28 มี.ค. 2021 เวลา 23:30 • ไลฟ์สไตล์
📍มาเตรียมความพร้อม 6 ด้าน เพื่อเข้าสู่วัยเกษียณอย่างมีความสุขกัน
🏡 ในวัยเกษียณหลายๆคน ก็คงมีความตั้งใจ อยากที่จะมีบ้านหลังเล็กๆ ริมทะเลสาบสวยๆ มีสุขภาพที่แข็งแรง อยู่กับลูกๆหลานๆ ไปจนบั้นปลายของชีวิต ⤵️
แต่ในโลกแห่งจิตนาการ กับโลกแห่งความเป็นจริง!!
บางทีมันก็ช่างแตกต่างกันเหลือเกิน
เงินก็เป็นตัวแปรสำคัญแหละ ที่จะทำให้ความฝันเป็นจริง!!
📍การวางแผนเตรียมความพร้อม ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็มีความสำคัญมากๆเช่นกัน
เพราะหากเรารอเวลา ค่อยทำในวัยเกษียณ..
วันนั้นอาจจะสายไปแล้วก็เป็นได้!!
👉 โดยส่วนมากการเกษียณของคนทั่วไปนั้น ก็มักจะถือเอาอายุ 60 เป็นเกณฑ์ในการเกษียณอายุ
การก้าวเข้าสู่สังคมวัยเกษียณ หรือพูดตรงๆก็คือ "วัยชรา" คงไม่ได้เป็นเรื่องที่ดูน่าสนุก ตื่นเต้น หรือท้าทาย เหมือนวัยเด็ก และวัยหนุ่มสาวแน่ๆ
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการดำเนินชีวิตของคนวัยนี้ มักจะมีในเรื่องของสุขภาพร่างกายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่มาก และก็ส่งผลต่อสภาพจิตใจ
หน้าที่การทำงาน ถูกลดบทบาทลง ไม่ได้รับการยอมรับเหมือนที่เคยเป็น และหากไม่ได้เตรียมใจไว้ก่อนล่วงหน้า ก็มักจะส่งผลให้คิดว่าตัวเองเป็นคนที่ไร้ประโยชน์ เหงา เบื่อ ไร้คุณค่า เกิดสภาวะซึมเศร้า และเครียดต่อไปได้
2
📍การเตรียมตัวที่ดี ควรเตรียมให้ครบทุกด้าน
จะมีอะไรบ้างตามไปดูกันค่ะ....
1. เตรียมความพร้อมในด้านร่างกาย
: การเตรียมตัวเพื่อดูแลสุขภาพร่างกาย ก่อนถึงวัยเกษียณนับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากๆ เพราะคนในวัยนี้จะมีสุขภาพร่างกายที่เสื่อมถอยอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะผิวพรรณ เซลล์ต่างๆในร่างกาย สายตา การได้ยิน การเคลื่อนไหว หรือการรับรู้ต่างๆ ล้วนพร้อมใจกันเสื่อมลงแบบไม่ต้องนัดหมาย
ทางที่ดีเราควรที่จะเริ่มดูแล และเตรียมความพร้อม ให้สุขภาพร่างกายของเราดีตั้งแต่วันนี้ เพราะสุขภาพที่ดีได้ในวันข้างหน้า ล้วนเป็นผลสืบเนื่องมาจากการดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
เริ่มต้นง่ายๆด้วยการหมั่นออกกำลังกาย ควบคุมโภชนาการ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ มีผ่อนคลายเที่ยวเล่นบ้าง เพื่อให้มีสุขภาพจิตที่ดี และไม่ควรที่จะลืมตรวจสุขภาพประจำปี
2. เตรียมพร้อมด้านจิตใจ
: เป็นการเตรียมความพร้อม ในการที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เรายังคงรักษาสุขภาพจิต และมุมมองความคิดที่ดีต่อไปได้ อาจจะพูดง่ายๆก็คือ การทำใจยอมรับความจริง และมองโลกในแง่ดี
ในการเตรียมความพร้อมทางจิตใจนี้ บางทีอาจจะต้องใช้หลักธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ การฝึกฝนจิตใจให้ไม่ยึดติดกับลาภ ยศ สรรเสริญ การยอมรับความจริงกับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป การได้นั่งสมาธิ หรือการได้ทำบุญ ก็เป็นสิ่งที่จะช่วยให้จิตใจเกิดความปิติสุขขึ้นมาได้
การหมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการสร้างพื้นฐานครอบครัวให้อบอุ่น พร้อมจะเข้าใจกัน สิ่งนี้ก็ช่วยได้เช่นกันค่ะ
3. เตรียมพร้อมด้านครอบครัว และสังคม
: ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันค่ะ เราควรที่จะรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในครอบครัวเอาไว้ มองเห็นคุณค่า และเรียนรู้ที่จะดูแลจิตใจของกันและกันในครอบครัว เมื่อวัยเกษียณมาถึงความอบอุ่นในครอบครัว จะเป็นสิ่งที่ช่วยผลักดันให้เรามีความสุขในชีวิตต่อไปได้ในทุกๆวัน
4. เตรียมพร้อมด้านที่อยู่อาศัย
: ควรรีบ📍ปักหมุดบ้าน หรือที่นอน ในวัยเกษียณตั้งแต่เนิ่นๆเลยค่ะ ถูกใจแบบไหน ที่ใด เตรียมสะสมเงินไว้ให้พร้อม เลือกให้ดีว่าในวันนั้นเราอยากอยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบไหน หรืออยู่กับใครแล้วสบายใจที่สุด คุยกับคนในครอบครัวให้เข้าใจกันแต่เนิ่นๆนะคะ
ที่สำคัญคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ!!
5. เตรียมพร้อมด้านทรัพย์สินเงินทอง
: สิ่งนี้ควรเตรียมความพร้อมล่วงหน้าอย่างน้อย 20 - 30 ปี ควรวางแผนในเรื่องของ
"ระยะเวลาการใช้เงินก้อนสุดท้ายในชีวิต" โดยอาจจะวางแผนคิดตามอายุเฉลี่ยของคนส่วนใหญ่ คือ 72-75 แล้วอาจจะบวกเพิ่มก็ได้ เตรียมเงินในส่วนของค่าใช้จ่ายแต่ละวัน และโดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลที่มักเพิ่มราคาขึ้นทุกปี
1
"อัตราเงินเฟ้อ" ในอนาคตถ้าเกิดอัตราเงินเฟ้อยิ่งสูง เงินฝากของเราก็จะลดค่าลงด้วย ควรวางแผนในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน
"สุขภาพ และวิถีชีวิต" วางแผนในเรื่องของค่าใช้จ่าย ตามวิถีชีวิตที่เราต้องการเลยค่ะ อยากมีคุณภาพชีวิตแบบไหน แต่ละวันต้องใช้จ่ายเท่าไร มีกิจกรรมอะไรบ้างในแต่ละเดือน วางแผนค่าใช้จ่ายล่วงหน้ากันเลย และอย่าลืมระวังในเรื่องของการดูแลสุขภาพด้วยนะคะ
1
6. เตรียมพร้อมด้านเวลา และกิจกรรมยามว่าง
: คนในวัยเกษียณ มักจะมีเวลาว่างอยู่มาก การได้ใช้เวลาว่างอย่างมีประโยชน์ ได้ทำกิจกรรมที่รักหรือชอบ ก็มักจะทำให้สุขภาพกาย และสุขภาพใจดีขึ้นตามไปด้วย
เตรียมพร้อมวางแผน สิ่งที่อยากจะทำในวันนั้น กันตั้งแต่ตอนนี้เลยก็ดีนะคะ เพราะกิจกรรมบางอย่างต้องใช้เงินในการลงทุน หรือต้องใช้การฝึกฝน เรียนรู้ล่วงหน้า การเข้าใจ และได้เตรียมตัวก่อนจะเป็นสิ่งที่ดีค่ะ
📍📍 หากใครโสด วางแผนอยากมีคนดูแลสบายๆ ยามเกษียณ ยังมีตัวเลือกเพิ่มค่ะ
**ขอแค่เตรียมเงิน....
รวม 9 บ้านพักคนชรา จากเพจติดบ้าน HOME addict
รูปภาพจาก Facebook : เพจ HOME addict
👉 ที่หรูหราหมาเห่าสุดๆ ก็จะเป็นพวกโครงการบ้านชุมชนผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นของศุภาลัย
ในโครงการ “ศุภวัฒนาลัย” (Supalai Wellness Valley) ที่รับคนอายุ 50 ปีขึ้นไป
รูปภาพจากเว็บำซต์ท้ายบทความ
ขนาดของบ้านแต่ละหลังในโครงการก็จะประมาณ 55 ตร.ม. มี 1 ห้องนอน 1 ห้องนั่งเล่น และ 1 ห้องน้ำ พร้อมพื้นที่ หน้าบ้าน และหลังบ้าน ที่ให้ทำสวนส่วนตัว
มีระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชม. มีกล้อง CCTV เข้า-ออกภายในโครงการ มีติดตั้งอุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉิน และมีศูนย์ Service Center พร้อมเจ้าหน้าที่พยาบาลให้การดูแลบริการ ที่สำคัญมีกิจกรรมที่ให้ความรู้ในด้านต่างๆ เช่น ด้านสุขภาพ ทำอาหาร ศิลปะ บันเทิง เกษตรกรรม ท่องเที่ยว ไม่ให้ได้เบื่อกันเลย
ราคาเช่าซื้อระยะยาวเริ่มต้นเพียง 1.3 ล้านบาท สำหรับผู้พักอาศัย 1 ท่าน และราคา 1.5 ล้านบาท สำหรับผู้พักอาศัย 2 ท่าน
** มีระยะเวลาครอบครองสิทธิ 30 ปี
👉 ที่หรูหราหมาเห่าอีกที่ก็ของ "แสนสรา แอท แบคเม้าท์เท่น" โดยบริษัท แสนสรา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด อยู่ที่ประจวบคีรีขันธ์
รูปภาพจากเว็บไซต์ท้ายบทความ
ราคาเริ่มต้น 4 ล้านบาท 😳😳
สิทธิอยู่อาศัย 30 ปี ต่อสัญญาได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 10 ปี
เป็นโครงการที่อยู่ภายใต้แนวคิด "ใช้ชีวิตอย่างคนที่คุณรัก" โดยเน้นเจาะกลุ่มเป้าหมาย เป็นกลุ่มคนวัยเกษียณชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอังกฤษ ยุโรปตอนเหนือ และออสเตรเลีย
📍📍 นอกจากนี้ยังมีอีกเทรนที่เป็นทางเลือกค่ะ
“Senior Cohousing” หรือการแชร์บ้านร่วมกันสำหรับผู้สูงอายุ
จริงๆเริ่มต้นขึ้นที่ประเทศเดนมาร์กในต้นปี พ.ศ. 2503 และถูกนำไปยังอเมริกาเหนือในปีพ.ศ. 2531
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดชุมชนผู้สูงอายุ ได้มาสนุกกันกับเพื่อนๆ ในพื้นที่ส่วนกลาง และในขณะเดียวกันก็ยังมีความเป็นส่วนตัว ในพื้นที่ของตนเองอยู่
แต่ข้อเสียก็มีคือ....เราจะคาดหวังให้เพื่อนร่วมบ้านมาคอยช่วยดูแลเรา ในระดับเดียวกับผู้ดูแลที่เชี่ยวชาญไม่ได้
📍📍📍 สรุป 📍📍📍
เตรียมใจ เตรียมร่างกาย เตรียมกิจกรรม และเตรียมเงินให้พร้อม....
ใครใคร่อยู่แบบไหน วางแผนกันตามที่หัวใจเรียกร้องเลยค่ะ 💓
รู้จักวางแผนทางการเงิน มีเงินออม มีประกันชีวิต ไว้ก็อุ่นใจดีนะคะ ไปศึกษากันได้ที่เพจ "ปั้นเงินออม" เลยค่ะ
🙏 ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความร่วมกันนะคะ 💓💓
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
• บทความเรื่อง "เกษียณอย่างไรให้เกษม" How to Retire Happily (ของคุณ อุไร สุทธิแย้ม) อาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาต่อเนื่อง และอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
โฆษณา