29 มี.ค. 2021 เวลา 00:06 • การศึกษา
จุดแดงบนหน้าผากผู้หญิงอินเดีย?
1
เรามักพบเห็นว่าผู้หญิงอินเดียส่วนใหญ่มีจุดแดงที่กลางหน้าผาก บางคนอาจเข้าใจว่าเป็นหนึ่งของการตกแต่งของผู้หญิงอินเดีย
“บินดิ” ตามธรรมเนียมพราหมณ์-ฮินดูดั้งเดิมเป็นเครื่องหมายมงคล เชื่อว่าจะนำมาซึ่ง ความเจริญ​รุ่งเรือง​ เป็นศัพท์ที่มาจากภาษาสันกฤต คำว่า “Bindu” ซึ่งแปลว่า “จุด” ซึ่งมักจะเป็นจุดสีแดง ที่แต้มบนหน้าผาก​ ระหว่างหัวคิ้วทั้งสองของผู้หญิงอินเดีย​ เรียกว่า​”บินดิ” (Bindi)​
3
สีแดง​ หมายถึง​ เลือด​ ซึ่งเปรียบเสมือน คำมั่นสัญญา
จุดแดงนี้ ทำมาจากมูลวัวที่เผาและบดจนละเอียดแล้วผสมเข้ากับสีแดงที่ได้จากรากไม้​ มูลวัวไม่ถือว่าเป็นของสกปรก เพราะวัวเป็นพาหนะของพระศิวะและกินพืชเป็นอาหาร ผงชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า “ผงวิภูติ”
1
พระแม่ปารวตี
นอกจากนี้​ “บินดิ​” ยังถือว่าเป็นสัญลักษณ์​ของพระแม่ปารวตี(Parvati) ที่เชื่อกันว่า​ใช้ปกป้องสตรีที่แต่งงานแล้วและสามีของตน ทั้งยังเชื่อว่าใช้ปกป้องสตรีเหล่านี้จากสายตาริษยาของคนทั่วไปด้วย จึงถือ​เป็นสัญลักษณ์ของการแต่งงาน เพราะเครื่องหมายนี้จะแต่งแต้มบนหน้าผากของผู้หญิงที่แต่งงานแล้วเป็นหลัก
1
สตรีในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู​ตั้งแต่โบราณ เมื่อแต่งงานแล้วจะแต้มจุดแดงที่กลางหน้าผาก​เป็นสั​ญลักษณ์ของ​การมีพันธะ ด้านการ​ครองเรือน​ ในฐานะผู้เป็นภรรยา
1
สตรีอินเดียถือสามีเสมือนเทพ จะให้ความรัก ความเคารพอย่างสูง การเจิมหน้าผากจะทำในวันแต่งงาน เมื่อคู่บ่าวสาวเดินรอบกองไฟแล้ว พราหมณ์​ผู้ประกอบพิธีหรือ ผู้ที่เป็นเจ้าบ่าว จะเจิมหน้าผากให้เจ้าสาว เป็นการประกาศว่า สตรีผู้นั้นเป็นภรรยาอย่างถูกต้องต้องตามประเพณี ผู้หญิงอินเดียจะต้องมีจุดนี้อยู่ตราบที่สามีมีชีวิตอยู่​ และจะลบออกเมื่อสามีเสียชีวิต
3
ในกรณีที่เลิกร้างกัน​ สตรีนั้นจะลบจุดออกได้ก็ต่อเมื่อเป็นการเลิกร้างโดยคำสั่งศาล​ หากสตรีผู้นั้นลบจุดบินดิออก โดยที่สามียังมีชีวิตอยู่​ หรือ​ไม่ได้เลิกกัน โดยชอบกฎหมายจะถือว่าเป็นการกระทำสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ
จุดแดงบนหน้าผากนี้ เปรียบเสมื​อ​นสัญลักษณ์​ เครื่องราง​ เครื่องหมาย​ ที่บ่งบอกถึงคำสัญญา ที่ยิ่งใหญ่และหนักแน่นในใจหญิงสาวชาวอินเดีย
การแสดงออกทางสัญลักษณ์ของผู้หญิงอินเดีย​ เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความรัก ความศรัทธาและความ​ซื่อสัตย์​ กลายมาเป็นจารีตประเพณี และวิถีปฏิบัติตามความเชื่อของชาวอินเดียตลอดมา
สตรีที่อายุที่มากขึ้น จะแต้มจุดบนหน้าผากให้ใหญ่ขึ้น
ในบางครั้ง “บินดิ” อาจไม่ใช่สัญลักษณ์ของสตรีที่แต่งงานเพียงอย่างเดียว เพราะบินดิ ถือว่าเป็นสิ่งมงคล ชาวอินเดียบางกลุ่มใช่ในโอกาสอื่นๆ เช่น​ ไหว้พระ​ พราหมณ์​จะให้​ “ผงภูติ” มาเจิมเพื่อเป็นสิริมงคล แต่ก็เป็นการเจิมเพียงชั่วคราวเท่านั้น
1
แต่​ความเชื่อ​ ทางศาสนา  ตามธรรมเนียมดั้งเดิมนั้น แทบจะเลือนหายไป “บินดิ” ได้กลายเป็นเครื่องตกแต่งอย่างหนึ่งของหญิงสาว​ และสตรีทั่วไปตามแฟชั่น
บินดิ รูปแบบที่ทันสมัยใหม่
ในปัจจุบัน​ มีบินดิสำเร็จรูป วางจำหน่ายหาซื้อได้ง่ายและสะดวก​ มีรูปแบบที่เป็นสติกเกอร์ง่ายแค่ลอกออก อีกทั้งยั้งมีความหลากหลายทั้งสีสัน ลวดลาย​ ​ วัสดุที่นำมาตกแต่งให้ดูงดงามมากกว่าเดิมและสะดวกในการใช้
3
โฆษณา