27 มี.ค. 2021 เวลา 11:56 • ไลฟ์สไตล์
👂🏻" ฟังให้ลึก ให้ถึงแก่น "👂🏻
Deep Listening
🔅 วลีที่สื่อถึงการฟังสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลึกซึ้ง ฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ มีการให้นิยามว่าเป็นการฟังเพื่อเรียนรู้ และฟังเพื่อทำความเข้าใจมากกว่าที่จะแสดงความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยและประเมินคุณค่า ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในการพัฒนาตนเอง โดยเป็นทั้งทักษะระหว่างบุคคล ( interpersonal skill ) ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้เข้าใจผู้อื่น และทักษะภายในบุคคล ( intrapersonal skill ) ที่ว่าด้วยการไตร่ตรองภาวะภายในความคิดของตนเอง
💠 เราฟังคนอื่นมากกว่าฟังตัวเองมากแค่ไหน?
.
.
หลายครั้งที่เราทำผิด เราสนับสนุนตัวเองในระดับไหนกัน ถึงแม้ว่าคุณจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวว่าผิด แต่ส่วนใหญ่จิตใต้สำนึกของเราจะบอกให้เราฟังเสียงตัวเองเสมอ และหลายครั้งมักจะทำให้คนเราคิดถึงแต่สิ่งที่ตนเองกำลังจะพูดมากกว่าการรับฟังสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
🩸การฟังอย่างลึกซึ้งเป็นการฟังที่ทำให้เราสามารถช่วยคนที่อยู่ข้างหน้าเราที่กำลังมีความทุกข์ หรือมีปัญหา โดยสามารถทำได้ง่ายที่สุดและไม่ต้องลงทุนอะไรเลย และบางครั้งความทุกข์หรือปัญหาอาจจะไม่ต้องการคำแนะนำหรือการแก้ไขใดใด เพียงแค่มีคนคอยรับฟังเท่านั้นพอ
การฟังมี 3 ระดับ
ระดับไหนกันนะ
🩸การฟังอย่างลึกซึ้งแตกต่างกับการฟังทั่ว ๆ ไปอย่างไร?
.
.
.
โดยมากขณะที่เราฟังสิ่งต่าง ๆ เรามักจะมีจุดประสงค์ในการฟัง หรือบางครั้งเมื่อเราไม่อยากฟังเราอาจไม่ได้ตั้งใจฟังใจเท่าที่ควร แต่กลับมีธรรมชาติและระบบอัตโนมัติของตนเองที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่ดี หรือการรับรู้ที่ผิดพลาดของแต่ละคนได้
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นนะคะ
ความแตกต่าง
ทริคง่าย ๆ ลองทำดูนะ
ฝึกปฏิบัติจะเกิดผล
🔺เตรียมพร้อมร่างกาย
.
.
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนที่เหมาะสมจะช่วยทำให้เรามีสมาธิได้ง่ายมากขึ้น และทำให้เราเข้าใจสิ่งที่ผู้พูดได้ดีขึ้น
- ไม่ง่วงนอน หรือเหนื่อยล้าจากเรื่องอื่น ๆ มาก่อน เพราะหากคุณรู้สึกง่วงนอนหรือเหนื่อยล้า คุณอาจมีการโต้ตอบไปในท่าทีที่ทำให้ผู้พูดรู้สึกไม่อยากพูดต่อ ไม่อยากเล่าได้
- ไม่รู้สึกหิวเกินไปหรืออิ่มเกินไป หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ร้อนมากไป หนาวมากไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณสนใจกับสภาพแวดล้อมแทน
🔺เปิดการรับรู้ของตนเอง
.
.
เปิดการรับรู้ ( awareness ) ของตนเอง คือการเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากประสาทสัมผัสของเรา รวมทั้งความคิดกับความรู้สึกด้วยเช่นกัน การเปิดรับการรับรู้สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เราสังเกตสิ่งที่อาจไม่ได้ใส่ใจ หรือไม่ให้ความสำคัญมากในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเมื่ออยู่กับคนที่เราต้องใช้เวลาร่วมกันเป็นประจำ
🔺เพิ่มความสนใจ อยากรู้อยากเห็น
.
.
เพิ่มความอยากรู้ อยากเห็นในใจ แต่ไม่จำเป็นต้องถามออกไปทุกครั้งก็ได้นะ ความไม่เห็นด้วย ในเรื่องที่พูดไม่ตรงกับสิ่งที่เราคิด หรือเชื่อ โดยมากในสถานการณ์นั้นเรามักจะคิดว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ความจริง และความจริงคือสิ่งที่เรากำลังคิด และสิ่งที่เรากำลังเชื่อ เราสามารถถามเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้พูดได้อธิบายและทำความเข้าใจว่า อะไรที่ทำให้เขามีความจริงที่แตกต่างกับเราได้
🔺รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้า
.
.
รับรู้สิ่งที่ผู้พูดนอกเหนือจากเนื้อหาที่กำลังพูด เช่น ถ้าเพื่อนของคุณมาปรึกษาปัญหากับคุณ เขาอาจจะไม่ได้บอกคุณทั้งหมด หรือในขณะนั้นเขาอาจจะจิตตกมาก ๆ สังเกตได้จากแววตา ท่าทาง น้ำเสียง หรือการแสดงออกของใบหน้าของเขา โดยไม่ตัดสินว่าเขามีความรู้สึกแบบที่เราคิดว่าเป็นจริง หรือใช้ทฤษฎีมาอธิบายการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา ใบหน้า หรือท่าทางภาษากาย
🔺เท่าทันความรู้สึกที่เกิดขึ้นของตนเอง
.
.
ขณะที่มีความคิดใด ๆ เกิดขึ้น ให้เรารับรู้และเท่าทันความคิดภายในใจของเรา โดยไม่ไปตัดสินทั้งผู้พูดว่าเป็นความคิดที่ถูกหรือผิด และโดยมากจะเกิดกับเราซึ่งเชื่อว่าสิ่งที่เรากำลังคิดเป็นความจริง สิ่งที่คุณพูดไม่ใช่ความจริง แต่สิ่งที่ยากคือการเท่าทันความเชื่อของตนเองว่าสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นความจริง แต่อาจไม่ใช่ความจริงก็ได้ อาจเป็นเพียงความเชื่อตามการรับรู้ของเราเท่านั้น
ดังนั้นระหว่างการรับฟังอย่างลึกซึ้ง เราจะฝึกปฏิบัติเพื่อเท่าทันเสียงตัดสินต่าง ๆ ของตนเอง ความแบ่งแยกเป็นขั้ว ๆ เช่น ถูกผิด ดีเลว ควรไม่ควร จริงไม่จริง ด้วยเช่นกัน
🔺ปล่อยความคิด หรือเสียงที่เกิดขึ้นภายใน
.
.
คือการกลับมาอยู่กับปัจจุบัน เพราะเป็นธรรมดาที่เรามักจะเผลอไปคิดถึงเรื่องต่าง ๆ ตามสิ่งที่ได้ฟัง อารมณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อเราฟังสิ่งเหล่านั้นแล้ว เราอาจจะเผลอไปคิดตาม ให้เรารีบกลับมาอยู่ที่การตั้งใจฟังอีกครั้งหนึ่ง โดยวางความคิดที่เกิดขึ้นไว้ข้าง ๆ ก่อน
บางครั้งการปล่อยความคิดหรือเสียงที่เกิดขึ้นภายในอาจไม่ได้เกิดจากการฟังคนที่อยู่ข้างหน้าพูดเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการปล่อยวางความคิดที่เกิดจากการพูดคุยกันภายในระหว่างตัวเราด้วย
🔺ไม่พูดแทรกและไม่พูดต่อทันที
.
.
เทคนิคนี้เป็นการฝึกฝนที่ง่ายที่สุด และรู้ตัวได้เร็วที่สุดค่ะ เมื่อเรารู้ตัวว่ากำลังจะพูดแทรก ให้เราหยุดและกลับไปฟังต่อ บางครั้งบทสนทนาอาจทำให้เราอยากพูดออกไปทันทีทันใด หรี่อารมณ์ใจร้อนลงก่อนนิดนึง เมื่อฟังจบแล้วค่อยพูดต่อ
นอกจากนี้ยังแนะนำว่าไม่ควรจะพูดต่อทันทีที่ผู้พูดพูดจบ เพราะหลายครั้งการหยุดพูดอาจเป็นเพียงการต้องการเวลาเพื่อรวบรวมความคิดในการพูดต่อ โดยหากเรามีสิ่งที่ต้องการพูดบ้างอาจลองนับ 1-10 ในใจช้า ๆ ก่อนที่จะพูดสิ่งที่เราอยากสื่อสารหรือคำถามที่เราอยากถามออกไป
🔺เท่าทันเสียงตัดสินของตนเอง
.
.
ข้อนี้สำคัญมากค่ะ โดยเฉพาะการรับฟังเพื่อเยียวยา หรือการฟังเพื่อบรรเทาความทุกข์ของคนที่อยู่ข้างหน้า อาจมีเรื่องราวที่ทำให้เราเกิดความสะเทือนใจ ให้เรารู้เท่าทันความรู้สึกเหล่านั้น และค่อย ๆ ตระหนักรู้ อารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในใจของเรา
🔸การฟังอย่างลึกซึ้งไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องรู้สึกทุกข์ร่วมไปกับคนที่อยู่ข้างหน้า เพียงแต่เราสามารถเข้าใจและเลือกที่จะดูแลตัวเองไม่ให้จมไปกับความคิดหรือความรู้สึกด้านลบมากเกินไป นอกจากนั้นหากมีบางเรื่องที่เราอาจจะฟังต่อไม่ไหว หากการฟังสิ่งเหล่านั้นเป็นอันตรายต่อตัวเราเอง บั่นทอนจิตใจเรา หรือเราไม่ได้อยู่ในสภาวะที่จะสามารถฟังเรื่องบางเรื่องได้ เราควรจะดูแลตัวเองเพื่อดูแลคนที่อยู่ข้างหน้าให้ดีขึ้นไปพร้อม ๆ กันได้
" การรักษาใจคนอื่นนั้นดีค่ะ แต่ถ้ารักษาใจเราเองได้ไม่ดีแล้ว การดูแลคนอื่นก็น่าจะเป็นเรื่องยากนะ "
1
📝 2021 年 3 月 27 日
淑真 🧧
คนเดียวหลายมุมมอง 🪆
โฆษณา