30 มี.ค. 2021 เวลา 10:49 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
เมื่อดูสารคดีเรื่องนี้จบทำให้เราไม่อยากกินปลาไปอีกเลยเพราะอะไร?
Poster from Seaspiracy
ใครที่ชื่นชอบดูสารคดีหรือเปิด Netflix ขึ้นมาและยังไม่รู้ว่าจะดูเรื่องอะไรขอแนะนำสารคดีคุณภาพเรื่อง Seaspiracy เป็นสารคดีที่สะท้อนปัญหาในเรื่องขยะพลาสติก (Plastic Marine Debris) ที่ล้นโลกส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและสัตว์ทะเลรวมถึงการทำการประมงพาณิชย์(Commercial Fisheries) ที่มีการจับปลาที่มากเกินกำลังผลิตของสัตว์น้ำ (Overfishing) รวมถึงแรงงานทาสทางทะเล(Sea Slaves) ที่เป็นข่าวดังไปทั่วโลก
สารคดีเรื่องนี้มีการถกถึงปัญหาและสัมภาษณ์ผู้คนที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฉลากที่เป็นตรารับรองสากล
อย่างเช่น Dolphin Safe ฉลากที่ได้การรับรองทางสากลว่าการจับทูน่าแบบไม่ฆ่าโลมาตรารับรองนี้เป็นตรารับรองที่ได้รับความยินยอมและใช้ไปทั่วโลกในโรงงานกระป๋องทูน่า
วิธีการจับปลาทูน่านั้นจะเรียกว่าการล้อมโลมาชาวประมงจะสังเกตฝูงโลมาเป็นหลักที่ขึ้นมาหายใจและว่ายน้ำเหนือปลาทูน่าชาวประมงจะนำตาข่ายอวนมาล้อมจับปลาทูน่าทำให้โลมาที่ว่ายน้ำอยู่ติดเข้ามาทำให้โลมาเป็นจำนวนมากได้ตายและไม่ใช่แค่โลมาเท่านั้นยังรวมไปถึง เต่าทะเล ปลาฉลาม และปลาชนิดอื่นๆที่ตายโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้มีการจัดตั้งฉลากนี้ขึ้นมา
นอกจากการตีแผ่เรื่องฉลากยังพูดถึงเรื่องการจับสัตว์น้ำพลอยได้ (Bycatch) การออกมาล่าโลมาที่ญี่ปุ่นในช่วงเทศกาลการล่าโลมา การเพราะเลี้ยงปลาแซลมอนในน้ำ(Salmon Farm) ประโยชน์ของป่าชายเลน ( Mangrove Forest) ที่เหลือน้อยลงไปทุกทีและประเพณีเทศกาลล่าวาฬดั้งเดิมของ The Grind ที่หมู่เกาะแฟโร (Faroe Island) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก ในทุกๆปีจะมีเทศกาลล่าวาฬขึ้นโดยจะต้อนวาฬเข้ามาใกล้ชายฝั่งและจะทำการเชือดทิ้งเพียงแค่ไม่กี่นาทีวาฬจำนวนหลายร้อยตัวก็กลายเป็นศพเกลื่อนทะเลจนกลายเป็นทะเลสีเลือดเป็นเทศกาลที่น่าสลดเป็นอย่างมาก
อยากแนะนำให้ลองดูเป็นการเปิดมุมมองอีกด้านของระบบนิเวศทางทะเลและความคิดเห็นของชาวประมง
โฆษณา