Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
English is all around
•
ติดตาม
1 เม.ย. 2021 เวลา 01:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
จีนกำลังทดลองวัคซีนCovid-19 ชนิดสูดดม
ประเทศอื่นๆก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน😊
ภาพจาก Pexels.com
สวัสดีค่ะเพื่อนๆ⚘ ช่วง "รู้ทันข่าว รู้ทันศัพท์" ในวันนี้มีข่าวเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 แบบใหม่ที่ประเทศจีนและหลายๆประเทศกำลังทดลองกันอยู่ ส่วนช่วงท้ายมีคำศัพท์ Eng ที่น่ารู้มาฝากเช่นเคยค่ะ
สำนักบริหารเวชภัณฑ์แห่งชาติจีน ได้มีการอนุมัติให้สถาบันเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติปักกิ่งร่วมกับบริษัท แคนซิโน ไบโอโลจิกส์ ดำเนินการ💥ทดลองวัคซีค Covid-19 ชนิดสูดดม💥 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามการทดลองนี้ยังพึ่งเริ่มต้น ดังนั้นน่าจะต้องใช้เวลาอีกระยะในการตรวจสอบประสิทธิภาพว่ามีแนวโน้มที่จะใช้ได้จริงหรือไม่
🎯 ทำไมต้องเป็นวัคซีนแบบสูดดม ?
🔸️ วัคซีนประเภทนี้เหมาะกับคนที่มีร่างกายอ่อนแอ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ หรือคนที่สภาพร่างกายไม่เหมาะกับการรับวัคซีนแบบฉีด
🎯 อ้าว แล้ววัคซีนไม่ได้ใช้การฉีดอย่างเดียวหรอกเหรอ ?
1
เรื่องนี้แอดมินไปหาคำตอบมาให้แล้วจาก "สถาบันวัคซีนแห่งชาติ" ได้ข้อสรุปดังนี้ค่ะ
เราสามารถรับวัคซีนเข้าร่างกายได้ 5 ช่องทาง
1️⃣ การกิน : ใช้ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ และเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น เช่น วัคซีนโปลิโอ วัคซีนไทฟอยด์ บ่อยครั้งเรามักได้ยินว่า "การหยอดวัคซีน" นั่นหมายถึงวัคซีนประเภทนี้ค่ะ
2️⃣ การพ่นเข้าทางจมูก : เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ระบบทางเดินหายใจ
3️⃣ การฉีดเข้าในหนัง : ข้อดีคือใช้วัคซีนในปริมาณน้อย และจะช่วยกระตุ้นเซลล์ในผิวหนัง ทำให้ถูกดูดซึมไปที่ท่อน้ำเหลือง จึงทำให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ส่วนข้อจำกัดคือ ต้องใช้ความชำนาญในการฉีด มักฉีดที่ไหล่ หรือก้น แต่ที่ก้นไม่นิยมมากนักเพราะง่ายต่อการติดเชื้อจากอุจจาระ/ปัสสาวะ ตัวอย่างวัคซีนที่ฉีดด้วยวิธีนี้ เช่น วัคซีน BCG(ป้องกันวัณโรค), วัคซีนพิษสุนัขบ้า
4️⃣ การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง : มักใช้กับวัคซีนที่ไม่ต้องการให้ร่างกายดูดซึมเข้าไปเร็วเกินไป เน้นแบบค่อยๆแพร่กระจายเข้าในร่างกาย เช่น วัคซีนรวมหัด คางทูม และหัดเยอรมัน วัคซีนไข้สมองอักเสบJE
5️⃣ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ : ใช้เมื่อต้องการให้วัคซีนถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้รวดเร็ว และมักฉีดที่ต้นแขน หรือที่ต้นขาด้านหน้า เพราะเป็นบริเวณที่มีกล้ามเนื้อเยอะ ไขมันน้อย จึงช่วยให้การดูดซึมวัคซีนเร็วขึ้น เช่น วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน วัคซีนตับอักเสบบี รวมถึงวัคซีนCovid-19 ที่มีการใช้กันตอนนี้ค่ะ
ภาพจาก Pexels.com
🎯 ประเทศอื่นๆก็กำลังทดลองและพัฒนาวัคซีน Covid-19 แบบที่ไม่ต้องฉีดด้วยเข็มฉีดยา
แอดมินได้ข้อมูลนี้มาจากกระทรวงสาธาณสุข โดย รศ.ดร.เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์ หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนนี้ในรูปแบบอื่นๆที่หลายประเทศกำลังอยู่ในขั้นทดลองกัน ดังนี้ค่ะ
1
1️⃣ วัคซีนโควิด-19 ประเภทไร้เข็ม : เทคนิคนี้ใช้กันมานานแล้วค่ะ โดยเป็นการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Jet injector ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเส้นผม แล้วทำให้เกิดแรงดันยาที่รวดเร็วผ่านลงไปที่ชั้นใต้ผิวหนังชั้นลึก ทำให้ตัววัคซีนกระจายตัวได้ดี สามารถใช้ได้ทั้งแบบน้ำและแบบผง นอกจากนี้ยังใช้ปริมาณยาที่น้อยกว่าการฉีดแบบใช้เข็มค่ะ
🔸️ประเทศที่กำลังพัฒนาวัคซีนประเภทนี้ เช่น อังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา(เป็นของ Pfizer ที่มาพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัย Waterloo)
2️⃣ วัคซีนโควิด-19 ประเภทสูดทางจมูก : โดยการสูดวัคซีนจากจมูกนั้นจะผ่านเข้าสู่ปอด ซึ่งจะเป็นการไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่อยู่ชั้นเมือกของระบบทางเดินหายใจ โดยสามารถทำได้ทั้งในรูปแบบการฉีดสเปรย์/การหยอดเข้าจมูก/การฉีดเข้าจมูกแบบไร้เข็ม
🔸️ประเทศที่กำลังพัฒนาวัคซีนประเภทนี้ เช่น อังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส
3️⃣ วัคซีนโควิด-19 ประเภทกิน : จะไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ชั้นเมือกในระบบทางเดินอาหาร
🔸️ ประเทศที่กำลังพัฒนาวัคซีนประเภทนี้ เช่น
อเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษ
4️⃣ วัคซีนโควิด-19 ประเภทสูดทางปาก : หลักการคล้ายกับการสูดดมทางจมูก โดยการฉีดสเปรย์เข้าทางปากแทน เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ระบบทางเดินหายใจเช่นกันค่ะ
🔸️ ประเทศที่กำลังพัฒนาวัคซีนประเภทนี้ คืออังกฤษ
5️⃣ แบบสุดท้าย เป็นแบบแผ่นติดที่ผิวหนัง : จะคล้ายมีเข็มเล็กๆอยู่บนแผ่นที่ใช้ติด และใช้เวลาสั้น แต่จะต้องติดที่บริเวณมีเซลล์ภูมิคุ้มกันอยู่หนาแน่นด้วย
🔸️ ประเทศที่กำลังพัฒนาวัคซีนประเภทนี้ คือ อเมริกา ออสเตรเลีย
แอดมินก็ขอเอาใจช่วยให้มีการพัฒนาวัคซีนแบบที่ไม่ต้องใช้เข็มประสบผลสำเร็จด้วยค่ะ เพราะประโยชน์ที่ได้นอกจากจะไม่เจ็บตัวแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดเก็บ อาจไม่ต้องเก็บด้วยความเย็นทำให้ไม่มีปัญหาการขนส่ง ไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่มาฉีดยาให้ ถือเป็นการลดการทำงานของบุคลากรทางแพทย์ และยังเป็นการทำให้พวกเราได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึงมากขึ้นด้วย😊
ภาพจาก Pexels.com
มาถึงช่วงศัพท์ Eng น่ารู้กันบ้างนะคะ😀
จะเกี่ยวกับเวลาที่เราไม่สบาย จะบอกอาการนั้นๆยังไงดี.......
💉 Flu / Influenza (n) : ไข้หวัดใหญ่
💉 Fever (n) : เป็นไข้
💉 Cold (n) : เป็นหวัด
💉 Diarrhea (n) : ท้องเสีย
💉 Ulcer (n) : ฝี, แผลที่มีหนอง
💉 Mouth ulcer (n) : เป็นแผลที่ปาก
💉 Dizzy (adj) : เวียนหัว
💉 Nausea (n) : คลื่นไส้
2
💉Vomit/Puke/Barf (v) : อาเจียน (อ้วก)
2
💉 Throw up (slang) : อาเจียน (อ้วก)
💉 Runny nose (n) : น้ำมูกไหล
💉 Stuffy nose/Clogged nose (n) : คัดจมูก
💉 Headache (n) : ปวดหัว
💉 Stomachache (n) : ปวดท้อง
💉 Toothache (n) : ปวดฟัน
💉 I am under the weather / I feel under the weather / I am feeling under the weather (idiom) : ฉันรู้สึกไม่ค่อยสบาย
ก็เป็นทั้งหมดของช่วง "รู้ทันข่าว รู้ทันศัพท์" ในวันนี้ หวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับเพื่อนๆนะคะ
That's all guys. see you next time!
English is all around 👩🏫🍀
References :
https://www.xinhuathai.com/high/188538_20210326
https://mgronline.com/china/detail/9640000028155
http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=1260
http://guruvaccine.com/5-3-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2/
8 บันทึก
32
43
27
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Vocabulary น่ารู้
8
32
43
27
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย