Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องราวจากของเก็บ
•
ติดตาม
26 มี.ค. 2021 เวลา 13:21 • ประวัติศาสตร์
134 ปี การรถไฟไทย
ย้อนกลับไปในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เซอร์จอห์น เบาว์ริง ผู้สำเร็จราชการอังกฤษ มาเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาทางราชไมตรี
ในการมาเยือนครั้งนี้ ได้นำสนธิสัญญาฉบับใหม่มาแลกเปลี่ยนกับฝ่ายไทย พร้อมกับอัญเชิญพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการของสมเด็จพระนางวิคตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรเข้ามาเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย
เครื่องราชบรรณาการดังกล่าว ประกอบด้วย รถไฟจำลองย่อส่วนจากของจริง (ขณะนี้รถไฟเล็กได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ)
ราชบรรณาการในครั้งนั้นสมเด็จพระนางวิคตอเรีย ทรงมีพระราชประสงค์จะให้เป็นเครื่องดลพระราชหฤทัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงคิดสถาปนากิจการรถไฟขึ้น แต่เนื่องจากขณะนั้นภาวะเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในฐานะไม่มั่นคง และมีจำนวนพลเมืองน้อย กิจการจึงต้องระงับไว้
ระยะเวลาล่วงเลยมาถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ขณะนั้นมีการล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสบริเวณแหลมอินโดจีน
พระองค์ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมโดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองนั้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต
ราษฎรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียง จึงเห็นว่าควรสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศ เพื่อติดต่อกับมณฑลบริเวณชายแดนก่อน เพื่อความสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกราน เป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่รกร้างว่างเปล่าให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ และจะเป็นเส้นทางให้สามารถขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่าย
ดังนั้นในปีพุทธศักราช 2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา มีทางแยกตั้งแต่เมืองลพบุรี - เชียงใหม่ 1 สาย จากเมืองอุตรดิตถ์ - ตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงอีก 1 สาย และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย - เชียงแสนหลวงอีก 1 สาย
โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอน ๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 100 ปอนด์ ทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2430
เมื่อได้สำรวจแนวทางต่าง ๆ แล้ว รัฐบาลพิจารณาเห็นว่าจุดแรกที่สมควรจะสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเมืองหลวงของไทยก่อนอื่น คือ นครราชสีมา ดังนั้นในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2433 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งกรมรถไฟขึ้น สังกัดอยู่ในกระทรวงโยธาธิการ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงโยธาธิการว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพมหานคร ถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร และได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการ สร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434
การก่อสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา เสร็จบางส่วนพอให้สามารถเกินรถได้ ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่าง สถานีกรุงเทพฯ - อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร กรมรถไฟจึงถือเอาวันที่ 26 มีนาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟ
แผ่นตราไปรษณียากรที่ระลึก 100 ปี รถไฟไทย เป็นรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดการเดินรถไฟเส้นทางรถไฟสายแรกของสยาม คือสายกรุงเทพ-นครราชสีมา วันที่ 26 มีนาคม พุทธศักราช 2439
จากนั้นก็ได้เปิดการเดินรถต่อไปอีกเป็นระยะ ๆ จากอยุธยา ถึง แก่งคอย มวกเหล็ก ปากช่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2443 การสร้างทางรถไฟสายนครราชาสีมา ได้เสร็จเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการเดินรถสายนี้ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2443 รวมระยะทางจาก กรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา ทั้งสิ้น 265 กิโลเมตร
ตราประจำการรถไฟแห่งปนะเทศไทย
ปัจจุบันมีทางรถไฟอยู่ภายใต้ขอบเขตดำเนินการทั้งหมด 4,070 กิโลเมตร
ในโอกาสนี้ขอนำเสนอดวงตราไปรษณียากร ที่ได้จัดพิมพ์ขึ้นมาในวาระครบรอบการสถาปนาการรถไฟ ดังนี้ครับ
แสตมป์ชุด ครบรอบ 80 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย (รถไฟ ชุด 1)
วันแรกจำหน่าย 26 มีนาคม 2520
พิมพ์ที่ Joh. Enschedé en Zonen Grafische Inrichting B.V., Netherlands
แสตมป์ชุด ครบรอบ 80 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย (รถไฟ ชุด 1)
ชนิดราคา จำนวนพิมพ์และราคาปัจจุบัน (ยังไม่ใช้, ใช้แล้ว)
1 บาท 3,000,000 ดวง 40 บาท 10 บาท
2 บาท 1,000,000 ดวง 110 บาท 20 บาท
4 บาท 1,000,000 ดวง 250 บาท 150 บาท
5 บาท 1,000,000 ดวง 400 บาท 120 บาท
1
4
รายละเอียดภาพบนแสตมป์
ชนิดราคา 1 บาท
รถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom หมายเลข ๔๑๐๑
ชนิดราคา 2 บาท
รถจักรดีเชลไฟฟ้า Davenport หมายเลข ๕๗๗
ชนิดราคา 4 บาท
รถจักรไอน้ำ Pacific หมายเลข ๘๒๕
ชนิดราคา 5 บาท
รถจักรไอน้ำ George Egestoff หมายเลข ๒๑๕
แสตมป์ชุด รถไฟ (ชุด 2)
วันแรกจำหน่าย 29 ธันวาคม 2533
พิมพ์ที่ Leigh-Mardon PYT., Ltd., Australia
4
แสตมป์ชุดรถไฟ (ชุด2)
ชนิดราคา จำนวนพิมพ์และราคาปัจจุบัน (ยังไม่ใช้, ใช้แล้ว)
2 บาท 3,000,000 ดวง 5 บาท 4 บาท
3 บาท 1,000,000 ดวง 10 บาท 6 บาท
5 บาท 1,000,000 ดวง 18 บาท 15 บาท
6 บาท 1,000,000 ดวง 22 บาท 15 บาท
รายละเอียดบนดวงแสตมป์
ชนิดราคา 2 บาท
รถจักรไอน้ำ "รถไฟสายแม่กลอง" หมายเลข 6 รุ่นเลขที่ 5-6 สร้างโดยเคราส์ แอนด์ คัมปะนี ประเทศอังกฤษ นำมาใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2439
ชนิดราคา 3 บาท
รถจักรไอน้ำ "สูงเนิน" หมายเลข 32 รุ่นเลขที่ 31-33 สร้างโดย บริษัท เคียวซัน โตเกียวแห่งฟูกูจิมา ประเทศญี่ปุ่น นำมาใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2492
ชนิดราคา 5 บาท
รถจักรไอน้ำ "ชี 56" หมายเลข 715 รุ่นเลขที่ 701-746 สร้างในประเทศญี่ปุ่น นำมาใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2489
ชนิดราคา 6 บาท
รถจักรไอน้ำ "มิกาโด" หมายเลข 953 รุ่นเลขที่ 901-970 สร้างโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น นำมาใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2492-2494
แสตมป์ชุด 100 ปี รถไฟไทย (รถไฟ ชุด 3)
วันแรกจำหน่าย 26 มีนาคม 2540
พิมพ์ที่ Cartor S.A., France
1
แสตมป์ชุด 100 ปี รถไฟไทย (รถไฟ ชุด 3)
ชนิดราคา จำนวนพิมพ์และราคาปัจจุบัน (ยังไม่ใช้, ใช้แล้ว)
3 บาท 3,000,000 ดวง 5 บาท 3 บาท
4 บาท 3,000,000 ดวง 6 บาท 4 บาท
6 บาท 3,000,000 ดวง 9 บาท 6 บาท
7 บาท 3,000,000 ดวง 10 บาท 7 บาท
รายละเอียดบนดวงแสตมป์
ชนิดราคา 3 บาท
รถไฟไอน้ำ "โฟร์ วีลเลอร์" (ดับส์) ที่ใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๕
ชนิดราคา 4 บาท
รถจักรไอน้ำ "การัตต์"
ชนิดราคา 6 บาท
รถจักรดีเซลการกล "ซุลเซอร์"
ชนิดราคา 7 บาท
รถจักรดีเซลไฟฟ้า "ฮิตาชิ"
แสตมป์ชุด 120 ปี รถไฟไทย
วันแรกจำหน่าย 26 มีนาคม 2560
พิมพ์ที่ Thai British Security Printing Public Company Limited, Thailand
ชนิดราคา 3 บาท
แสตมป์ชุด 120 ปี รถไฟไทย
รายละเอียดบนดวงแสตมป์
รถจักรดีเซลไฮดรอลิกกรุปป์
รถจักรดีเซลไฟฟ้าจีอี
รถจักรดีเซลไฟฟ้าซีเอสอาร์
รถจักรดีเซลไฟฟ้าจีอีเอ
ความรู้เรื่องรางรถไฟ
มีเตอร์เกจ (อังกฤษ: metre gauge) หรือ รางรถไฟขนาดหนึ่งเมตร เป็นขนาดความกว้างรางรถไฟที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดมาตรฐาน โดยมีความกว้างที่วัดภายในขนาด 1 เมตร โดยมีการใช้งานหลายประเทศใน แอฟริกา อเมริกา และเอเชีย โดยในทวีปยุโรปหลายประเทศได้มีการใช้ในอดีตและได้ปิดและปรับขนาดเป็นสแตนดาร์ดเกจ ยกเว้นในประเทศสเปนและสวิตเซอร์แลนด์
รางรถไฟในประเทศไทยเกือบทั้งหมดยกเว้นรางรถไฟลอยฟ้า และรถไฟใต้ดิน ใช้ขนาดมีเตอร์เกจ เพื่อให้เท่ากับขนาดรางของประเทศเพื่อนบ้านเช่น กัมพูชา มาเลเซีย ลาว เป็นต้น
รางรถไฟมีเตอร์เกจ
สแตนดาร์ดเกจ หรือ รางขนาดมาตรฐานยุโรป (อังกฤษ: European standard gauge)เป็นขนาดความกว้างรางรถไฟที่มีการใช้กันมากที่สุด โดยคิดเป็นประมาณ 60% ของรางรถไฟทั่วโลก ระยะห่างภายในของรางรถไฟมีขนาด 1.435 เมตร (4 ฟุต 8 1/2 นิ้ว) สแตนดาร์ดเกจยังมีชื่อเรียกว่า สตีเฟนซันเกจ ตั้งชื่อตาม จอร์จ สตีเฟนซัน
ความกว้าง 1.435 นี้เป็นระยะห่างของล้อรถม้าและเกวียนในสมัยโรมันโบราณ ซึ่งเป็นระยะที่กว้างพอที่จะทำให้ม้า 2 ตัวแบบเรียงหน้ากระดาน สามารถลากจูงรถได้โดยที่ลำตัวไม่เบียดกันเวลาม้าวิ่ง
อ่านเพิ่มเติม
railway.co.th
การรถไฟแห่งประเทศไทย
รฟท.,รถไฟ,การรถไฟฯ,การรถไฟแห่งประเทศไทย,ตรวจสอบเวลาการเดินรถ,ดาวน์โหลดเวลารถ,ท่องเที่ยวทางรถไฟ,จองตั๋วรถไฟ
ขอบคุณที่ติดตามครับ
บันทึก
15
27
7
15
27
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย