30 มี.ค. 2021 เวลา 03:53 • ประวัติศาสตร์
"การแพทย์โรม" ศาสตร์ความรู้ที่ถูกส่งต่อมายังยุคปัจจุบัน
ในเวลาที่คนเรานั้นเกิดเจ็บป่วย เราก็ต้องไปหาคุณหมอ แล้วคุณหมอก็จะสอบถามอากการ ตรวจร่างกาย และ เขียนใบสั่งยา รวมถึงอาจมีข้อปฏิบัติที่ต้องทำ อย่างห้ามกินอาหารบางประเภท เครื่องดื่มบางชนิด รวมถึงกิจกรรมบางอย่างที่ต้องงด จากนั้นเราก็จะไปรับยาตามที่คุณหมอสั่ง นั้นคือเรื่องปกติของทุกคนในยุคนี้
แอดเลยเกิดคำถามขึ้นมาในหัวว่า แล้วใครกันละที่เป็นคนคิดเรื่องแบบนี้ขึ้นแอดได้ไปศึกษาและค้นหา จนได้พบกับจุดเริ่มต้นของวิธีเหล่านี้ซึ่งถ้ามองในตอนนี้ก็คงจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในยุดสมัยนั้น สิ่งนี้มันคืออะไรที่สุดยอดมากการจัดการอย่างมีระบบระเบียบ การรักษาที่ทันสมัยและช่วยชีวิตคนได้เพิ่มขึ้นแหล่งข้อมูลสำคัญต่างๆที่ถูกส่งต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเราจะมาบอกเล่าเรื่องราวนี้กัน
โดยกลุ่มผู้ที่คิดมันขึ้น ก็คือ ชาวโรมมันนั่นเอง หากพูดถึงโรมทุกคนคงนึกถึง กองทหารที่แข็งแกร่ง นักสู้กลาดิเอเตอร์ โคลอสเซียม แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่ ชาวโรมนั้นได้คิดขึ้นนั่นคือ การักษาโรคภัยและสุขอนามัย การแพทย์นั่นเอง ซึ่งพวกเค้าต่างทำมันออกมาได้ดีมากๆเรียกได้ว่า หากคุณอยากไปหมอที่เก่งในยุคนั้นคุณต้องมาเรียน การแพทย์ ที่กรุงโรมให้ได้
จุดเริ่มต้นของการแพทย์
การแพทย์ของโรมันได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการปฏิบัติทางการแพทย์และวรรณกรรมของกรีกก่อนหน้าแต่ยังมีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์การแพทย์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองผ่านผลงานของผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงเช่น Galen และ Celsus
การแพทย์ในช่วงแรกนั้นจะไดรับอิทธิพลมาจากทางกรีกโดยมีเนื้อหาเป้นวรรณกรรมและใส่เรื่องของทางความเชื่อลงไปด้วย
โดยช่วงแรกยังไม่ค่อยเป็นที่สำคัญมากนักเนื่องจากประชากรโรมส่วนใหญ่จะอยู่กันเป็นครัวเรือนขนาดใหญ่และจะมีแพทย์ประจำครัวเรืองอยู่แล้วการรักษาส่วนมากจะเป็นความรู้ที่สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่นหรือมาจากทางกรีก
ต่อมาไม่ช้าเริ่มมีแพทย์หลายคนเขียนววรกรรมและอุทิศตนในการศึกษาและคิดค้นการรักษาที่ดียิ่งขึ้นและเขียนออกมาเป็นวรรณกรรมการแพทย์โดยในนั้นจะมีเนื้อหาทั้งเรื่องการใช้สมุนไพรในการรักษาโรค วิธีการักษาที่ได้ผลผ่านการค้นคว้ามา และการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจนเริ่มมีความนิยมทางการแพทย์กว้างขึ้นเรื่อย ๆ การรักษาจึงเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ในช่วงนั้นได้มีวรรณกรรมของแพทย์ชาวโรมันที่อุทิศให้กับเรื่องการแพทย์ แต่ส่วนมากก็ได้สูญหายไปจากประวัติศาสตร์และเพื่อป้องกันเรื่องนี้ จึงมีการคัดลอกตำราการแพทย์อยู่หลายครั้ง เพื่อให้มันยังคงให้ความรู้แก่คนรุ่นหลัง และในบางอันยังให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความเจ็บป่วยที่แพทย์และผู้ช่วยของพวกเขาต้องรับมือจากการเป็นแพทย์ประจำกองทัพทหารโรมมันทำให้ได้พบกับโรคและอาการป่วยที่แปลกใหม่มากขึ้น
แพทย์ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น
คนแรก
Galenเป็นแพทย์ที่ได้ถูกยอมรับว่าเป็นแพทย์ที่เก่งมากที่สุดในยุคนั้น ผลงานของ Galen ได้ปรับเปลี่ยนความเข้าใจทางการแพทย์เกี่ยวกับสาเหตุของโรคได้จากการรักษาใหม่ ๆ เค้าได้เป็นคนริเริ่มมีการผ่าเพื่อศึกษาค้นคว้าร่างกาย จนเกิดเป็นกายวิภาคศาสตร์ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต และทำให้การผ่าตัดเริ่มสามารถที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการศึกษาร่างกายของสิ่งมีชีวิต
เค้ามีความสนใจที่จะผ่าศึกษาร่างกายมนุษย์แต่ว่าขัดกับกฎหมายโรมในสมัยนั้นที่การผ่าชำแหละร่างกายมนุษย์ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดเขาจึงศึกษาในหมู เอป(ลิงไม่มีหาง) และสัตว์อื่นๆ แทนบันทึกแนวคิดของเขาในหนังสือหลายเล่มซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดทางการแพทย์ในอีกหลายปีต่อ ๆ ไป
เกเลน ( ค.ศ. 129- ประมาณ ค.ศ. 200 หรือ 216) แห่งเพอร์กามอน เป็นแพทย์ชาวกรีกซึ่งมีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ของตะวันตกมาเป็นเวลานานกว่าพันปี และเป็นแพทย์ประจำตัวขององค์จักรพรรดิมาร์คัสออเรลิอุส
คนที่สอง
Asclepiades ศึกษาเพื่อเป็นแพทย์ในอเล็กซานเดรียและฝึกฝนการแพทย์ในเอเชียไมเนอร์และกรีซก่อนที่เขาจะย้ายไปโรมในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตศักราช ความรู้เรื่องยาทำให้เขาเจริญรุ่งเรืองในฐานะแพทย์ Asclepiades เป็นแพทย์ชั้นนำในกรุงโรมเขาพัฒนาโครงสร้างโมเลกุลของร่างกายมนุษย์ในเวอร์ชันของเขา
เอสเซอร์บิดัส เขาพยายามสร้างทฤษฎีใหม่ของโรคโดยอาศัยการไหลของอะตอมผ่านรูขุมขนในร่างกาย การรักษาของเขาพยายามที่จะฟื้นฟูความแข็งแรงทางร่างกายและสภาพจิตโดยใช้การออกกำลังกาย  อาหาร และการนวด
Asclepiades เชื่ออย่างมากในการอาบน้ำร้อนและเย็นเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย เทคนิคของเขาไม่ได้ส่งผลเสียให้กับผู้ป่วย Asclepiades ใช้เทคนิคโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความรู้สึกสบายตัว แลผ่อนคลาย โดยการรักษาของเค้าจะไปทางบำบัดรักษา อย่างการ นวดบำบัด การฟังดนตรีบำบัดจิตใจ การออกกำลังกายกายบำบัดทหารที่ได้รับบาดเจ็บ และเค้ายังให้ผู้ป่วยทานอาหารเป้นการรักษาฟื้นฟูสภาพร่างกาย และมีการศึกษาค้นค้วาถึงอาหารบางชนิดที่ห้ามทานในระหว่างที่ป่วยอยู่นั่นเอง
คนที่สาม
Aulus Cornelius Celsusเป็นนักสารานุกรมชาวโรมันที่เขียนสารานุกรมทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องต่างๆงานเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่จากสารานุกรมขนาดใหญ่ของเขาคือ
De Medicina ผลงานชิ้นนี้มีแปดเล่มโดยสองเล่มเกี่ยวกับการผ่าตัด
ออลัส คอร์เนเลียส เซลซัส ผู้ที่เขียนหนังสือDe Medicina เป็นสาราณุกรมที่รวบรวมทุกอย่างเกี่ยวการแพทย์ในยุคนั้นทั้งโรค การรักษา การตรวจร่างกาย และยังมีรายชื่อของสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาหลากหลายชนิดกว่า 500 ชนิด
เนื้อหาของมันได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีคุณค่าจนกระทั่งในศตวรรษที่ 15 หลังจากที่สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 ค้นพบหนังสือเล่มนี้กลายเป็นหนังสือทางการแพทย์เล่มแรกที่ตีพิมพ์ในคริสตศักราช 1478 ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าเขาฝึกฝนยาด้วยตัวเองหรือเพียงแค่รวบรวมผลงานในเวลานั้นส่วนใหญ่
การหันไปพึ่งพิงเทพเจ้าในการช่วยในการรักษา
เป้าหมายโดยรวมของแพทย์คือการช่วยเหลือผู้ที่ป่วยจากโรคหรือการบาดเจ็บให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความน่าเชื่อถือของแพทย์อยู่ที่การรักษาที่ประสบความสำเร็จ แน่นอนว่าพวกเขาไม่สามารถรักษาโรคบางอย่างได้ บางครั้งสิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเขาหวังได้ก็คือการรักษาของพวกเขาไม่ได้ทำให้ปัญหาของคนไข้แย่ลง
และหากบางโรคที่ไม่อาจรักษาด้วยยาหรือวิธีการได้สิ่งสุดท้ายที่แพทย์แนะนำคือให้หันไปพึงพิงขอความช่วยเหลือจากเทพที่ชาวโรมนั้นเคารพนับถือ
ชาวโรมันเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ว่าสามารถรักษาโรคที่แพทย์นั้นไม่สามารถทำได้ มีคำอธิบายเกี่ยวกับเทพเจ้าหลายองค์จากหลายศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการทำลายล้างหรือการรักษา ตัวอย่างเช่นในปีคริสตศักราช 431 เพื่อจัดการต่อภัยพิบัติที่กำลังระบาดทั่วประเทศอิตาลีวิหารของ Apollo Medicus ได้รับการรับรอง ด้วยอิทธิพลทางหลักความเชื่อว่าสามารถผู้ป่วยจากโรคระบาดในตอนนั้นที่แพทย์ต่างรักษาให้หายขาดไม่ได้
จุดเริ่มต้นของโรงพยาบาล
โรงพยาบาลโรมันที่เก่าแก่ที่สุดของจักรวรรดิโรมันสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 1 และ 2,ในรัชสมัยของจักรพรรดิทราจัน การขยายตัวของกองทัพนอกคาบสมุทรอิตาลีมีผู้บาดเจ็บมากขึ้นและไม่สามารถดูแลในบ้านส่วนตัวได้อีกต่อไป ด้วยเหตุนี้จึงมีการจัดตั้งvaletudinaria เป็นโรงพยาบาลภาคสนามหรือค่ายทหารกลุ่มเล็ก ๆ ของเต็นท์และป้อมปราการที่ให้กับทหารที่ได้รับบาดเจ็บ
Trajan เป็นจักรพรรดิโรมันตั้งแต่ปี 98 ถึง 117 ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการโดยวุฒิสภา optimus princeps ("ผู้ปกครองที่ดีที่สุด") Trajan ได้รับการจดจำในฐานะทหาร - จักรพรรดิที่ประสบความสำเร็จซึ่งเป็นประธานในการขยายตัวทางทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์โรมันรองจาก Augustus ซึ่งเป็นผู้นำจักรวรรดิ
อาคารโรงพยาบาลvaletudinarium มาตรฐานเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งประกอบด้วยปีกทั้งสี่ด้านซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยโถงทางเข้าที่สามารถใช้เป็นศูนย์ทดลองได้ โรงพยาบาลของ Legion(เป็นคำใช้เรียกกองทัพทหารของโรม) แต่ละแห่งสร้างขึ้นเพื่อรองรับ 6% ถึง 10% ของทหาร 5,000 คนอาคารนี้ยังรวมถึงห้องโถงขนาดใหญ่แผนกต้อนรับห้องจ่ายยาห้องครัวห้องพักพนักงานและห้องซักล้างและห้องส้วม
แผนผังของ  โรงพยาบาลทหารในDüsseldorfประเทศเยอรมนี ปลายศตวรรษที่ 1
การักษาที่มีประสิทธิภาพ
แพทย์นั้นจะทำการคุยกับผู้ป่วยเพื่อทำความรู้จักจากนั้นก็สอบถามอาการของผู้ป่วย ว่า ไปทำอะไรมา กินอะไรมาบ้าง ตอนนี้รู้สึกยังไงบ้าง เป็นมานานแค่ไหนแล้ว จากนั้นก็ทำการตรวจร่างกายของผู้ป่วยและให้ผู้ป่วยถ่ายของเสียเพื่อดูผลจากนั้นก็จะนำทุกอย่างมาสรุปเพื่อให้ทราบถึงโรคที่เป็นและจัดยาให้ถูกตามลักษณะโรคและเขียนใบสั่งยาให้และวิธีการทาน อาหารที่ห้ามกิน การปฏิบัติตัวและ นัดมาดูผลลัพธ์ วิธีนี้ทำให้การแพทย์ของโรมนั้นมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมากโดยสามารถแก้ปัญหาได้ถูกจุดและพวกเค้ายังจดบักทึกเป็นการรักษาผู้ป่วยทุกครั้งเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการคิดค้นยาและวิธีการักษาที่ดียิ่งขึ้นไปอีก ต่างจากสมัยก่อนที่จะใช้วิธีการชิมของเสียของผู้ป่วยและให้ยาไปกินหากไม่ดีขึ้นก็จะเปลี่ยนยาไปเรื่อยๆจนกว่าผู้ป่วยจะหายดี
การผ่าตัดถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย
แพทย์นั้นให้การผ่าตัดเป็นการรักษาขั้นสุดท้ายเนื่องด้วยมีความอันตรายเป็นอย่างมากโดยการผ่าตัดครั้งแรกนั้นทำได้เพียงแค่ผ่าตัดผิวหนังชั้นนอกแต่เมื่อเริ่มมีการศึกษาเรื่องของกายวิภาคเข้าและเริ่มมีกระประดิษฐเครื่องมือผ่าตัดที่มีบางอันถูกนำมาใช้จนถึงปัจจุบันและความรู้ที่มากขึ้นทำให้การผ่าตัดมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
ภาพกล่องเครื่องมือผ่าตัดของแพทย์ในช่วงนั้นที่สภาพยังคงดีอยู่
ภาพเครื่องมือผ่าตัดของโรมันที่เมืองปอมเปอี
โดยสามารถผ่าตัดได้ไปจนถึงอวัยวะภายในร่างกายมนุษย์อย่างการเย็บลำไส้ การตัดซ่อมแซมและการผ่าตัดทำคลอด แต่ถึงแบบนั้นนี่ก็เป็นทางออกสุดท้าย เพราะว่าในช่วงนั้นการดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดยังไม่มีประสอทธิภาพมากนัก จึงมีบางคนที่อาจเสียชีวิตในระหว่างผ่าตัดหรือในเวลาต่อมาหลายคนและมันยังทำให้แพทย์นั้นเสียชื่อเสียงของตนเป็นอย่างมาก
อาจจะส่งสัยว่าแล้วผู้เข้ารับผ่าตัดจะไม่เจ็บปวดมากหรอต้องบอกเลยว่าในยุคนั้นยังไม่มีการคิดค้นยาชาขึ้น แพทย์จึงได้ใช้สมุนไพรบางชนิดที่มีฤทธิ์ทำให้ลดความเจ็บปวดต่อร่างกายให้รู้สึกชาและง่วงซึม อย่างฝิ่นที่มักนิยมใช้เสมือนเป็นยาชาในตอนนั้น แต่ถึงยังงั้นก็ยังมีความเจ็บหลงเหลืออยู่ดี จึงไม่แปลกที่จะมีคนเสียชีวิตในระหว่างที่ทำการผ่าตัด
การทำคลอด
การแพทย์ของชาวโรมนั้นมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากเค้าสามารถคิดค้นวิธีการที่จะให้ทั้งตัวเด็กและผู้เป็นแม่นั่นมีโอกาสรอดชีวิตทั้งคู่แหล่งข้อมูลคือสุสานตัวอย่างเช่นหลุมฝังศพในสุสานในกรุงโรมของหมอตำแยที่ประสบความสำเร็จ Scribonia Attice มีแผ่นดินเผาตกแต่งซึ่งแสดงฉากทางการแพทย์เช่นการเกิดที่ผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับทารก สามารถหล่นผ่านเบาะระหว่างการคลอดบุตร เก้าอี้เอนไปด้านหลังเล็กน้อยมีที่จับและเบาะนั่งแบบเจาะรู
ภาพถ่ายแผ่นดินเผาที่ขุดพบโดยสื่อถึงวิธีการทำคลอดในช่วงนั้น ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ต่างจากวิธีดั้งเดิมที่แม่เด็กมีความเสี่ยงสูงมากที่เสียชีวิตหลังจากคลอดบุตร
การรักษาสุขลักษณะและความสะอาดของประชาชน
นอกจากเรื่องการรักษาแล้วพวกเค้ายังคำนึงถึงเรื่องความสะอาดเป็นอีกอย่างที่สำคัญอีกด้วย เพราะประชาชนชาวโรมนั้นอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่เป็นจำนวนหนาแน่นและยังมีสลัมอยู่ภายในอีกเป็นจำนวนมาก พวกเค้าจึงได้หาวิธีที่จะลดความเสี่ยงที่ชาวเมืองจะเจ็บป่วยจากความไม่สะอาดให้ได้มากที่สุด โดยได้มีการสร้างโรงอาบน้ำขึ้นหลายแห่งให้กับชาวเมืองได้เข้าใช้และยังมีห้องน้ำให้กับชาวเมืองได้ปลดทุกข์อีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทุกคนมีร่างกายที่สะอาดและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคที่มาจากความสกปรก
ภาพถ่าย โรงอาบน้ำสาธารนะที่ชาวโรมจะมาใช้และอาบน้ำร่วมกัน ซึ่งยังคงสามรถพบเจอได้ในอีกหลายเมืองๆในแถบยุโรปที่โรมได้เคยยึดครองในอดีต
การแพทย์และการทหาร
โรมนั้นมีอาณาเขตปกครองที่กว้างเป็นอย่างมากเพื่อปกป้องเขตแดนทหารจึงมีความจำเป็นต้องถูกส่งออกไปเพื่อสู้รบกับอาณาจักรอื่นๆอยู่เสมอ ทางกองทัพโรมจึงได้มีแพทย์ประจำกองคอยไปด้วย และพวกเค้ายังสามารถตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวที่ตรงนั้นได้เลยทันที โดยคนเจ็บจะได้ไม่ต้องถูกส่งกลับมารักษาไกล เพราะการเดินทางกลับมานั้นกินเวลานานเป็นอย่างมากและอาจอำให้คนเจ็บเสียชีวิตระหว่างการเดินทางกลับ การมีโรงบาลอยู่ใกล้ๆจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งคนเจ็บจะได้รับการรักษาทันท่วงที
นอกจากงานรักษาแล้วแพทย์ยังต้องออกไปแสวงหาสมุนไพรชนิดใหม่ตามที่ต่างๆเพื่อนำเอากลับมาทำเป็นยารักษาให้กับทหารและถือเป็นการค้นพบสมุนไพรชนิดใหม่ๆ
โรงพยาบาลชั่วคราวนั้นมีสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ต่างจากโรงพยาบาลในเมือง ทหารจะได้รับการรักษาอย่างดีและสามารถกลับไปรบได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลาเดินทางกลับมาโดยใช้ระยะเวลานาน
มีการตรวจสุขภาพทหารให้พร้อมเสมอ
นอกจากจะได้รับการรักษาอย่างทันทีแล้ว โรมยังให้ความสำคัญกับสุขภาพของทหารทุกคนอีกด้วยเพราะการที่สุขภาพทหารทุกคนนั้นแข็งแรงก็จะยิ่งทำให้กองทัพมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยแพทย์ประกองทัพจะทำการตรวจร่างกายทหารทุกคนๆอยู่สม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายมีความพร้อมสำหรับออกรบ
ทหารทุกคนจะได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดมีการถามไถ่ และจดบันทึกเป็นรายงานทั้งเรื่อง อาหารที่กิน การนอน ตรวจเช็ดร่างกายข้อต่อและกล้ามเนื้อ เพื่อให้มีร่างกายที่พร้อมอยู่เสมอ
และนี่ก็เป็นเรื่องราวการแพทย์ของชาวโรมที่พวกเค้าได้ทำการค้นคว้าและคิดหาวิธีรักษาผู้คนให้ดีขึ้นโดยก็ได้มีการรักษาที่เป็นประโยชน์อย่างมากและถูกส่งต่อมายังคนรุ่นหลังทุกยุคทุกสมัยความรู้ของพวกเค้าได้ถูกนำมาใช้และต่อยอดพัฒนาจนมีการแพทย์ที่ดีให้กับเราในปัจจุบัน
โฆษณา