Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Brain Club
•
ติดตาม
28 มี.ค. 2021 เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์
#14 The Brain Club : History เครื่องสแกนรองเท้า
เคยไหม เวลาออกไปร้านขายรองเท้า แล้วไม่รู้ว่ารองเท้าคู่ไหนขนาดเดียวกับเท้าเรา หรือคู่ไหนเหมาะกับรูปทรงเท้าเรา สิ่งเหล่านี้คือปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่ก็ทำให้ปวดหัวได้เหมือนกัน
ย้อนกลับไปกว่า 100 ปีก่อน ร้านขายรองเท้าในอเมริกาและยุโรป มีวิธีแก้ปัญหาข้างต้นทั้งหมด โดยการนำเครื่องสแกนรองเท้าฟลูออโรสโคป (Shoe Fitting Fluoroscope) มาใช้งาน ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ดี แต่สุดท้ายมันต้องหายไปในเวลาอันสั้น สาเหตุเกิดจากอะไรกันแน่ เราไปหาคำตอบพร้อมสโมสรสมองเลยดีกว่า ?
เครื่องสแกนรองเท้ามีหลักการทำงานเหมือนเครื่องเอกซเรย์ในสนามบินที่ใช้สำหรับตรวจสอบกระเป๋าเดินทาง แต่จะออกแบบมาให้มีขนาดกะทัดรัดกว่ามาก และใช้สำหรับสแกนเท้าลูกค้าโดยเฉพาะ เพื่อเป็นปัจจัยเสริมในการเลือกรองเท้าให้เหมาะกับลูกค้ามากที่สุด
โดยเครื่องถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี 1920 แต่ขอย้อนกลับไปนิดนึง ก่อนที่เครื่องสแกนรองเท้าจะถูกนำมาใช้ในด้านการค้าเต็มตัว จุดประสงค์แรกมันถูกออกแบบมาใช้ในงานทหาร ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ผ่านฝีมือของนายแพทย์จาค็อบ โลว์ (Dr. Jacob Lowe) เพื่อใช้สำหรับสแกนรองเท้าของพลทหาร โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาถอดรองท้า ทำให้การตรวจสอบรักษาทำได้รวดเร็วมากขึ้น
● วิธีการใช้งาน
ลูกค้าต้องนำเท้าไปวางบนแท่นสแกนด้านล่าง โดยที่ด้านบนตัวเครื่องจะมีกล้องสำหรับให้เราดูรูปร่าง และโครงสร้างกระดูกเท้า ซึ่งสามารถช่วยให้ลูกค้าสามารถเลือกรองเท้าที่กระชับ และเหมาะสมกับเรามากที่สุด
โดยยุคทองของเครื่องสแกนรองเท้าคือทศวรรษ 1950 ที่มีการนำเครื่องไปใช้งานจำนวนมากที่สุด ดังนี้
- สหรัฐอเมริกา จำนวน 10,000 เครื่อง
- สหราชอาณาจักร จำนวน 3,000 เครื่อง
- แคนาดา จำนวน 1,000 เครื่อง
จริงๆ นักวิทยาศาสตร์เริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับอันตรายของรังสี แต่ในยุคนั้นยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปได้ว่ารังสีอันตราย
จนกระทั่งช่วงปี 1946 เพียงหนึ่งปีหลังเหตุการณ์ทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิมา และนางาซากิ ซึ่งผลของการทำลายล้างทำให้คนทั่วโลกเห็นความน่ากลัว และเข้าใจผลกระทบในระยะยาวของสารกัมมันตรังสี
จากงานวิจัยเพิ่มเติมพบว่าเวลาใช้งานเครื่องสแกนรองเท้า ลูกค้าจะได้รับรังสีเข้าไปด้วย โดยใน 20 วินาที จะได้รับรังสีครึ่งหนึ่งของการทำซีทีสแกนหน้าอก (CT Scan ) และถ้าหากเผลอยืนนานไปเป็นหลัก 30-40 วินาที ถึงแม้จะดูไม่นานนัก แต่ร่างกายเราก็เก็บรังสีไปในปริมาณมาก
กลุ่มที่มีความเสี่ยงรับรังสีมากที่สุดคือพนักงานขาย ซึ่งต้องอยู่กับเครื่องตลอดเวลาเพื่อแนะนำ หรือสอนวิธีการใช้งานแก่ลูกค้าตลอดเวลางานในแต่ละวัน
ในปี 1946 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (ANSI) ได้ออกกฏระเบียบสำหรับการใช้งานเครื่องสแกนรองเท้า โดยจำกัดปริมาณรังสีที่ตัวเครื่องสามารถปล่อยออกมาได้
นอกจากนี้ร้านขายรองเท้าจะต้องติดป้ายเตือนลูกค้าที่ด้านบนตัวเครื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าใช้งานครื่องเกิน 12 ครั้งต่อปี
มีการตรวจพบเพิ่มเติมว่ามีบางเครื่องที่ปล่อยรังสีออกมาในระดับอันตราย จากการตรวจสอบร้านค้าในสหรัฐอเมริกาจาก 40 รัฐ พบว่ามีเครื่องราวๆ 75% ที่ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้งาน เนื่องจากปล่อยรังสีเกินกำหนดจนอันตรายเกินไป
จากปัจจัยเหล่านี้ ภายหลังจากการออกคำเตือนการใช้งานครั้งแรกในปี 1950 เริ่มมีการถอดเครื่องออกจากร้าน ทำให้ธุรกิจเครื่องสแกนรองเท้าเริ่มตายลงอย่างช้าๆ จนกระทั่งราวๆ 30 ปีต่อมา เครื่องสแกนรองเท้าตัวสุดท้ายได้ยุติการทำงาน ทำให้มันหายไปตลอดกาล
ที่มา
1..
https://www.amusingplanet.com/2019/05/the-shoe-fitting-machines-that-blasted.html
บันทึก
1
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
History : ประวัติศาสตร์
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย