Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นานาสาระ by Dr. TC
•
ติดตาม
30 มี.ค. 2021 เวลา 07:16 • ท่องเที่ยว
คิดถึง แหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope) แหลมแห่งความหวัง
เมื่อ 5-6 วันก่อน มีข่าวใหญ่เรื่อง เรือเอฟเวอร์ กิฟเวน (Ever Given) ซึ่งเป็นเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าลำยักษ์ ที่ดำเนินการโดยเอเวอร์กรีน มารีน บริษัทสัญชาติไต้หวัน เข้าไปติดขวางคลองสุเอซ เส้นทางการขนส่งทางน้ำที่ใหญ่ระดับโลก จนบล็อกการจราจรของคลองในประเทศอียิปต์ เรือลำอื่นผ่านเข้าออกไม่ได้ ส่อเค้าปั่นป่วนระบบการขนส่งสินค้าทั่วโลก
ณ ขณะนั้นที่ยังแก้ไขปัญหาไม่ได้ หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยได้นึกถึงเส้นทางเดินเรือดั้งเดิม คือผ่านแหลมกู๊ดโฮป เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ ขึ้นมาทันที (ตามรูป) อย่างไรก็ตามไม่เพียงแต่เส้นทางการเดินเรือจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 6,000 ไมล์ แล้ว เราจะต้องพิจารณาหลายปัจจัย รวมถึงสินค้าต่างๆ ที่สำคัญ ซึ่งเป็น critical and time-sensitive cargo ด้วย
แต่โชคดีทีเมื่อวาน ได้ทำการแก้ไชสถานการณ์นี้ได้แล้ว โดย รอยเตอร์ รายงานว่า เมื่อ 29 มี.ค.2564 เรือเอฟเวอร์ กิฟเวน เคลื่อนตัวออกจากจุดที่ติดขวางคลองสุเอซได้แล้ว และหลังจากข่าวเรือดังกล่าว กลับมาลอยได้เผยแพร่ออกไป ทำให้ราคาน้ำมันลดลงทันที จะเห็นได้ว่า เหตุการณ์ดังกล่าวมีผลต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก
1
สำหรับผู้เขียนแล้ว เมื่อหลายคนพูดถึง เรือมาขวางคลองสุเอซ ไม่สามารถไปทางลัดจากยุโรปมาเอเชียได้ อาจต้องอ้อมแหลมกู๊ดโฮป ผ่านทางใต้ของทวีปแอฟริกา เลยทำให้คิดถึง แหลมกู๊ดโฮป แหลมแห่งความหวัง ที่ได้ไปเที่ยวมาเมื่อหลายปีก่อนขึ้นมาทันทีค่ะ จึงขอเล่าถึงประวัติแหลมกู๊ดโฮปนะคะ
เครดิตภาพ: Dr. TC และ อ้างอิง 3
ประวัติแหลมกู๊ดโฮป แหลมแห่งความหวัง
เมื่อผู้เขียนมาถึง แหลมกู๊ดโฮป ตอนที่มาเที่ยวเมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ ทำให้คิดถึงวิชาภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ที่ได้เรียนตอนเด็ก ซึ่งกล่าวถึงแหลมกู๊ดโฮปไว้อย่างมากมาย จึงตื่นเต้นว่า เรามาเหยียบ แหลมกู๊ดโฮป แล้วหรือ ผู้เขียนได้สูดอากาศบริสุทธิ์อย่างเต็มปอด และดื่มด่ำวิวธรรมชาติของมหาสมุทรที่ปลายแหลมนี้อย่างเต็มที่ มีความสุขค่ะ
แหลมกู๊ดโฮป (อังกฤษ: Cape of Good Hope; อาฟรีกานส์: Kaap die Goeie Hoop; ดัตช์: Kaap de Goede Hoop) คือแหลมที่ยื่นออกไปทางด้านมหาสมุทรแอตแลนติกไม่ไกลจากเคปทาวน์ของประเทศแอฟริกาใต้ โดยทั่วไปมักจะเข้าใจผิดกันว่าแหลมกู๊ดโฮปตั้งอยู่ตอนปลายสุดของทวีปแอฟริกาและเป็นจุดที่แบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย แต่ตามความเป็นจริงแล้วแหลมที่อยู่ปลายสุดของทวีปแอฟริกา คือ แหลมอะกะลัส (Cape Agulhas) ประมาณ 150 กิโลเมตรไปทางตะวันออกเฉียงใต้
ความสำคัญของแหลมกู๊ดโฮปเป็นความสำคัญทางจิตวิทยา เพราะถ้าเดินทางตามแนวฝั่งจากเส้นศูนย์สูตรแล้วแหลมกู๊ดโฮปก็จะเป็นจุดที่เป็นการเริ่มหันการเดินทางไปทางตะวันออกมากกว่าที่จะเดินทางต่อไปทางใต้ ดังนั้น การเดินทางรอบแหลมกู๊ดโฮปในปี ค.ศ. 1488 จึงเป็นจุดหมายสำคัญในการพยายามโดยชาวจักรวรรดิ ในการพบเส้นทางการค้าจากยุโรปโดยตรงไปยังตะวันออกไกล
เมื่อนักเดินทางชาวโปรตุเกศนามว่า Bartolomeu Dias ได้ล่องเรือเสี่ยงตายฝ่าคลื่นพายุมาขึ้นฝั่งที่แหลมแห่งนี้ได้สำเร็จเป็นคนแรก เขาได้ตั้งชื่อให้กับแหลมที่มีภูมิอากาศแปรปรวนสุดขีดแห่งนี้ว่า Cape of Storm หรือ “แหลมแห่งพายุ”
อากาศบริเวณนี้จะแปรปรวน ในทะเลมีหมอกจัดเพราะกระแสน้ำที่มีอุณหภูมิไม่เท่ากันมาปะทะกัน ยากต่อการเดิน เรือในสมัยโบราณ และก่อให้เกิดภาพหลอนมิติอันลึกลับและเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับ ฟลายอิ้งดัตซ์แมน ( Flying Dutchman) เรือที่พยายามจะอ้อมผ่านแหลมกู๊ดโฮปแต่ทำไม่สำเร็จ สูญหายไปเป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้ว แต่ยังมีผู้เห็นเรือปีศาจลอยลำหาทางไปในทะเล หมอกหนาทึบจนทุกวันนี้
ซึ่งต่อมา “พระเจ้ายอห์น” กษัตริย์โปรตุเกสได้เปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า Cape of Good Hope หรือ “แหลมแห่งความหวัง” เป็นการสื่อความหมายว่าเส้นทางนี้สามารถพาไปถึงอินเดีย ประเทศซึ่งเป็นช่องทางความหวังใหม่ทางการค้าของชาวตะวันตกในสมัยนั้น
ปัจจุบัน แหลมกู๊ดโฮป อยู่ในประเทศแอฟริกาใต้ เป็นแหลมที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก อยู่ในเขตสงวน Cape of Good Hope Nature Reserve ห่างจากเคปทาวน์ราว 60 กิโลเมตร ปลายสุดของแหลมมีประภาคารที่สามารถมองเห็นรอยบรรจบกันของ “มหาสมุทรอินเดีย” และ “มหาสมุทรแอตแลนติก” ได้อย่างชัดเจนบนผิวน้ำ และด้วยความสวยงามของธรรมชาติที่นี่จึงสามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมากมาย
อย่างไรก็ตาม แหลมกู๊ดโฮป ถือเป็นจุดสำคัญมากในการเดินเรือจากยุโรปไปยังเอเชียในสมัยก่อน เนื่องจากเป็นจุดสังเกตที่ชัดเจนในการเดินทางว่ากำลังมาถึงทางใต้สุดของแอฟริกาแล้ว และต่อไปจะเป็นการเดินทางอ้อมไปทางตะวันออกแทน จึงทำให้มีการแย่งชิงกันเพื่อเข้าครอบครองพื้นที่เพื่อตั้งเป็นสถานีสำหรับจอดพักเรือในระหว่างการเดินทาง
1
จนกระทั่งในที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ได้ตั้งเมืองเคปทาวน์ขึ้นทางตอนเหนือสุดของแหลมกู๊ดโฮปในปี 1652 ซึ่งแม้ว่าหลังจากการขุดคลองสุเอซในปี 1869 จะทำให้การเดินเรือจากยุโรปไปเอเชียหันไปใช้คลองสุเอซแทน แต่จากทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ในแอฟริกาใต้ (โดยเฉพาะเพชรและทองคำ) ก็ทำให้แหลมกู๊ดโฮป ยังคงเป็นจุดหมายสำคัญในการเดินเรืออยู่
ดังนั้น ถ้าพวกเรามีโอกาสไปเที่ยวที่ประเทศแอฟริกาใต้ อย่าลืมไปเที่ยวชม แหลมกู๊ดโฮป แหลมแห่งความหวัง ที่มีความสำคัญทั้งทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของโลก ซึ่งเราอาจจะต้องใช้เป็นเสันทางนี้ขนส่งเชื่อมโลกกันอีกครั้งก็ได้
อ้างอิง:
1.
https://th.wikipedia.org/wiki/แหลมกู๊ดโฮป
2.
http://www.airpano.com/360Degree-VirtualTour.php
...
3.
https://seemorerocks.is/tanker-rates-rise-as-global-shippers-scramble-to-reroute-ships-around-africa/
4.
https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_6227312
1 บันทึก
7
4
8
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เคปทาวน์ : เมืองท่องเที่ยวติดอันดับโลก
1
7
4
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย