Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
tutustory 图图是道
•
ติดตาม
28 มี.ค. 2021 เวลา 02:31 • การศึกษา
[[ เมื่อสีแดง เหลือง น้ำเงิน ไม่ใช่แม่สีเสมอไป เรื่องสีและภาษาจีน ]]
#เนื้อหาภาษาจีน #สีในภาษาจีน #สีสัน #ทฤษฎีสี #ความรู้นอกเรื่องนิดนึง
รู้ไหมว่าสีแดง เหลือง และ สีน้ำเงิน ไม่ใช่แม่สีในทุกกรณีนะ เรื่องสีในภาษาจีนจริงๆ ไม่ใช่เรื่องยาก สี 颜色 yán sè หรือ สีสัน 色彩 sè cǎi เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆ และ มีเรื่องราวให้ฟังกันสนุกสนาน อย่างสีเทาของฉันกับทีเทาของเธอก็ไม่เคยจะเท่ากัน จะให้ท่องเฉยๆ สีนั้นสีอะไร สีนี้ภาษาจีนเรียกว่าอะไรก็อาจจะน่าเบื่อไปและไม่ใช่เพจเรา สร้างภาพเล่าเรื่อง 图图是道 แน่ๆ
เอาเป็นว่าสำหรับตอนแรก ขอมาเล่าถึงเรื่องวงล้อสีว่าผสมออกมาได้เป็นสีอะไรบ้าง จะได้จำกันง่ายๆ รวมไปถึงสีอื่นๆ และ คำศัพท์เกี่ยวกับสีที่ควรรู้ แล้วไว้คราวหน้ามาต่อกันในเรื่องของจิตวิทยาสี อารมณ์ และ สีโบราณในจีนกัน
[ 色相环不只有一环 วงล้อสีน่ะไม่ได้มีแค่วงเดียวนะ ]
วงล้อสีในภาษาจีนมีเรียกอยู่ 2 คำหลักคือ 色相环 sè xiāng huán (เรียกย่อกว่า 色环) และอีกคำคือ 色轮 sè lùn หลายๆ คนคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เพราะน่าจะได้เรียนกันมาตั้งแต่เด็กๆ ระบบวงล้อสีแบ่งให้เข้าใจง่ายๆ เป็น 3 ระดับในการผสมสี (จริงๆ ผสมได้มากกว่า 3 ระดับ) ตามนี้
- แม่สี หรือสีขั้นต้น คือสีในระบบนั้นๆ ที่ไม่สามารถหาสีมาผสมแทนได้ ภาษาจีนเรียกว่า 原色 yuán sè บางที่ก็เรียกว่า 基色 jī sè
- สีรอง หรือสีชั้นสอง (คำหรูหน่อยก็ สีทุติยภูมิ) คือสีที่ผสมระหว่างแม่สีสองสีขึ้นมา ภาษาจีนเรียกว่า 间色jiān sè บางที่ก็เรียกว่า 次色 cì sè
- และ สีขั้นสาม (คำหรูหน่อยก็ สีตติยภูมิ) คือสีที่ผสมสีรองและสีขั้นสามเข้าไปอีกรอบ ภาษาจีนเรียกว่า 三级色 sān jí sè หรือ 第三色 dì sān sè
อย่างไรก็ตามพอโตมาจะดูอีกที ทำไมมันมีหลายวง เขาบอกว่าคู่สีตรงข้ามใช้กันแล้วจะส่งเสริมกัน สีเขียวตรงข้ามกับแดงหนึ่งวง อีกวงแดงดันตรงข้ามกับฟ้าอ่อนซะนี่ แล้วจะเลือกใช้อันไหนอ้างอิงดี จะหยิบอันไหนไปใช้ต่อ ไปสอนก็งงไปหมด
ไม่ต้องตกใจ ที่เคยเรียนมาไม่ได้ผิด แต่เราเรียนกันมาแค่ส่วนของศิลปะ ในโลกนี้ยังมีระบบสีอื่นๆ อีก ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆ ซึ่งแตกต่างกันที่ที่มาของสี และแม่สีที่ใช้ เท่านั้นเอง เดี๋ยวเรามาอธิบายกันต่อในแต่ละกัน
[ 美术色相环 วงล้อสีสำหรับศิลปะ ]
美术色相环 měishù sèxiānghuán วงล้อนี้เป็นวงล้อที่เราเรียนกันมาตั้งแต่สมัยประถมศึกษา เข้าใจง่าย แม่สีมีสีเหลือง น้ำเงินและ แดง ใช้กับสีทางศิลปะ เช่นสีโปสเตอร์ สีน้ำ สีไม้
三原色 แม่สีทั้ง 3 ของวงล้อนี้ ทุกท่านคุ้นเคยกันดี ได้แก่
- 红色 hóng sè สีแดง
- 黄色 huáng sè สีเหลือง
- 蓝色 lán sè สีน้ำเงิน
间色 สีรอง ของวงล้อนี้ ได้แก่
- 橙色 chéng sè สีส้ม (红+黄)
- 绿色 lǜ sè สีเขียว(黄+蓝)
- 紫色 zǐ sè สีม่วง(蓝+红)
三级色 สีขั้นสามเป็นสีขั้นที่มีความปวดหัวเป็นอย่างมากในการระบุชื่อสีต่างๆ โดยมากเพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิด มักจะใช้ชื่อสีสองสีมาพูดรวมกันแทนเหมือนภาษาไทย เช่น ฟ้าอมเขียว เราก็อาจจะเรียกเขียวน้ำทะเลได้ แต่ก็ยังไม่ชัดว่าตรงกันหรือไม่ ในขั้นนี้จะเน้นการเรียกสีผสมแทนเป็นหลัก และ กำกับสีที่อาจจะนิยมเรียกกันให้ด้วยครับ
- 橙红 chéng hóng สีส้มอมแดง
- 橙黄 chéng huáng สีเหลืองส้ม บางทีก็เรียกสีอำพัน 琥珀色 hǔ pò sè
- 黄绿 huáng lǜ สีเขียวอมเหลือง บางทีภาษาไทยก็เรียก สีตองอ่อน
- 青蓝 qīng lán สีฟ้า
- 蓝紫 lán zǐ สีม่วงอมน้ำเงิน ภาษาอังกฤษคือ Violet
- 紫红 zǐ hóng สีม่วงอมแดง ภาษาอังกฤษคือ Purple
จริงๆ ยังสามารถผสมสีอื่นๆ ได้อีก เพียงแค่ผสมไปเรื่อยๆ ก็จะได้สีที่ละเอียดและซับซ้อนขึ้นครับ
[ RGB全色色相环 วงล้อสี RGB All ]
RGB全色色相环 RGB quánsè sèxiānghuán วงล้อสีนี้มาจากชื่อภาษาอังกฤษ RGB All ในภาษาจีนแปล All เป็น 全色 ไปเลยเพื่อให้เข้าใจง่าย RGB นั้นย่อมาจาก Red สีแดง, Blue สีน้ำเงิน และ Green สีเขียว ซึ่งเป็นแม่สีของแสง 色光原色 sè guāng yuán sè ใช้ในสิ่งที่ต้องใช้แสงเพื่อแสดงสีสัน วงล้องนี้ใช้กับงานดิจิตอล ในแอพต่างๆ จอทีวี หรือหน้าจออื่นๆ
三原色 ด้วยการผสมของแสง ทำให้แม่สีทั้ง 3 ของวงล้อนี้ แตกต่างจากระบบอื่นมาก จริงๆ ลองเอาแว่นขยายส่องจอทีวีดู ก็จะเห็นเม็ดสีตามนี้เลย
- 红色 hóng sè สีแดง
- 绿色 lǜ sè สีเขียว
- 蓝色 lán sè สีน้ำเงิน
间色 สีรอง ของวงล้อนี้ ได้แก่
- 黄色 huáng sè สีเหลือง (红+绿)
- 青色 qīng sè สีฟ้าอ่อน [1](绿+蓝)
- 紫色 zǐ sè สีม่วง(蓝+红)
三级色 ของวงล้อนี้ ได้แก่
- 橙色 chéng sè สีส้ม
- 黄绿 huáng lǜ สีเขียวอมเหลือง บางทีภาษาไทยก็เรียก สีตองอ่อน
- 青绿 qīng lǜ สีเขียวอมฟ้า ออกไปทางเขียวน้ำทะเล
- 天蓝 tiān lán สีฟ้าท้องฟ้า เข้มกว่า 青蓝 เล็กน้อย
- 蓝紫 lán zǐ สีม่วงอมน้ำเงิน ภาษาอังกฤษคือ Violet
- 紫红 zǐ hóng สีม่วงอมแดง ภาษาอังกฤษคือ Purple
หากผสมต่อก็จะได้สีที่ซับซ้อนขึ้นอีกเช่นกัน
---
เพิ่มเติม
[1] 青色 เป็นสีที่ไม่มีคำนภาษาไทยโดยตรง แต่อ่อนกว่าสีฟ้า หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ขอเรียกว่าสีฟ้าอ่อน ภาษาอังกฤษตรงกับ Cyan หากถูกกล่าวถึงในบริบทอื่นๆ มักจะหมายถึงสีที่อยู่ระหว่างเขียวและน้ำเงิน หรือ อาจจะเป็นสีเขียวออกสนิมก็ได้ จำเป็นต้องดูบริบทของเนื้อหาด้วย
[ CMY 印刷色色相环 วงล้อสีงานสิ่งพิมพ์ CMY ]
CMY 印刷色色相环 CMY yìnshuāsè sèxiānghuán วงล้อที่ 3 ให้ปวดหัวกันเพิ่ม เมื่อสีที่ใช้ในระบบการพิมพ์ ใช้อีกระบบ อาจจะเคยได้ยินว่าระบบสี CMYK C Cyan สีฟ้านีออน, M Magenta สีชมพูนีออน, Y Yellow สีเหลือง และ K เป็นสีดำ (K มากจาก Key เพราะสีดำเป็นสีหลักของระบบนี้)
三原色 สีทางการพิมพ์เป็นสีทางอุตสาหกรรม แม่สีทั้ง 3 จะแตกต่างจากวงล้อทางศิลปะอยู่เล็กน้อย เพื่อให้การพิมพ์เป็นไปได้ง่ายขึ้น ได้แก่
- 洋红 yáng hóng สีชมพูนีออน [2]
- 黄色 huáng sè สีเหลือง
- 青色 qīng sè สีฟ้าอ่อน [1]
间色 สีรอง ของวงล้อนี้ ได้แก่
- 红色 hóng sè สีแดง(洋红+黄)
- 绿色 lǜ sè สีเขียว(黄+青)
- 蓝色 lán sè สีน้ำเงิน(青+洋红)
三级色 ของวงล้อนี้ ได้แก่
- 品红 pǐn hóng สีชมพูบานเย็น
- 橙色 chéng sè สีส้ม
- 黄绿 huáng lǜ สีเขียวอมเหลือง บางทีภาษาไทยก็เรียก สีตองอ่อน
- 青绿 lán lǜ สีเขียวอมฟ้า ออกไปทางเขียวน้ำทะเล
- 青蓝 qīng lán สีฟ้า
- 紫红 zǐ hóng สีม่วงอมแดง ภาษาอังกฤษคือ Purple
สีในระบบนี้จะเพิ่มสีดำ 黑色 hēi sè หรือ K ในระบบเพื่อเพิ่มค่าความเข้มของสีให้หลากหลายได้มากยิ่งขึ้น หรือที่เราได้ยินกันบ่อยๆว่า พิมพ์ระบบสี่สี CMYK นั่นแหละ
---
เพิ่มเติม
[1] 青色 เป็นสีที่ไม่มีคำนภาษาไทยโดยตรง แต่อ่อนกว่าสีฟ้า หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ขอเรียกว่าสีฟ้าอ่อน ภาษาอังกฤษตรงกับ Cyan หากถูกกล่าวถึงในบริบทอื่นๆ มักจะหมายถึงสีที่อยู่ระหว่างเขียวและน้ำเงิน หรือ อาจจะเป็นสีเขียวออกสนิมก็ได้ จำเป็นต้องดูบริบทของเนื้อหาด้วย
[2] 洋红 เป็นสีที่ไม่มีในภาษาไทยอีกเช่นกัน เทียบให้เข้าใจง่ายสุดคือสีชมพูนีออน ภาษาอังกฤษตรงกับ Magenta
[ 白黑金银和其他 ขาว ดำ ทอง เงิน และ สีอื่นๆ ที่ควรรู้ ]
นอกจากสีต่างๆ ในวงล้อสีแล้ว ยังมีสีต่างๆ ที่เราควรรู้ไว้เพราะพบเจอได้บ่อย จะได้ไม่งง สื่อสารกันได้เข้าใจ มาไล่กันเลยดีกว่า
- 白色 bái sè สีขาว
- 黑色 hēi sè สีดำ
- 灰色 huī sè สีเทา
- 粉红色 fěn hóng sè สีชมพู
- 棕色 zōng sè สีน้ำตาล
- 米色 mǐ sè สีเบจ
- 金色 jīn sè สีทอง
- 银色 yín sè สีเงิน
[ 浅色深色 สีอ่อนสีเข้ม สีของเราไม่เคยเท่ากัน]
สีของเรามันไม่เคยเท่ากัน หนึ่งในหลักการพูดให้เข้าใจตรงกันแบบง่ายๆ คือการบอกว่าสีนี้เข้มหรือสีนี้อ่อน ถ้าจะพูดว่าสีเข้ม หรือ สีอ่อน ภาษาจีนจะเติม 深 shēn ไว้ข้างหน้าสีเพื่อบอกว่าสีนี้เข้ม 浅 qiǎn เพื่อบอกว่าอ่อน เช่น
8
- 深灰 shēn huī เทาเข้ม
- 浅灰 qiǎn huī เทาอ่อน
คำอื่นๆที่ควรรู้ก็ยังมีอีกนะ
- 无色 wú sè ไม่มีสี ไร้สี
- 透明 tòu míng โปร่งใส
- 冷色 lěng sè สีโทนเย็น
- 暖色 nuǎn sè สีโทนร้อน
- 中性色 zhōng xìng sè สีโทนกลาง
- 彩色 cǎi sè หลากสี หลายสี สีรุ้ง
ในสถานการณ์จริง เราก็อาจจะใช้สิ่งต่างๆ มาเปรียบเทียบสีด้วยก็ได้ เช่น สีแดงแบบกุหลาบ ก็จะพูดได้ว่า 玫瑰花的红色 méi gui huā de hóng sè เป็นต้น วิธีนี้ก็ถือเป็นวีธีที่ดีในการสื่อสารทั่วๆ ไป สำหรับระดับมืออาชีพก็ใช้รหัสละสีตัวอย่างมาคุยกันเพื่อให้เข้าใจตรงกันมากขึ้น
อัดกันไปเต็มๆ กับเรื่องสีตอนที่ 1 จริงๆ เรื่องสีเป็นเรื่องที่สื่อสารยากมากอยู่เรื่องหนึ่งเลยทีเกียว ทั้งปัจจัยทางด้านการแยกสีของแต่ละคน ปัจจัยทางเทคนิกต่างๆ ไม่ต้องกังวลไป เพราะขนาดระดับมืออาชีพยังต้องเอาตัวอย่างสีมาพูดกันแทนเพื่อกันความผิดพลาดเหมือนกัน 555 เพียงแค่พอเข้าใจเรื่องสีหลักๆ เพื่อให้สื่อสารได้ก็เพียงพอแล้วครับ
จริงๆ เรื่องสียังมีสนุกๆอีกเยอะเลย ไว้คราวหน้ามาต่อกันเรื่องสีและอารมณ์ ความแตกต่างของสีและความหมายระหว่างจีนกับตะวันตกกันบ้าง
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้จำเรื่องสีกันได้ง่ายขึ้นนะ อ่านจบแล้วช่วยกันได้บ้างไหมยังไงมาคอมเมนท์กันให้ชื่นใจหน่อยนะครับ
ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับภาษาจีนพร้อมภาพที่ช่วยให้ย่อยง่าย ได้ตามนี้เลย
ทางมาติดตาม
Facebook:
http://www.facebook.com/tutushidao
Blockdit:
https://www.facebook.com/tutustory
1 บันทึก
8
8
1
8
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย