีในหลายประเด็น เช่น มันมักถูกใช้ในกระบวนการผิดกฏหมายเช่นการฟอกเงิน ความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยนในระดับสูงมาก และความเปราะบางของโครงสร้างเครือข่ายของระบบ อย่างไรก็ตาม Crytocurrency ก็ได้รับการยอมรับในหลายๆ ด้าน เช่น การพกพาได้ เคลื่อนย้ายสะดวก (น้ำหนักเบา ลองนึกเปรียบเทียบการถือธนบัตรหรือทองคำมูลค่าหลายล้านบาท) การแบ่งหน่วยย่อยลงไปได้ (1 บิทคอยน์ สามารถแบ่งย่อยได้ 100,000,000 ซาโตชิ) ความโปร่งใส (ไม่ถูกแทรกแซงและควบคุมโดยผู้ใด) ฯลฯ
โฆษณา