28 มี.ค. 2021 เวลา 16:57 • สุขภาพ
เพื่อนๆเคยสงสัยกันมั้ยครับว่าอภัยวะที่อยู่ภายในร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็น กระเพาะ หัวใจ ม้าม ลำไส้ ตับ ไต หรืออภัยวะอื่นๆ ทำงานอย่างไรในทุกๆวัน และทำอะไรในเวลาไหนบ้าง
2
วันนี้ผมจะมาเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายในแต่ละช่วงเวลาของวัน ตั้งแต่ เช้า เที่ยง บ่าย เย็น เลยครับ รวมถึงจะมีคำแนะนำเกี่ยวกับพฤติกรรมที่จะทำให้การทำงานของอวัยวะภายในร่างกายของเรานั้นทำงานได้อย่างเป็นปกติ
พูดง่ายๆ คือ การดูแลสุขภาพอย่างถูกช่วงเวลานั่นเองครับ
ช่วงเช้า – ช่วงเที่ยง
เวลา 05.00 – 07.00 น.
ช่วงเวลานี้พลังงานในร่างกายจะไปกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้เตรียมขับถ่ายออกเสียออกจากร่างกาย ดังนั้นเราควรฝึกถ่ายอุจจาระก่อน 7 โมงเช้า มิฉะนั้นร่างกายจะดูดกลืนของเสียและพิษต่างๆกลับเข้าสู่ระบบเลือดและไปเลี้ยงร่ายกาย
3
เราควรจะออกกำลังเล็กน้อย และดื่มน้ำอุ่นหลังตื่นนอน จะเป็นการล้างของเสียในลำไส้ ทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวได้ดี
1
เวลา 7.00 – 9.00 น.
3
ในช่วงนี้ พลังงานจะเคลื่อนมาสู่กระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นช่วงที่กระเพาะอาหารทำงานได้ดีที่สุด เป็นช่วงที่ม้ามจะเก็บพลังงานสำรองเพื่อสนับสนุนให้หัวใจสูบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย จึงเป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่า อาหารเช้าสำคัญที่สุด เพราะหากไม่รับประทานอาหารเช้าหรือรับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ ม้ามจะไม่มีพลังงานสำรองหรือม้ามจะได้รับพิษจากอาหารทันที ซึ่งส่งผลต่อลำไส้และทำให้หัวใจทำงานหนัก
2
ควรรับประทานอาหารเช้าในทุกวัน และควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
เวลา 09.00 – 11.00 น.
1
ช่วงเวลานี้ ม้ามซึ่งมีหน้าที่กรองแบคทีเรีย สร้างเลือดขาว และจัดเก็บพลังงานสำรอง จะเริ่มเก็บสารอาหารทุกอย่างจากการย่อยของกระเพาะ ซึ่งหากเราไม่ประประทานอาหารเช้า ร่างกายจะดึงพลังงานสำรองมาใช้ จะทำให้พลังงานรวมของร่างกายหายไป เป็นสาเหตุของอาหารอ่อนเพลีย ไม่มีแรง อาจจะทำให้หน้ามืด เป็นลม ได้
1
อาหารที่แนะนำในการบำรุงม้าม ได้แก่ น้ำเสาวรส น้ำบ๊วย ควรเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานโดดๆ เช่น ละมุด ลำไย เป็นต้น เพราะมีโทษต่อกระเพาะอาหารและลำไส้
เวลา 11.00 – 13.00 น.
เป็นช่วงเวลาที่พลังงานในร่างกายจะเคลื่อนที่ไปสู่หัวใจ ซึ่งหากไม่ได้รับสารอาหารในเวลานี้ หัวใจจะทำงานลำบาก ฉะนั้นคนที่หัวใจวายมักจะเกิดก่อนเที่ยงหรือหลังจากกินอาหารเที่ยง
ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในตอนเที่ยง รวมถึงอาหารบำรุงหัวใจ เช่น อาหารไขมันต่ำ มะเขือเทศ ผักใบเขียว ทับทิม เป็นต้น รวมถึงหลีกเลี่ยงการนอนดึก (ตอนนี้เขียนตอนเที่ยงคืนครับ เสี่ยงมากๆ) เพราะจะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
5
ช่วงบ่าย – ช่วงเย็น
เวลา 13.00 – 15.00 น
ช่วงเวลานี้พลังงานจะเคลื่อนที่สู่ลำไส้เล็ก หากไม่มีอาหารมารอให้ลำไส้เล็กย่อย ลำไส้เล็กจะย่อยตัวเองทำให้เริ่มอ่อนแอลง รวมถึงทำให้ร่างกายก่อนเพลีย
สมอง ลำไส้ หัวใจ สมอง จะเชื่อมต่อกัน หยักทุกหยักในลำไส้เล็กคือรอยหยักในสมอง ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นในลำไส้เล็กย่อมส่งผลไปยังสมอง เช่น หากเรากินของทอด ของมัน ของหวาน ในปริมาณที่มากเกินไป จะรู้สึกง่วง เพลีย หรือมึนๆ เนื่องจากอาหารนั้นมีโทษต่อลำไส้เล็ก
1
เวลา 15.00 – 17.00 น.
ของเวลานี้ พลังงานของร่างกายจะเคลื่อนที่มาสู่กระเพาะปัสสาวะ ของเสียจากการแปรรูปที่ลำไส้จะเกิดขึ้น ทำให้กระเพาะปัสสาวะทำงานหนักมากที่สุดเพื่อขับกรดและของเสียออกจากร่างกาย
ควรดื่มในปริมาณมากได้ในช่วงเวลา เช้า กลางวัน บ่าย เมื่อถึงเวลา บ่ายสาม เป็นต้นไป ไม่ควรดื่มน้ำในปริมาณที่มากนัก เพราะจะทำให้กระเพาะปัสสาวะและไตทำงานหนักขึ้น
2
เวลา 17.00 – 19.00 น
พลังงานในร่างกายจะเคลื่อนที่มาสู่ไต ควรหยุดทำงานในช่วงเวลานี้และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆเพราะช่วงเวลานี้ไตทำงานหนักอยู่แล้ว และควรกินอาหารเย็นให้เสร็จภายในเวลา 6 โมงเย็น และควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ผัก ผลไม้
จะทำให้หลับง่ายขึ้น
2
ควรเลี่ยงการรับประทารอาหารรสเค็มและของหมักดอง เพราะจะทำให้ไตทำงานหนัก และดื่มน้ำเยอะๆในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายขับของเสียได้ง่ายขึ้น
1
ร่างกายของเราทำงานตามช่วงเวลา แต่หากเราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นประจำ เช่น รับประทานอาหาร 9 โมงเช้า หรือเข้านอน เวลา 5 ทุ่ม ร่างกายจะเกิดการปรับตัว แต่ก็ไม่ 100 % ดังนั้นควรทดแทนการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย การดื่มน้ำในเวลาที่เหมาะสม และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยได้ในส่วนหนึ่งครับ
ดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับ
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมนะครับ
โฆษณา